ผลวิจัยชี้คนมีอาชีพที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำงาน สมรรถภาพทางกาย-ผลตรวจเลือด ทั้งคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ช่วยสุขภาพดีลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ชัดเจน ตร.จราจรสมรรถภาพดีกว่า ตร.นั่งโต๊ะ กระเป๋ารถเมล์ดีกว่าคนขับรถเมล์
ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานประชุมวิชาการ “การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 : การเดินและจักรยาน ปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ในบริบทไทย” จัดโดย สสส.ว่า จากการศึกษาเรื่อง “เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายและผลการตรวจทางเคมีเลือกของกลุ่มอาชีพที่มีกิจกรรมทางกายต่างกัน” ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน ช่วงอายุ 17-59 ปี จำนวน 5 จังหวัดๆ ละ 100 คน ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา และภูเก็ต แบ่งการเปรียบเทียบใน 4 อาชีพ คือ 1.มอเตอร์ไซค์รับจ้างกับสามล้อถีบ ทั้งถีบรับส่งผู้โดยสาร ถีบขนส่งและถีบส่งสินค้าขายสินค้า 2.คนขับรถเมล์กับกระเป๋ารถเมล์ 3.ตำรวจนั่งโต๊ะกับตำรวจจราจร และ 4.คนอยู่ชั้นล่างกับคนเดินขึ้นชั้น 5
ดร.เกษม กล่าวว่า การทดสอบสมรรถภาพทางกายดำเนินการโดยเครื่องมือ Health Related Fitness Test คือ วัดรอบเอว นั่งงอตัวไปข้างหน้า นอนยกตัว 1 นาที ก้าวขึ้น-ลง 3 นาที ซึ่งออกแบบโดย สสส.และเจาะเลือดกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มอาชีพที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ มีแนวโน้มว่าจะมีสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด และผลการตรวจทางเคมีเลือด โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย
“ผลการศึกษานี้บ่งชี้ได้ว่า ผู้มีอาชีพที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ย่อมมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่าผู้ที่มีอาชีพไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีอาชีพนั่งอยู่กับที่ เช่นเดียวกันจากผลการตรวจทางเคมีเลือด กลุ่มเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำงานจะมีค่าเฉลี่ยไขมันในเลือดโดยเฉพาะในรูปคอเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจ หรือการแข็งตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุโรคความดันโลหิตสูง” ดร.เกษม กล่าว
ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานประชุมวิชาการ “การส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 : การเดินและจักรยาน ปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ในบริบทไทย” จัดโดย สสส.ว่า จากการศึกษาเรื่อง “เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายและผลการตรวจทางเคมีเลือกของกลุ่มอาชีพที่มีกิจกรรมทางกายต่างกัน” ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน ช่วงอายุ 17-59 ปี จำนวน 5 จังหวัดๆ ละ 100 คน ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา และภูเก็ต แบ่งการเปรียบเทียบใน 4 อาชีพ คือ 1.มอเตอร์ไซค์รับจ้างกับสามล้อถีบ ทั้งถีบรับส่งผู้โดยสาร ถีบขนส่งและถีบส่งสินค้าขายสินค้า 2.คนขับรถเมล์กับกระเป๋ารถเมล์ 3.ตำรวจนั่งโต๊ะกับตำรวจจราจร และ 4.คนอยู่ชั้นล่างกับคนเดินขึ้นชั้น 5
ดร.เกษม กล่าวว่า การทดสอบสมรรถภาพทางกายดำเนินการโดยเครื่องมือ Health Related Fitness Test คือ วัดรอบเอว นั่งงอตัวไปข้างหน้า นอนยกตัว 1 นาที ก้าวขึ้น-ลง 3 นาที ซึ่งออกแบบโดย สสส.และเจาะเลือดกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มอาชีพที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ มีแนวโน้มว่าจะมีสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด และผลการตรวจทางเคมีเลือด โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย
“ผลการศึกษานี้บ่งชี้ได้ว่า ผู้มีอาชีพที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ย่อมมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่าผู้ที่มีอาชีพไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีอาชีพนั่งอยู่กับที่ เช่นเดียวกันจากผลการตรวจทางเคมีเลือด กลุ่มเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำงานจะมีค่าเฉลี่ยไขมันในเลือดโดยเฉพาะในรูปคอเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจ หรือการแข็งตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุโรคความดันโลหิตสูง” ดร.เกษม กล่าว