สพฐ.ประกาศรางวัลหนังดีเด่น ประจำปี 57 เผยมีหนังสือได้รางวัลดีเด่น 11 เรื่อง ชมเชย 39 เรื่อง โดยหนังสือ “ช้าง ช้าง ช้าง” ของ “ตุลย์ สุวรรณกิจ” คว้าทั้งรางวัลดีเด่นสำหรับเด็กเล็ก 3-5 ปี และชมเชย ประเภทหนังสือสวยงาม ประธานตัดสินชี้ ปีนี้มีหนังสือมีคุณภาพผ่านการคัดเลือกครบถ้วน ทั้งองค์ประกอบของภาพ การจัดวาง ขณะที่ นักเขียนหน้าใหม่มีพัฒนาสูงขึ้น เตรียมนำผู้ชนะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 12 ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันนี้ (26 ก.พ.) ที่หอสมุดแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2557 โดย นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ.ได้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือดีเด่นมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งได้ให้ความสำคัญของหนังสือและการอ่านว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความคิด สติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนทุกวัย โดยจากการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/หรือนอกเวลาทำงาน อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปจากน้อยไปหามากคืออ่าน 31 นาทีถึง 46 นาทีต่อวัน หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยอ่านวันละประมาณ 39 นาที ซึ่งประเด็นนี้อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายว่าคนไทยอ่านหนังสือมากขึ้นเท่าไหร่ แต่เป้าหมายหลัก คือ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ขับเคลื่อนให้มีการผลิตหนังสือดี มีคุณภาพ และมีสาระประโยชน์เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากนี้ สพฐ.ก็จะสนับสนุนให้หนังสือดีเด่นเหล่านี้ไปสู่โรงเรียน ทั้งขอความร่วมมือในการจัดซื้อไว้ในห้องสมุด เป็นต้น
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น กล่าวว่า คณะกรรมการมีความตั้งใจ ทุ่มเททำงาน เพื่อวิเคราะห์หนังสือที่ส่งเข้าประกวดในประเด็นต่างๆ ด้วยความรอบคอบ และยุติธรรม ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ และเกณฑ์การประกวดหนังสือ ซึ่งในปีนี้มีจำนวนหนังสือที่ผู้ผลิตหนังสือส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 473 เรื่อง และการคัดสรรหนังสือทุกประเภทที่ส่งเข้าประกวดนั้นได้ใช้วิธีระดมความคิดเห็น อภิปราย และสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่มประชุมตามประเภทของหนังสือ จนได้ข้อสรุปเป็นฉันทามติเลือกหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2557 ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด จำนวน 50 เรื่อง ใน 9 ประเภท แบ่งเป็น รางวัลดีเด่น 11 เรื่อง รางวัลชมเชย 39 เรื่อง รายละเอียด ดังนี้ 1.ประเภทหนังสือสารคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ รูปแบบบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ แต่งโดย ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ นกน่ารักน่ารู้ ประพันธ์โดย กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์คติ สำนักพิมพ์คติ, เมื่อวัยเด็ก When I was young โดย อเนก นาวิกมูล พิมพ์คำสำนักพิมพ์ และ หน้าหนึ่งในสยาม ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ โดย ไกรฤกษ์ นานา สำนักพิมพ์มติชน
2.หนังสือนวนิยาย รางวัลดีเด่น ได้แก่ จับต้นชนปลาย โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สำนักพิมพ์คมบาง รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ผีเสื้อที่บินข้ามบึง โดย อุรุดา โควินท์ จาก ณ ดา สำนักพิมพ์, ไม้นอกกอ แต่งโดย ช่อมณี สำนักพิมพ์อรุณ และ อันเกิดแต่ดวงจิต...อธิษฐาน โดย อิสรา สำนักพิมพ์เพื่อนดี
3.หนังสือกวีนิพนธ์ รางวัลดีเด่น ได้แก่ รวมบทกวี โคลงบ้านโคลงเมือง โดยทิวา บริษัท ออน อาร์ท ครีเอชั่น จำกัด รางวัลชมเชย ได้แก่ ผู้กลับใจ โดย เวทิน ศันสนีย์เวทย์, ฝากหัวใจในแผ่นดิน โดย นภาลัย (กฤษ์ชนะ) สุวรรณธาดา และรวมบทกวี โดย ชมพร เพชรอนันต์กุล สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต
4.หนังสือรวมเรื่องสั้น รางวัลดีเด่น ได้แก่ ความทรงจำบางอย่างช่างรางเลือน โดย รัชศักดิ์ จิรวัฒน์ สำนักพิมพ์มติชน รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ชายผู้อ้างตัวเป็นเซ็ง ท่าน้ำ โดย รัตนชัย มานะบุตร สำนักพิมพ์ผจญภัย, เสือกินคน โดย สาคร พูลสุข สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ และหญิงเสาและเรื่องราวอื่น โดย กล้า สมุทวณิช สำนักพิมพ์มติชน
5.หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี รางวัลดีเด่น ได้แก่ ช้าง ช้าง ช้าง โดย ตุลย์ สุวรรณกิจ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ข้าวเม่าเขาแหลม โดย นวพร แซ่แต้ สำนักพิมพ์ประภาคารพับลิชชิ่ง,ไข่ของใคร โดย สองขา สำนักพิมพ์สุวีริยาสาสน์ และหัวใจดวงอุ่น โดย เกวลิน ชุ่มช่างทอง สำนักพิมพ์โลกหนังสือ
6.หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทหนังสือบันเทิงคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ ตุ๊กตาแห่งความทรงจำ โดย ณิชา พีชวณิชย์ สำนักพิมพ์ห้องเรียน รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ของขวัญแด่พระราชา โดย นำบุญ นามเป็นบุญ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์, ท้องนา...ฟ้าสีสวย โดย ส.พุ่มสุวรรณ องค์กาค้าของ สกสค.และ พ่อครูครับ ผมจะเป็นเด็กดี โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์มติชน และประเภทหนังสือสารคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่น ได้รับรางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ขุมทรัพย์บนผนัง โดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย จากคณะบุคคลบ้านเรียนน้ำริน, เต่าต้วมเตี้ยม โดย ภัทรา แสงดานุช สำนักพิมพ์โลกหนังสือ และเห็ดฟาง โดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น
7.หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทหนังสือบันเทิงคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ อาม่าบนคอนโด โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สำนักพิมพ์คมบาง รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ม้อนน้อยที่รัก โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์มติชน และ เมื่อกางปีกแล้วก็ต้องบิน โดย ปะการัง แพรวสำนักพิมพ์ ประเภทหนังสือสารคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ ราชาสถาน โดย วันฉัตร ชินสุวาเทย์ สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ รักและรักษ์บางกอกน้อย โดย ประพีร์พรรณ ภาณวะวัฒน์ สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช, เรื่องสะเทือนไต โดย ปิยา วัชระสวัสดิ์ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) และ เลห์ ลาดักห์ Little Tibet โดย เส้นนำสายตา สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ และประเภทหนังสือบทร้อยกรอง รางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง แผ่นดินหนองจอก โดย สิทธิเดช กนกแก้ว สำนักพิมพ์ร้อยแก้ววรรณกรรม ส่วนรางวัลดีเด่น ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
8.หนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพ แบ่งเป็น ประเภทหนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพทั่วไป รางวัลดีเด่น ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ รามเกียรติ์ ปฐมบท โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ห้องเรียน, อินดง อินเดีย INDIA DIARY โดย สเลดทอย สำนักพิมพ์แซลมอน และ YELLOW SUN BEGINS โดย ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ สำนักพิมพ์ฟูลสต๊อป ประเภทหนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก รางวัลดีเด่น ได้แก่ เณรแก้วกับน้อยไชยา ผจญภัยโลกแฟนตาซี ตอน ตำนานไซอิ๋ว โดย สวนโมกข์กรุงเทพ นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ เณรแก้วกับน้อยไชยา ผจญภัยโลกแฟนตาซี ตอน อสูรโลกล้านปี ผู้ประพันธ์ สวนโมกข์กรุงเทพ นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์,ไทย THAILAND โดย วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ บันลือพับลิเคชั่นส์ และพระราหุล โดย โอม รัชเวทย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์คอมมิกส์
9.หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป รางวัลดีเด่น ได้แก่ พัดรองงานพระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย เบญจมาส แพทอง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ รางวัลชมเชยมี 3 รางวัล ได้แก่ แกงไทย โดย ญดา ศรีเงินยวง และชนิรัตน์ สำเร็จ สำนักพิมพ์แสงแดด, เทวสถานมรดกวัฒนธรรมบนแผ่นดินไทย โดย กุลวดี สถิติรัต และคณะ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และประยุรวงศานุสร โครงการบูรณปฏิสังขรณ์ “เขามา” วัดประยุรวงศวาส โดย กุลวดี สถิติรัต และคณะ บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด และประเภทสำหรับเด็ก รางวัลดีเด่น ได้แก่ รามเกียรติ์ ปฐมบท โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ห้องเรียน รางวัลชมเชยมี 3 รางวัล ได้แก่ คนต่อเทียน โดย นำบุญ นามเป็นบุญ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์, ช้าง ช้าง ช้าง โดย ตุลย์ สุวรรณกิจ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก และเล่นด้วยกันสนุกจัง โดย ทิพย์วรรณ แสวงศรี สำนักพิมพ์โลกหนังสือ
นายพนม กล่าวด้วยว่า ภาพรวมของหนังสือที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้นั้นมีหนังสือได้รับรางวัลเกือบครบถ้วน แม้บางประเภทจะไม่ได้รับรางวัลดีเด่น แต่ก็ได้รับรางวัลชมเชย ขณะที่หลายประเภทได้ครบถ้วนทุกรางวัล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพหนังสือที่ส่งเข้าประกวด ซึ่งมีข้อสังเกตว่าปีนี้หนังสือมีการจัดรูปเล่ม การใช้กระดาษถนอมสายตา มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบของหนังสือมีความครบถ้วน สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักเขียนหน้าใหม่เข้ามามากและมีการพัฒนาสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2557 จะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 12 ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันนี้ (26 ก.พ.) ที่หอสมุดแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2557 โดย นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ.ได้ดำเนินการจัดประกวดหนังสือดีเด่นมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งได้ให้ความสำคัญของหนังสือและการอ่านว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความคิด สติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนทุกวัย โดยจากการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/หรือนอกเวลาทำงาน อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปจากน้อยไปหามากคืออ่าน 31 นาทีถึง 46 นาทีต่อวัน หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยอ่านวันละประมาณ 39 นาที ซึ่งประเด็นนี้อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายว่าคนไทยอ่านหนังสือมากขึ้นเท่าไหร่ แต่เป้าหมายหลัก คือ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ขับเคลื่อนให้มีการผลิตหนังสือดี มีคุณภาพ และมีสาระประโยชน์เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากนี้ สพฐ.ก็จะสนับสนุนให้หนังสือดีเด่นเหล่านี้ไปสู่โรงเรียน ทั้งขอความร่วมมือในการจัดซื้อไว้ในห้องสมุด เป็นต้น
ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่น กล่าวว่า คณะกรรมการมีความตั้งใจ ทุ่มเททำงาน เพื่อวิเคราะห์หนังสือที่ส่งเข้าประกวดในประเด็นต่างๆ ด้วยความรอบคอบ และยุติธรรม ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ และเกณฑ์การประกวดหนังสือ ซึ่งในปีนี้มีจำนวนหนังสือที่ผู้ผลิตหนังสือส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 473 เรื่อง และการคัดสรรหนังสือทุกประเภทที่ส่งเข้าประกวดนั้นได้ใช้วิธีระดมความคิดเห็น อภิปราย และสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่มประชุมตามประเภทของหนังสือ จนได้ข้อสรุปเป็นฉันทามติเลือกหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2557 ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด จำนวน 50 เรื่อง ใน 9 ประเภท แบ่งเป็น รางวัลดีเด่น 11 เรื่อง รางวัลชมเชย 39 เรื่อง รายละเอียด ดังนี้ 1.ประเภทหนังสือสารคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ รูปแบบบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ แต่งโดย ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ นกน่ารักน่ารู้ ประพันธ์โดย กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์คติ สำนักพิมพ์คติ, เมื่อวัยเด็ก When I was young โดย อเนก นาวิกมูล พิมพ์คำสำนักพิมพ์ และ หน้าหนึ่งในสยาม ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ โดย ไกรฤกษ์ นานา สำนักพิมพ์มติชน
2.หนังสือนวนิยาย รางวัลดีเด่น ได้แก่ จับต้นชนปลาย โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สำนักพิมพ์คมบาง รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ผีเสื้อที่บินข้ามบึง โดย อุรุดา โควินท์ จาก ณ ดา สำนักพิมพ์, ไม้นอกกอ แต่งโดย ช่อมณี สำนักพิมพ์อรุณ และ อันเกิดแต่ดวงจิต...อธิษฐาน โดย อิสรา สำนักพิมพ์เพื่อนดี
3.หนังสือกวีนิพนธ์ รางวัลดีเด่น ได้แก่ รวมบทกวี โคลงบ้านโคลงเมือง โดยทิวา บริษัท ออน อาร์ท ครีเอชั่น จำกัด รางวัลชมเชย ได้แก่ ผู้กลับใจ โดย เวทิน ศันสนีย์เวทย์, ฝากหัวใจในแผ่นดิน โดย นภาลัย (กฤษ์ชนะ) สุวรรณธาดา และรวมบทกวี โดย ชมพร เพชรอนันต์กุล สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต
4.หนังสือรวมเรื่องสั้น รางวัลดีเด่น ได้แก่ ความทรงจำบางอย่างช่างรางเลือน โดย รัชศักดิ์ จิรวัฒน์ สำนักพิมพ์มติชน รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ชายผู้อ้างตัวเป็นเซ็ง ท่าน้ำ โดย รัตนชัย มานะบุตร สำนักพิมพ์ผจญภัย, เสือกินคน โดย สาคร พูลสุข สำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ และหญิงเสาและเรื่องราวอื่น โดย กล้า สมุทวณิช สำนักพิมพ์มติชน
5.หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี รางวัลดีเด่น ได้แก่ ช้าง ช้าง ช้าง โดย ตุลย์ สุวรรณกิจ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ข้าวเม่าเขาแหลม โดย นวพร แซ่แต้ สำนักพิมพ์ประภาคารพับลิชชิ่ง,ไข่ของใคร โดย สองขา สำนักพิมพ์สุวีริยาสาสน์ และหัวใจดวงอุ่น โดย เกวลิน ชุ่มช่างทอง สำนักพิมพ์โลกหนังสือ
6.หนังสือสำหรับเด็ก อายุ 6-11 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทหนังสือบันเทิงคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ ตุ๊กตาแห่งความทรงจำ โดย ณิชา พีชวณิชย์ สำนักพิมพ์ห้องเรียน รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ของขวัญแด่พระราชา โดย นำบุญ นามเป็นบุญ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์, ท้องนา...ฟ้าสีสวย โดย ส.พุ่มสุวรรณ องค์กาค้าของ สกสค.และ พ่อครูครับ ผมจะเป็นเด็กดี โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์มติชน และประเภทหนังสือสารคดี ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่น ได้รับรางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ขุมทรัพย์บนผนัง โดย อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย จากคณะบุคคลบ้านเรียนน้ำริน, เต่าต้วมเตี้ยม โดย ภัทรา แสงดานุช สำนักพิมพ์โลกหนังสือ และเห็ดฟาง โดย ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์ นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น
7.หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทหนังสือบันเทิงคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ อาม่าบนคอนโด โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สำนักพิมพ์คมบาง รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ม้อนน้อยที่รัก โดย โชติ ศรีสุวรรณ สำนักพิมพ์มติชน และ เมื่อกางปีกแล้วก็ต้องบิน โดย ปะการัง แพรวสำนักพิมพ์ ประเภทหนังสือสารคดี รางวัลดีเด่น ได้แก่ ราชาสถาน โดย วันฉัตร ชินสุวาเทย์ สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ รักและรักษ์บางกอกน้อย โดย ประพีร์พรรณ ภาณวะวัฒน์ สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช, เรื่องสะเทือนไต โดย ปิยา วัชระสวัสดิ์ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) และ เลห์ ลาดักห์ Little Tibet โดย เส้นนำสายตา สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ และประเภทหนังสือบทร้อยกรอง รางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง แผ่นดินหนองจอก โดย สิทธิเดช กนกแก้ว สำนักพิมพ์ร้อยแก้ววรรณกรรม ส่วนรางวัลดีเด่น ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล
8.หนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพ แบ่งเป็น ประเภทหนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพทั่วไป รางวัลดีเด่น ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ รามเกียรติ์ ปฐมบท โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ห้องเรียน, อินดง อินเดีย INDIA DIARY โดย สเลดทอย สำนักพิมพ์แซลมอน และ YELLOW SUN BEGINS โดย ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ สำนักพิมพ์ฟูลสต๊อป ประเภทหนังสือการ์ตูน และหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก รางวัลดีเด่น ได้แก่ เณรแก้วกับน้อยไชยา ผจญภัยโลกแฟนตาซี ตอน ตำนานไซอิ๋ว โดย สวนโมกข์กรุงเทพ นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ เณรแก้วกับน้อยไชยา ผจญภัยโลกแฟนตาซี ตอน อสูรโลกล้านปี ผู้ประพันธ์ สวนโมกข์กรุงเทพ นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์,ไทย THAILAND โดย วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ บันลือพับลิเคชั่นส์ และพระราหุล โดย โอม รัชเวทย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์คอมมิกส์
9.หนังสือสวยงาม แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป รางวัลดีเด่น ได้แก่ พัดรองงานพระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย เบญจมาส แพทอง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ รางวัลชมเชยมี 3 รางวัล ได้แก่ แกงไทย โดย ญดา ศรีเงินยวง และชนิรัตน์ สำเร็จ สำนักพิมพ์แสงแดด, เทวสถานมรดกวัฒนธรรมบนแผ่นดินไทย โดย กุลวดี สถิติรัต และคณะ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และประยุรวงศานุสร โครงการบูรณปฏิสังขรณ์ “เขามา” วัดประยุรวงศวาส โดย กุลวดี สถิติรัต และคณะ บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด และประเภทสำหรับเด็ก รางวัลดีเด่น ได้แก่ รามเกียรติ์ ปฐมบท โดย รัตนา คชนาท สำนักพิมพ์ห้องเรียน รางวัลชมเชยมี 3 รางวัล ได้แก่ คนต่อเทียน โดย นำบุญ นามเป็นบุญ สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์, ช้าง ช้าง ช้าง โดย ตุลย์ สุวรรณกิจ สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก และเล่นด้วยกันสนุกจัง โดย ทิพย์วรรณ แสวงศรี สำนักพิมพ์โลกหนังสือ
นายพนม กล่าวด้วยว่า ภาพรวมของหนังสือที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้นั้นมีหนังสือได้รับรางวัลเกือบครบถ้วน แม้บางประเภทจะไม่ได้รับรางวัลดีเด่น แต่ก็ได้รับรางวัลชมเชย ขณะที่หลายประเภทได้ครบถ้วนทุกรางวัล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพหนังสือที่ส่งเข้าประกวด ซึ่งมีข้อสังเกตว่าปีนี้หนังสือมีการจัดรูปเล่ม การใช้กระดาษถนอมสายตา มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบของหนังสือมีความครบถ้วน สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีนักเขียนหน้าใหม่เข้ามามากและมีการพัฒนาสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2557 จะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 12 ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์