แพทยสภาเตรียมร่างหลักสูตรอบรม “ฉีดฟิลเลอร์” หมอจบใหม่-หมอไม่เชี่ยวชาญเสริมความงาม หวังเพิ่มมาตรฐานและคุ้มครองประชาชน ระบุต้องรู้ลึกทุกเรื่องถึงวิธีรักษาเบื้องต้น หากเกิดผลข้างเคียงระหว่างฉีด พร้อมร่างประกาศมาตรฐานแพทย์เสริมสวยต้องมีความรู้ด้านใดบ้าง เน้นเฉพาะการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง ระบุอย่าหลงเชื่อหมอต่างประเทศเข้ามาเสริมสวยในไทยว่าเจ๋ง แย้มส่วนใหญ่ลักลอบเข้ามา ผิดกฎหมายชัดเจน แถมเสี่ยงเจอหมอชุบตัว ชี้ทำหน้าเละแล้วจากตามตัวดำเนินคดียาก
วันนี้ (20 ก.พ.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา แถลงข่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย และการโฆษณา ว่า หลังจากออกประกาศห้ามใช้ฟิลเลอร์ชนิดไม่สลายตัว เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีเพียงสาร HA ตัวเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรการอาหารและยา (อย.) อย่างไรก็ตาม แม้สาร HA ในไทยจะมีรายงานผลข้างเคียงน้อย แต่มีนัยยะสำคัญบางรายอาจเกิดการตายของผิวหนังที่บริเวณใบหน้า และบางคนอาจตาบอดเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้น คณะอนุกรรมการจึงเตรียมที่จะร่างหลักสูตรมาตรฐานการอบรมฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นให้แก่แพทย์จบใหม่ หรือแพทย์ที่มีความสนใจแต่ยังไม่สันทัดในด้านนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว ให้ได้มีแหล่งเรียนรู้ถือเป็นการส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเสริมความงาม และคุ้มครองประชาชน นอกจากนี้ จะร่างประกาศแพทยสภาเรื่องหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทย์ที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อการเสริมความงามด้วย โดยทั้งสองร่างจะเสร็จสิ้นในวันที่ 10 มี.ค.และนำเสนอคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 มี.ค.
“หลักสูตรการอบรมจะเป็นการขอความร่วมมือจากแพทย์มากกว่าการไปบังคับ เพราะสุดท้ายเวลาประชาชนจะเลือกใช้บริการก็จะพิจารณาความน่าเชื่อถือของแพทย์ว่าเคยผ่านการอบรมหรือไม่ ส่วนประกาศหลักเกณฑ์และมาตรฐานฯ นั้นจะต้องเป็นเกณฑ์ที่สังคม แพทย์ และประชาชนรับได้ แต่ที่สำคัญคือเพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองที่ได้มาตรฐาน เพราะทุกวันนี้โฆษณาเสริมความงามทั้งที่จริงและไม่จริง มีทั้งที่เป็นแพทย์และไม่ใช่แพทย์ รวมถึงต้องการให้แพทย์มีมาตรฐาน ทั้งส่วนตัวของแพทย์เอง สถานที่ อุปกรณ์ ความรู้ทางวิชาการในระดับหนึ่ง โดยไม่เป็นการกีดกันแพทย์แต่ละสาขามากเกินไป เช่น แพทย์ผิวหนังไม่กีดกันแพทย์ศัลยกรรม แพทย์ศัลยกรรมไม่กีดกันแพทย์หูคอจมูก เป็นต้น” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า แพทยสภาอยากเห็นการแพทย์ไทยเป็นมหาอำนาจของอาเซียนทุกรูปแบบ ทั้งการเป็นอาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์ การอบรม และการเสริมความงาม แพทย์เราจะเป็นเสาหลักประเทศ และพัฒนาประเทศ ด้วยการเปิดอบรมมากขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เพราะทุกวันนี้มีการนำแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะการนำแพทย์จากต่างชาติเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรมรูปแบบใดก็ตามต้องขออนุมัติจากแพทยสภาก่อน เช่น มารักษาคนไข้อพยพที่ชายแดน หรือมาเรียนมาสอน เพื่อที่แพทยสภาจะได้พิจารณาเนื้อหาที่จะมาสอนว่าเหมาะสมหรือไม่ หัตถการต่างๆ มีความห่างจากความเป็นไปได้หรือไม่ และที่สำคัญเพื่อตรวจสอบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ มีคดีหรือไม่ มีมาตรฐานเพียงพอดูแลประชาชนไทยหรือไม่ เพราะหากเกิดความผิดพลาดในการรักษาขึ้นมา แพทยภาพจะได้สามารถติดตามแพทย์คนดังกล่าวได้ เป็นการคุ้มครองประชาชนอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาหากแพทยสภาทราบว่ามีการนำแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาสอน เข้ามาสาธิตการรักษาก็จะโทรศัพท์ไปเตือน แต่กว่า 90% จะเป็นการแอบนำเข้ามา ซึ่งบางครั้งแพทยสภาไม่ทราบ เมื่อทราบก็พบว่าเดินทางกลับไปแล้ว
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การนำแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาโดยไม่ขออนุมัติจากแพทยสภา ไม่เฉพาะแค่ผิดกฎหมายเท่านั้น ประชาชนยังมีโอกาสได้รับความเสี่ยงด้วย เพราะเคยมีคดีที่แพทย์ต่างประเทศเสริมความงามให้แล้วไม่สวย เกิดความผิดพลาดขึ้นมา ก็จะตามตัวมาดำเนินคดีลำบาก เพราะบินกลับประเทศไปแล้ว ที่สำคัญแพทย์ต่างประเทศที่นำเข้ามาในไทยเมื่อไปถามแพทย์ประเทศเดียวกันว่ารู้จักหรือไม่ หลายครั้งพบว่าไม่เคยได้ยินชื่อ หรือพบว่ามีแต่ชื่อเสีย การเข้ามาในไทยก็เหมือนการมาชุบตัว โดยมีคนไทยเราเป็นเครื่องทดลอง จึงอยากฝากเตือนให้ประชาชนสืบค้นข้อมูลดีๆ สำหรับการดำเนินการทำหลักเกณฑ์มาตรฐานแพทย์ด้านความงาม เป็นเพราะว่าที่ผ่านมาแพทย์ด้านนี้จะเกี่ยวพันกับหลายราชวิทยาลัย ทั้งศัลยกรรม จักษุ หูคอจมูก ผิวหนัง เป็นต้น จึงไม่มีฝ่ายใดรับเป็นเจ้าภาพในการควบคุมมาตรฐาน แพทยสภาจึงต้องเข้ามาดำเนินการสร้างมาตรฐานให้แพทย์ด้านนี้
ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะผู้ร่างหลักสูตรการฉีดฟิลเลอร์ กล่าวว่า หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นการสร้างมาตรฐานสำหรับแพทย์ที่จะไปรักษาด้วยการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งการอบรมไม่ใช่แค่การสอนให้แพทย์ฉีดฟิลเลอร์เป็น แต่จะต้องอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมไปถึงต้องรู้ว่าการฉีดฟิลเลอร์มีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนอย่างไรบ้าง และการรักษาเบื้องต้นจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยต้องอบรมตามกำหนดระยะเวลาเท่านี้ชั่วโมง ต้องปฏิบัติผ่านคนไข้เท่านี้คน ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในวันที่ 10 มี.ค.นี้
พล.ต.ท.นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ นายกสมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย ในฐานะผู้ร่างประกาศหลักเกณฑ์และมาตรฐานฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีแพทย์ที่ให้บริการเรื่องเสริมความงามจำนวนมาก ซึ่งแพทยสภามีความเป็นห่วงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านนี้ต้องมีความรู้ความสามารถระดับหนึ่งจึงสามารถให้บริการได้ ซึ่งร่างหลักเกณฑ์จะใช้การฝึกอบรมระยะสั้นก่อน ส่วนระยะยาวจะเป็นวุฒิบัตร โดยกำหนดเลยว่าแพทย์ที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเสริมความงามจะต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง เช่น การฉีดฟิลเลอร์ การใช้เครื่องเลเซอร์ เครื่องดึงหน้าที่ต้องผ่านความร้อน เป็นต้น คือจะเน้นเฉพาะการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง ไม่รวมการรักษาทั่วๆ ไปอย่างเช่น สิว ฝ้า เป็นต้น
นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จริงๆ ไทยเรามีความรู้และมีคุณภาพในการเสริมความงามมานาน 30-40 ปีแล้ว แต่อาจสู้การบริหารจัดการ การตลาด และการประชาสัมพันธ์ของบางประเทศไม่ได้ อย่างประเทศเกาหลีจึงโดดเด่นขึ้นมา ดังนั้น สมาคม และชมรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกัน โดยเฉพาะปี 2558 ซึ่งจะเปิดเออีซี ไทยจะต้องเป็นผู้นำด้านวิชาการ ไม่ใช่แค่ด้านเสริมความงามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้นำในทุกด้าน โดยใช้การเสริมวามงามเป็นตัวนำร่อง ก่อนที่ประชากรกว่า 600-800 ล้านคนในเออีซีจะถูกตีตลาดโดยเกาหลี ทั้งที่ประเทศไทยเราอยู่ใจกลางภูมิภาคและมีความสามารถในการเป็นผู้นำได้
วันนี้ (20 ก.พ.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา แถลงข่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองประชาชนจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการศัลยกรรมตกแต่ง การเสริมสวย และการโฆษณา ว่า หลังจากออกประกาศห้ามใช้ฟิลเลอร์ชนิดไม่สลายตัว เช่น ซิลิโคนเหลว พาราฟิน แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีเพียงสาร HA ตัวเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรการอาหารและยา (อย.) อย่างไรก็ตาม แม้สาร HA ในไทยจะมีรายงานผลข้างเคียงน้อย แต่มีนัยยะสำคัญบางรายอาจเกิดการตายของผิวหนังที่บริเวณใบหน้า และบางคนอาจตาบอดเหมือนในต่างประเทศ ดังนั้น คณะอนุกรรมการจึงเตรียมที่จะร่างหลักสูตรมาตรฐานการอบรมฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นให้แก่แพทย์จบใหม่ หรือแพทย์ที่มีความสนใจแต่ยังไม่สันทัดในด้านนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว ให้ได้มีแหล่งเรียนรู้ถือเป็นการส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเสริมความงาม และคุ้มครองประชาชน นอกจากนี้ จะร่างประกาศแพทยสภาเรื่องหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทย์ที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมเพื่อการเสริมความงามด้วย โดยทั้งสองร่างจะเสร็จสิ้นในวันที่ 10 มี.ค.และนำเสนอคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 มี.ค.
“หลักสูตรการอบรมจะเป็นการขอความร่วมมือจากแพทย์มากกว่าการไปบังคับ เพราะสุดท้ายเวลาประชาชนจะเลือกใช้บริการก็จะพิจารณาความน่าเชื่อถือของแพทย์ว่าเคยผ่านการอบรมหรือไม่ ส่วนประกาศหลักเกณฑ์และมาตรฐานฯ นั้นจะต้องเป็นเกณฑ์ที่สังคม แพทย์ และประชาชนรับได้ แต่ที่สำคัญคือเพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองที่ได้มาตรฐาน เพราะทุกวันนี้โฆษณาเสริมความงามทั้งที่จริงและไม่จริง มีทั้งที่เป็นแพทย์และไม่ใช่แพทย์ รวมถึงต้องการให้แพทย์มีมาตรฐาน ทั้งส่วนตัวของแพทย์เอง สถานที่ อุปกรณ์ ความรู้ทางวิชาการในระดับหนึ่ง โดยไม่เป็นการกีดกันแพทย์แต่ละสาขามากเกินไป เช่น แพทย์ผิวหนังไม่กีดกันแพทย์ศัลยกรรม แพทย์ศัลยกรรมไม่กีดกันแพทย์หูคอจมูก เป็นต้น” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า แพทยสภาอยากเห็นการแพทย์ไทยเป็นมหาอำนาจของอาเซียนทุกรูปแบบ ทั้งการเป็นอาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน นักศึกษาแพทย์ การอบรม และการเสริมความงาม แพทย์เราจะเป็นเสาหลักประเทศ และพัฒนาประเทศ ด้วยการเปิดอบรมมากขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เพราะทุกวันนี้มีการนำแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะการนำแพทย์จากต่างชาติเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรมรูปแบบใดก็ตามต้องขออนุมัติจากแพทยสภาก่อน เช่น มารักษาคนไข้อพยพที่ชายแดน หรือมาเรียนมาสอน เพื่อที่แพทยสภาจะได้พิจารณาเนื้อหาที่จะมาสอนว่าเหมาะสมหรือไม่ หัตถการต่างๆ มีความห่างจากความเป็นไปได้หรือไม่ และที่สำคัญเพื่อตรวจสอบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ มีคดีหรือไม่ มีมาตรฐานเพียงพอดูแลประชาชนไทยหรือไม่ เพราะหากเกิดความผิดพลาดในการรักษาขึ้นมา แพทยภาพจะได้สามารถติดตามแพทย์คนดังกล่าวได้ เป็นการคุ้มครองประชาชนอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาหากแพทยสภาทราบว่ามีการนำแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาสอน เข้ามาสาธิตการรักษาก็จะโทรศัพท์ไปเตือน แต่กว่า 90% จะเป็นการแอบนำเข้ามา ซึ่งบางครั้งแพทยสภาไม่ทราบ เมื่อทราบก็พบว่าเดินทางกลับไปแล้ว
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การนำแพทย์จากต่างประเทศเข้ามาโดยไม่ขออนุมัติจากแพทยสภา ไม่เฉพาะแค่ผิดกฎหมายเท่านั้น ประชาชนยังมีโอกาสได้รับความเสี่ยงด้วย เพราะเคยมีคดีที่แพทย์ต่างประเทศเสริมความงามให้แล้วไม่สวย เกิดความผิดพลาดขึ้นมา ก็จะตามตัวมาดำเนินคดีลำบาก เพราะบินกลับประเทศไปแล้ว ที่สำคัญแพทย์ต่างประเทศที่นำเข้ามาในไทยเมื่อไปถามแพทย์ประเทศเดียวกันว่ารู้จักหรือไม่ หลายครั้งพบว่าไม่เคยได้ยินชื่อ หรือพบว่ามีแต่ชื่อเสีย การเข้ามาในไทยก็เหมือนการมาชุบตัว โดยมีคนไทยเราเป็นเครื่องทดลอง จึงอยากฝากเตือนให้ประชาชนสืบค้นข้อมูลดีๆ สำหรับการดำเนินการทำหลักเกณฑ์มาตรฐานแพทย์ด้านความงาม เป็นเพราะว่าที่ผ่านมาแพทย์ด้านนี้จะเกี่ยวพันกับหลายราชวิทยาลัย ทั้งศัลยกรรม จักษุ หูคอจมูก ผิวหนัง เป็นต้น จึงไม่มีฝ่ายใดรับเป็นเจ้าภาพในการควบคุมมาตรฐาน แพทยสภาจึงต้องเข้ามาดำเนินการสร้างมาตรฐานให้แพทย์ด้านนี้
ศ.นพ.วรพงษ์ มนัสเกียรติ ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะผู้ร่างหลักสูตรการฉีดฟิลเลอร์ กล่าวว่า หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นการสร้างมาตรฐานสำหรับแพทย์ที่จะไปรักษาด้วยการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งการอบรมไม่ใช่แค่การสอนให้แพทย์ฉีดฟิลเลอร์เป็น แต่จะต้องอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมไปถึงต้องรู้ว่าการฉีดฟิลเลอร์มีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนอย่างไรบ้าง และการรักษาเบื้องต้นจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยต้องอบรมตามกำหนดระยะเวลาเท่านี้ชั่วโมง ต้องปฏิบัติผ่านคนไข้เท่านี้คน ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในวันที่ 10 มี.ค.นี้
พล.ต.ท.นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ นายกสมาคมศัลยกรรมและเวชศาสตร์เพื่อการเสริมสวยประเทศไทย ในฐานะผู้ร่างประกาศหลักเกณฑ์และมาตรฐานฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีแพทย์ที่ให้บริการเรื่องเสริมความงามจำนวนมาก ซึ่งแพทยสภามีความเป็นห่วงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านนี้ต้องมีความรู้ความสามารถระดับหนึ่งจึงสามารถให้บริการได้ ซึ่งร่างหลักเกณฑ์จะใช้การฝึกอบรมระยะสั้นก่อน ส่วนระยะยาวจะเป็นวุฒิบัตร โดยกำหนดเลยว่าแพทย์ที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านเสริมความงามจะต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง เช่น การฉีดฟิลเลอร์ การใช้เครื่องเลเซอร์ เครื่องดึงหน้าที่ต้องผ่านความร้อน เป็นต้น คือจะเน้นเฉพาะการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง ไม่รวมการรักษาทั่วๆ ไปอย่างเช่น สิว ฝ้า เป็นต้น
นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จริงๆ ไทยเรามีความรู้และมีคุณภาพในการเสริมความงามมานาน 30-40 ปีแล้ว แต่อาจสู้การบริหารจัดการ การตลาด และการประชาสัมพันธ์ของบางประเทศไม่ได้ อย่างประเทศเกาหลีจึงโดดเด่นขึ้นมา ดังนั้น สมาคม และชมรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกัน โดยเฉพาะปี 2558 ซึ่งจะเปิดเออีซี ไทยจะต้องเป็นผู้นำด้านวิชาการ ไม่ใช่แค่ด้านเสริมความงามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้นำในทุกด้าน โดยใช้การเสริมวามงามเป็นตัวนำร่อง ก่อนที่ประชากรกว่า 600-800 ล้านคนในเออีซีจะถูกตีตลาดโดยเกาหลี ทั้งที่ประเทศไทยเราอยู่ใจกลางภูมิภาคและมีความสามารถในการเป็นผู้นำได้