วัยรุ่นไทยคลั่งผอมแบบการ์ตูนญี่ปุ่น หันสั่งซื้อยาลดความอ้วนตามอินเทอร์เน็ต ตลาดมืดเพียบ บางรายหลงเชื่อโฆษณาน้ำผลไม้ สารสกัดลดน้ำหนัก ชี้เสี่ยงอันตรายถึงเสียชีวิต ระบุค่าดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร แพทย์ถึงให้ยาลดความอ้วน เตือนห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ คนซึมเศร้าอาการรุนแรงขึ้น และหญิงมีครรภ์
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีค่านิยมว่ารูปร่างต้องผอมแบบการ์ตูนญี่ปุ่น ทำให้คนอ้วนหรือแค่รู้สึกว่าอ้วนหันมาลดน้ำหนักทางลัด โดยเข้าสถานบริการลดความอ้วน ซึ่งมีเปิดบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือใช้ยาลดน้ำหนักผิดวิธี จากการบอกปากต่อปากจากเพื่อนที่ใช้ โดยสั่งซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต หรือใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหาร ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้ยับยั้งการดูดซึมอาหาร และออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง กินแล้วไม่หิวง่าย อาทิ เฟนฟลูรามีน เด็กซ์เฟนฟลูรามีน ไซบูทรามีน ซึ่ง อย.เพิกถอนทะเบียนยาไปแล้ว จนบางรายถึงกับเสียชีวิต เนื่องจากได้รับยาเกินขนาด มีโรคประจำตัว และห้ามใช้ยาประเภทนี้ อย่างไซบูทรามีน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดในสมองแตกได้ ซึ่งขณะนี้พบว่ามีการลักลอบเข้ามาทั้งสารเคมีและตัวยา
“ผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาว่าลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักได้นั้น อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด และขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย กรณีแสดงสรรพคุณลดน้ำหนัก ไม่ถือว่าเป็นอาหาร แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นความผิด” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังพบการใช้ยาเฟนเตอมีนที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ห้ามการผลิต ขาย นำเข้า และส่งออก ต้องดำเนินการโดย อย.เพียงผู้เดียวเท่านั้น หากโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ จะใช้ต้องมาสั่งซื้อจาก อย.และต้องมีแพทย์เป็นผู้ที่สั่งใช้โดยตรง ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติได้แนะนำประเทศสมาชิก เฝ้าติดตามการใช้ยาลดความอ้วนกลุ่มนี้ เนื่องจากพบว่ามีการใช้ยาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ มีรายงานการใช้ยาในทางที่ผิด และพบว่าหาซื้อยาได้จากตลาดมืด
“คนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนอ้วนจริง เมื่อวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มักพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่คนกลุ่มนี้ต้องการลดความอ้วน ซึ่งมักเกิดมาจากกระแสเลียนแบบดารา หรือต้องการทำตามเพื่อน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้ยาลดความอ้วน คือนอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้ ” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ยาอาจมีผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว และปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผลของยา รวมทั้งห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์ ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก สำหรับการหาค่าดัชนีมวลกายว่าตนอ้วนหรือไม่ ให้นำน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานสากล ค่าปกติอยู่ที่ 18-25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยแพทย์มักจะเริ่มใช้ยาลดความอ้วน หากมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรืออาจให้กรณีมากกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัม/ตารางเมตรและมีความเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีค่านิยมว่ารูปร่างต้องผอมแบบการ์ตูนญี่ปุ่น ทำให้คนอ้วนหรือแค่รู้สึกว่าอ้วนหันมาลดน้ำหนักทางลัด โดยเข้าสถานบริการลดความอ้วน ซึ่งมีเปิดบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือใช้ยาลดน้ำหนักผิดวิธี จากการบอกปากต่อปากจากเพื่อนที่ใช้ โดยสั่งซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต หรือใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหารเสริม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากการลักลอบใส่ยาลดความอยากอาหาร ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ ออกฤทธิ์ที่ระบบลำไส้ยับยั้งการดูดซึมอาหาร และออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง กินแล้วไม่หิวง่าย อาทิ เฟนฟลูรามีน เด็กซ์เฟนฟลูรามีน ไซบูทรามีน ซึ่ง อย.เพิกถอนทะเบียนยาไปแล้ว จนบางรายถึงกับเสียชีวิต เนื่องจากได้รับยาเกินขนาด มีโรคประจำตัว และห้ามใช้ยาประเภทนี้ อย่างไซบูทรามีน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และหลอดเลือดในสมองแตกได้ ซึ่งขณะนี้พบว่ามีการลักลอบเข้ามาทั้งสารเคมีและตัวยา
“ผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาว่าลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักได้นั้น อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด และขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงการลักลอบใส่สารลดน้ำหนักที่เป็นอันตราย กรณีแสดงสรรพคุณลดน้ำหนัก ไม่ถือว่าเป็นอาหาร แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์อาจจะบอกว่าเป็นน้ำผลไม้ หรือเป็นสารสกัดก็ตาม ถือว่าเป็นการแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง หรือแสดงสรรพคุณที่ไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นความผิด” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังพบการใช้ยาเฟนเตอมีนที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ห้ามการผลิต ขาย นำเข้า และส่งออก ต้องดำเนินการโดย อย.เพียงผู้เดียวเท่านั้น หากโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ จะใช้ต้องมาสั่งซื้อจาก อย.และต้องมีแพทย์เป็นผู้ที่สั่งใช้โดยตรง ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติได้แนะนำประเทศสมาชิก เฝ้าติดตามการใช้ยาลดความอ้วนกลุ่มนี้ เนื่องจากพบว่ามีการใช้ยาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ มีรายงานการใช้ยาในทางที่ผิด และพบว่าหาซื้อยาได้จากตลาดมืด
“คนที่ใช้ยาลดความอ้วนขณะนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่กลุ่มคนอ้วนจริง เมื่อวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มักพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่คนกลุ่มนี้ต้องการลดความอ้วน ซึ่งมักเกิดมาจากกระแสเลียนแบบดารา หรือต้องการทำตามเพื่อน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการใช้ยาลดความอ้วน คือนอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการติดยาได้ ” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ยาลดความอ้วนห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นอาการซึมเศร้าให้รุนแรงขึ้น และห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี เนื่องจากเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต ยาอาจมีผลต่อการเจริญพันธุ์ในวัยหนุ่มสาว และปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผลของยา รวมทั้งห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงเด็กในครรภ์ ทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้ การใช้ยาลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จะต้องอยู่ภายใต้การสั่งใช้และการควบคุมโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะยาลดน้ำหนักไม่สามารถรักษาโรคอ้วนให้หายขาด เมื่อหยุดยา น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นได้อีก สำหรับการหาค่าดัชนีมวลกายว่าตนอ้วนหรือไม่ ให้นำน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานสากล ค่าปกติอยู่ที่ 18-25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยแพทย์มักจะเริ่มใช้ยาลดความอ้วน หากมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรืออาจให้กรณีมากกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัม/ตารางเมตรและมีความเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ