WHO ชี้ “เบาหวาน” อันตรายเทียบเท่าเอดส์ สธ.พบคนตายเพราะเบาหวานมาก แถมป่วยกันเพียบ เหตุกินน้ำตาลเกินพิกัด เฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา เกินกว่าค่ามาตรฐานถึง 3 เท่า ระบุคนไทยถึง 17 ล้านคนติดดื่มน้ำอัดลมทุกวัน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ตั้งเป้าตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปให้ได้ 90% ในปี 2557
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปี 2548 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคเบาหวานเป็นโรคที่อันตรายเทียบเท่าโรคเอดส์ เนื่องจากแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากเบาหวานประมาณ 3.2 ล้านคน ขณะที่ผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ราว 3 ล้านคน โดยรายงานล่าสุดขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานกว่า 371 ล้านคน หากไม่มีการดำเนินการใดๆ จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน ในปี 2573 สำหรับประเทศไทยจากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ปี 2554 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่กว่า 300,000 คน โดย 1 ใน 3 ไม่รู้ตัวว่าป่วย และพบคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเสี่ยงป่วยเบาหวานอีก 2.4 ล้านคน สาเหตุเพราะบริโภคน้ำตาลสูงถึงคนละ 29.6 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน 3 เท่า ทั้งที่ WHO กำหนดให้บริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 6-8 ช้อนชาหรือประมาณ 24 กรัมต่อวัน หรือไม่เกินคนละ 10 กิโลกรัมต่อปี
“ที่สำคัญพบว่ามีคนไทย 17 ล้านคน ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มรสหวานจัดอื่นๆ ทุกวัน โดยในน้ำอัดลม 1 กระป๋องขนาดบรรจุ 325 ซีซี มีปริมาณน้ำตาลทราย 35 กรัม บางครัวเรือนนิยมแช่น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มรสหวานจัดอื่นๆ ในตู้เย็นไว้ดื่มแทนน้ำเปล่า เพราะเชื่อว่าดื่มแล้วจะสดชื่นกว่าน้ำเปล่าทั่วไป ซึ่งจะเป็นอันตรายจะเป็นการสร้างค่านิยมติดหวาน เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน” โฆษก สธ.กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า โรคเบาหวานพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป เป็นภัยที่เกิดเงียบๆ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติ คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ำมากผิดปกติ หิวบ่อย กินจุแต่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึมและหายใจหอบเหนื่อยง่าย ปัสสาวะทิ้งไว้มีมดตอม เป็นแผลเรื้อรัง แผลหายช้า คันตามผิวหนัง หากมีอาการเหล่านี้ขอให้พบแพทย์ ส่วนในเด็ก ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้จากน้ำหนักตัวและรูปร่างของลูกว่าเริ่มมีภาวะอ้วน หากมีรอยดำปรากฏที่รอบต้นคอ ใต้รักแร้หรือขาหนีบ ถูไม่ออก เด็กบางรายอาจปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ขอให้สงสัยว่าลูกอาจเป็นเบาหวาน และพาไปพบแพทย์
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2557 สธ.จะให้สถานบริการทั่วประเทศ ตรวจคัดกรองเบาหวานครอบคลุมคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกพื้นที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เพื่อให้การดูแล ให้คำปรึกษา และความรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ทั้งผู้ที่ยังไม่ป่วย ผู้ที่เสี่ยงป่วย และผู้ที่ป่วยแล้ว เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3อ.2ส.ได้แก่ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ ปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสหวานหรือเค็มเกินไป ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที ทำจิตใจอารมณ์ให้แจ่มใส งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา นอกจากนี้ ควรจำกัดชั่วโมงการเล่นคอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ของลูกหลานไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากเด็กจะกินอาหารเพิ่มขึ้น
“สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดใน 3 เรื่องคือ ควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาควบคุมอาการ เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษาหายขาด ซึ่งการปฏิบัติตัวดังกล่าว จะช่วยให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” โฆษก สธ.กล่าว
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปี 2548 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคเบาหวานเป็นโรคที่อันตรายเทียบเท่าโรคเอดส์ เนื่องจากแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากเบาหวานประมาณ 3.2 ล้านคน ขณะที่ผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ราว 3 ล้านคน โดยรายงานล่าสุดขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานกว่า 371 ล้านคน หากไม่มีการดำเนินการใดๆ จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน ในปี 2573 สำหรับประเทศไทยจากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ปี 2554 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่กว่า 300,000 คน โดย 1 ใน 3 ไม่รู้ตัวว่าป่วย และพบคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเสี่ยงป่วยเบาหวานอีก 2.4 ล้านคน สาเหตุเพราะบริโภคน้ำตาลสูงถึงคนละ 29.6 กิโลกรัมต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 20 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน 3 เท่า ทั้งที่ WHO กำหนดให้บริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 6-8 ช้อนชาหรือประมาณ 24 กรัมต่อวัน หรือไม่เกินคนละ 10 กิโลกรัมต่อปี
“ที่สำคัญพบว่ามีคนไทย 17 ล้านคน ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มรสหวานจัดอื่นๆ ทุกวัน โดยในน้ำอัดลม 1 กระป๋องขนาดบรรจุ 325 ซีซี มีปริมาณน้ำตาลทราย 35 กรัม บางครัวเรือนนิยมแช่น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มรสหวานจัดอื่นๆ ในตู้เย็นไว้ดื่มแทนน้ำเปล่า เพราะเชื่อว่าดื่มแล้วจะสดชื่นกว่าน้ำเปล่าทั่วไป ซึ่งจะเป็นอันตรายจะเป็นการสร้างค่านิยมติดหวาน เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน” โฆษก สธ.กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า โรคเบาหวานพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป เป็นภัยที่เกิดเงียบๆ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติ คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ำมากผิดปกติ หิวบ่อย กินจุแต่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึมและหายใจหอบเหนื่อยง่าย ปัสสาวะทิ้งไว้มีมดตอม เป็นแผลเรื้อรัง แผลหายช้า คันตามผิวหนัง หากมีอาการเหล่านี้ขอให้พบแพทย์ ส่วนในเด็ก ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้จากน้ำหนักตัวและรูปร่างของลูกว่าเริ่มมีภาวะอ้วน หากมีรอยดำปรากฏที่รอบต้นคอ ใต้รักแร้หรือขาหนีบ ถูไม่ออก เด็กบางรายอาจปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ขอให้สงสัยว่าลูกอาจเป็นเบาหวาน และพาไปพบแพทย์
พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2557 สธ.จะให้สถานบริการทั่วประเทศ ตรวจคัดกรองเบาหวานครอบคลุมคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกพื้นที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เพื่อให้การดูแล ให้คำปรึกษา และความรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ทั้งผู้ที่ยังไม่ป่วย ผู้ที่เสี่ยงป่วย และผู้ที่ป่วยแล้ว เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3อ.2ส.ได้แก่ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ ปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสหวานหรือเค็มเกินไป ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ และน้ำอัดลม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที ทำจิตใจอารมณ์ให้แจ่มใส งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา นอกจากนี้ ควรจำกัดชั่วโมงการเล่นคอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์ของลูกหลานไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากเด็กจะกินอาหารเพิ่มขึ้น
“สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดใน 3 เรื่องคือ ควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาควบคุมอาการ เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษาหายขาด ซึ่งการปฏิบัติตัวดังกล่าว จะช่วยให้การรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” โฆษก สธ.กล่าว