สธ.เผยอัตราการคลอดของแม่วัยใสไทย สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ส่งผลต่อสุขภาพกาย-จิตของแม่ ไอคิวลูก และยังพบวัยรุ่นไทยยังติดเชื้อหนองใน หูดหงอนไก่ สูงอันดับ 1 เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่าวัยทั่วไป 3-9 เท่า เร่งสร้างทักษะให้วัยรุ่นไทยที่มีประมาณ 10 ล้านคน ให้ฉลาดรัก รู้จักวิธีการป้องกันปัญหาทางเพศ โดยจับมือกระทรวงศึกษาธิการ เปิด “คลินิกวัยรุ่น” เชื่อมบริการดูแลระหว่างโรงพยาบาล โรงเรียน 835 แห่ง ทั่วประเทศ และเปิดตัวแอปพลิเคชัน เลิฟ เซย์ เพลย์ เรื่องความรักและเพศศึกษา ผ่านทางมือถือ ไอแพด ใช้ได้ในอีก 2 เดือน
วันนี้ (11 ก.พ.) ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายโรจนะ กฤษเจริญ รองเลขาธิการสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต และนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าว มหกรรมวาเลนไทน์ “วัยรุ่นไทยฉลาดรัก รู้จักป้องกันปัญหาทางเพศ หรือ เลิฟ เซย์ เพลย์ (Love Say Play)” โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 400 คน จาก 36 โรงเรียน
นพ.วชิระ กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาจากเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและไม่ปลอดภัย ในวัยรุ่นไทยรุนแรงขึ้น ปัญหาที่สะท้อนชัดเจน 2 เรื่องหลัก ประการแรกคือ อัตราการคลอดของแม่วัยใส อยู่ที่ 54 คนต่อการคลอด 1,000 คน สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ซึ่งการที่แม่อายุน้อย จะส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของแม่ และระดับสติปัญญาหรือไอคิวของลูก ซึ่งมาจากปัญหาการใส่ใจเลี้ยงดู ประการที่ 2 คือ การป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้นทุกปี มีสัดส่วนสูงกว่าวัยอื่นๆ ตั้งแต่โรคไม่รุนแรง คือหนองใน (Gonorrhoea) ติดมากถึงร้อยละ 54 ปีละกว่า 6,000 คน และหูดหงอนไก่ (Condyloma) ติดร้อยละ 48 ปีละประมาณ 2,400 คน สูงเป็นอันดับ 1 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ส่วนโรครุนแรง คือเอชไอวี เอดส์ ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรเอดส์ ขณะนี้ร้อยละ 85 อายุ 15-45 ปี ซึ่งแสดงว่าติดเชื้อมาตั้งแต่วัยรุ่น เฉลี่ยอาการจะปรากฏหลังติดเชื้อ ประมาณ 8 ปี จากข้อมูลทางวิชาการ พบวัยรุ่นเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่าคนปกติ 3-9 เท่า โดยมีอัตราใช้ถุงยางอนามัยต่ำไม่ถึงร้อยละ 50
ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ยุทธศาสตร์บูรณาการงานร่วมระหว่างหน่วยงานในสังกัดคือกรมอนามัย กรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ร่วมกันสร้างช่องทางให้วัยรุ่นอายุ 12-24 ปี ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านคนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน เข้าถึงบริการ ทั้งภายหลังมีปัญหาและการป้องกันการเกิดปัญหา ทั้งตั้งครรภ์ และติดเชื้อ โดยเปิดบริการคลินิกสุขภาพและให้คำปรึกษาสำหรับวัยรุ่น (Youth clinic &Psychosocial clinic) ในโรงพยาบาลชุมชน 835 แห่ง ทำงานเชื่อมโยงกับโรงเรียนระดับอำเภอ-จังหวัด ดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1 โรงเรียน 1 โรงพยาบาล และให้บริการแบบมิตร แบบเพื่อน บูรณาการงานของกรมต่างๆ ร่วมดูแลแก้ไข
ด้าน นพ.เจษฎา กล่าวว่า ในปีนี้กรมสุขภาพจิตได้ปรับกลยุทธ์การดูแลช่วยเหลือวัยรุ่น โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ “วัยรุ่นฉลาดรัก รู้จักป้องกัน” (SMART TEEN : love say + play) นอกจากจะรณรงค์ให้วัยรุ่นแสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่นเล่นดนตรี เป็นต้น และขณะนี้ได้จัดทำแอปพลิเคชัน ชื่อว่า เลิฟ เซย์ เพลย์ (Love Say Play) เพื่อเพิ่มทักษะเรื่องความรักกับการให้ความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ความแตกต่างระหว่างเพศ ธรรมชาติของวัยรุ่นและการปรับตัว 2. ความรักของหญิงชาย และความสัมพันธ์ในเชิงบวก 3.เพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ 4.ทักษะชีวิตและทางออกเมื่อเผชิญปัญหา ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนา คาดว่าอีก 2 เดือนจะสมบูรณ์แบบ และสามารถดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ ไอแพด
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรมอนามัย ได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภายใต้แนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง ช่วยเหลือ” โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1.การสื่อสารสร้างความตระหนักปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและวัยรุ่น เพื่อชะลอการมีเพศสัมพันธ์ออกไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม ส่วนวัยรุ่นที่จะมีเพศสัมพันธ์ ก็ต้องมีความรู้ในการเตรียมการป้องกัน เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา 2.การพัฒนาระบบบริการเน้นการให้ความรู้ การให้คำปรึกษา บริการคุมกำเนิด โดยจัดบริการให้เข้าถึงได้ง่าย บริการที่เป็นมิตร และ 3.การพัฒนาระบบการดูแลและช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการประเมินและรับรองโรงพยาบาลตาม
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้แก่ 1.พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องเอดส์และเพศศึกษาในสถานศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องเอดส์ เพศศึกษา และอนามัยการเจริญพันธุ์ 2.พัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงบริการข้อมูล คำแนะนำ ปรึกษาและจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตร สำหรับเยาวชน กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และกลุ่มหญิงบริการ ในพื้นที่ 57 จังหวัด 3.ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชน เพื่อการป้องกันโรคด้วยการแจกฟรี ส่งเสริมสนับสนุนการติดตั้งเครื่องจำหน่ายถุงยางอนามัย มากกว่า 14,000 เครื่อง ทั่วประเทศ และ 4. พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภายใต้ชื่อ โครงการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันเอดส์ในสถานศึกษา (Anti AIDS Academy : AAA)
นายโรจนะ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้เน้นให้นักเรียนรู้จักรักตัวเอง รักผู้อื่นและเห็นคุณค่าของความรัก ภายใต้แนวคิด “รู้จัก รู้ใจ และให้ความรัก” รู้จัก คือ สถานศึกษาต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สร้างความมั่นใจนักเรียนว่าครูสามารถสามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง ทันเวลา และถูกวิธี รู้ใจ คือรู้ว่าเด็กวัยนี้อยากรู้อยากลอง จึงเร่งรัดพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา (Sexuality Education) บรรจุในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รวมทั้งการเร่งรัดการเสริมสร้างทักษะชีวิต (Lifeskills Education) ให้รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และรู้จักคิดวิเคราะห์ตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ ให้ความรัก คือการเน้นให้ครูบริหารจัดการชั้นเรียนโดยใช้วินัยเชิงบวก (Positive Discipline) เน้นการสร้างพื้นฐานการคิดแบบรักรับผิดชอบ ให้เข้าใจระดับของพัฒนาการความรักจาก กิ๊ก แฟน คู่รัก จนถึงคู่ชีวิต
วันนี้ (11 ก.พ.) ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายโรจนะ กฤษเจริญ รองเลขาธิการสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต และนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าว มหกรรมวาเลนไทน์ “วัยรุ่นไทยฉลาดรัก รู้จักป้องกันปัญหาทางเพศ หรือ เลิฟ เซย์ เพลย์ (Love Say Play)” โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 400 คน จาก 36 โรงเรียน
นพ.วชิระ กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาจากเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและไม่ปลอดภัย ในวัยรุ่นไทยรุนแรงขึ้น ปัญหาที่สะท้อนชัดเจน 2 เรื่องหลัก ประการแรกคือ อัตราการคลอดของแม่วัยใส อยู่ที่ 54 คนต่อการคลอด 1,000 คน สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ซึ่งการที่แม่อายุน้อย จะส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของแม่ และระดับสติปัญญาหรือไอคิวของลูก ซึ่งมาจากปัญหาการใส่ใจเลี้ยงดู ประการที่ 2 คือ การป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้นทุกปี มีสัดส่วนสูงกว่าวัยอื่นๆ ตั้งแต่โรคไม่รุนแรง คือหนองใน (Gonorrhoea) ติดมากถึงร้อยละ 54 ปีละกว่า 6,000 คน และหูดหงอนไก่ (Condyloma) ติดร้อยละ 48 ปีละประมาณ 2,400 คน สูงเป็นอันดับ 1 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ส่วนโรครุนแรง คือเอชไอวี เอดส์ ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรเอดส์ ขณะนี้ร้อยละ 85 อายุ 15-45 ปี ซึ่งแสดงว่าติดเชื้อมาตั้งแต่วัยรุ่น เฉลี่ยอาการจะปรากฏหลังติดเชื้อ ประมาณ 8 ปี จากข้อมูลทางวิชาการ พบวัยรุ่นเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่าคนปกติ 3-9 เท่า โดยมีอัตราใช้ถุงยางอนามัยต่ำไม่ถึงร้อยละ 50
ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้ยุทธศาสตร์บูรณาการงานร่วมระหว่างหน่วยงานในสังกัดคือกรมอนามัย กรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและภาคีเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับวัยรุ่น ร่วมกันสร้างช่องทางให้วัยรุ่นอายุ 12-24 ปี ซึ่งมีประมาณ 10 ล้านคนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน เข้าถึงบริการ ทั้งภายหลังมีปัญหาและการป้องกันการเกิดปัญหา ทั้งตั้งครรภ์ และติดเชื้อ โดยเปิดบริการคลินิกสุขภาพและให้คำปรึกษาสำหรับวัยรุ่น (Youth clinic &Psychosocial clinic) ในโรงพยาบาลชุมชน 835 แห่ง ทำงานเชื่อมโยงกับโรงเรียนระดับอำเภอ-จังหวัด ดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1 โรงเรียน 1 โรงพยาบาล และให้บริการแบบมิตร แบบเพื่อน บูรณาการงานของกรมต่างๆ ร่วมดูแลแก้ไข
ด้าน นพ.เจษฎา กล่าวว่า ในปีนี้กรมสุขภาพจิตได้ปรับกลยุทธ์การดูแลช่วยเหลือวัยรุ่น โดยจัดกิจกรรมรณรงค์ “วัยรุ่นฉลาดรัก รู้จักป้องกัน” (SMART TEEN : love say + play) นอกจากจะรณรงค์ให้วัยรุ่นแสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่นเล่นดนตรี เป็นต้น และขณะนี้ได้จัดทำแอปพลิเคชัน ชื่อว่า เลิฟ เซย์ เพลย์ (Love Say Play) เพื่อเพิ่มทักษะเรื่องความรักกับการให้ความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ความแตกต่างระหว่างเพศ ธรรมชาติของวัยรุ่นและการปรับตัว 2. ความรักของหญิงชาย และความสัมพันธ์ในเชิงบวก 3.เพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ 4.ทักษะชีวิตและทางออกเมื่อเผชิญปัญหา ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนา คาดว่าอีก 2 เดือนจะสมบูรณ์แบบ และสามารถดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ ไอแพด
ดร.นพ.พรเทพ กล่าวว่า กรมอนามัย ได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภายใต้แนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง ช่วยเหลือ” โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1.การสื่อสารสร้างความตระหนักปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและวัยรุ่น เพื่อชะลอการมีเพศสัมพันธ์ออกไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม ส่วนวัยรุ่นที่จะมีเพศสัมพันธ์ ก็ต้องมีความรู้ในการเตรียมการป้องกัน เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา 2.การพัฒนาระบบบริการเน้นการให้ความรู้ การให้คำปรึกษา บริการคุมกำเนิด โดยจัดบริการให้เข้าถึงได้ง่าย บริการที่เป็นมิตร และ 3.การพัฒนาระบบการดูแลและช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการประเมินและรับรองโรงพยาบาลตาม
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้แก่ 1.พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องเอดส์และเพศศึกษาในสถานศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องเอดส์ เพศศึกษา และอนามัยการเจริญพันธุ์ 2.พัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงบริการข้อมูล คำแนะนำ ปรึกษาและจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตร สำหรับเยาวชน กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และกลุ่มหญิงบริการ ในพื้นที่ 57 จังหวัด 3.ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชน เพื่อการป้องกันโรคด้วยการแจกฟรี ส่งเสริมสนับสนุนการติดตั้งเครื่องจำหน่ายถุงยางอนามัย มากกว่า 14,000 เครื่อง ทั่วประเทศ และ 4. พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภายใต้ชื่อ โครงการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันเอดส์ในสถานศึกษา (Anti AIDS Academy : AAA)
นายโรจนะ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้เน้นให้นักเรียนรู้จักรักตัวเอง รักผู้อื่นและเห็นคุณค่าของความรัก ภายใต้แนวคิด “รู้จัก รู้ใจ และให้ความรัก” รู้จัก คือ สถานศึกษาต้องมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สร้างความมั่นใจนักเรียนว่าครูสามารถสามารถช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง ทันเวลา และถูกวิธี รู้ใจ คือรู้ว่าเด็กวัยนี้อยากรู้อยากลอง จึงเร่งรัดพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา (Sexuality Education) บรรจุในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รวมทั้งการเร่งรัดการเสริมสร้างทักษะชีวิต (Lifeskills Education) ให้รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และรู้จักคิดวิเคราะห์ตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ ให้ความรัก คือการเน้นให้ครูบริหารจัดการชั้นเรียนโดยใช้วินัยเชิงบวก (Positive Discipline) เน้นการสร้างพื้นฐานการคิดแบบรักรับผิดชอบ ให้เข้าใจระดับของพัฒนาการความรักจาก กิ๊ก แฟน คู่รัก จนถึงคู่ชีวิต