สธ.ชู อ.สามง่าม จ.พิจิตร เดินหน้านโยบายพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ เน้นเรื่อง “โอพีดี ซีโร่” พุ่งเป้าผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้บริการที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน พบ ลดผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลแม่ข่ายได้ 50% ประหยัดค่ารถคนละ 500 บาทต่อครั้ง ผู้ป่วยควบคุมระดับความดันและเบาหวานได้ดีขึ้นชัดเจน
วันนี้ (1 พ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสามง่าม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่มีการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) และการดำเนินการนโยบายลดความแออัดในการรับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ตามแนวคิด โอพีดี ซีโร่ ว่า เครือข่ายสุขภาพอำเภอเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการระดับพื้นฐานหรือปฐมภูมิให้เกิดคุณภาพ เชื่อมโยงกับบริการในระดับทุติยภูมิและ ตติยภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็น 1 ใน 4 พื้นที่ต้นแบบได้กำหนดประเด็นหลักคือ การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานเชิงรุก ภายใต้ชื่อ “โอพีดี ซีโร่” โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2553
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานจะเน้นการจัดบริการร่วมกับ รพ.สต.ให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีมาตรฐาน เริ่มจากการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปรับบริการที่ รพ.สต.โดยมีการพัฒนาศักยภาพ รพ.สต.ทุกด้าน และพัฒนาระบบสนับสนุน รพ.สต.นอกจากนี้ ปี 2556 ยังได้จัดคลินิกบริการด้านคลินิกโรคเรื้อรัง และบริการคลินิกทันตกรรมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยมารับบริการโรงพยาบาลแม่ข่ายเท่าที่จำเป็น และเกิดการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแบบใกล้บ้านใกล้ใจแทน ซึ่งคลินิกบริการโรคเรื้อรังจะจัดบริการสัปดาห์ละ 2 วัน ภาคเช้าให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในคลินิก ส่วนภาคบ่ายเป็นบริการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ เพื่อประสานงานเชื่อมระหว่างโรงพยาบาลและ รพ.สต.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง และมีการคืนข้อมูลด้านสุขภาพให้ชุมชนรู้สถานการณ์ความเจ็บป่วยของคนในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับเจ้าหน้าที่
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า จากประเมินผลการดำเนินงานปี 2556 พบว่า ประชาชนได้รับความสะดวก ใกล้บ้าน สัดส่วนการรับบริการผู้ป่วยระหว่าง รพ.สต.กับ รพ.สามง่าม ที่เป็นแม่ข่าย เท่ากับ 82:18 จำนวนผู้ป่วยที่ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของ รพ.สามง่าม ลดลง 50% จากวันละ 250 ราย เหลือวันละ 125 ราย ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายเดินทางไป รพ.สามง่าม โดยประหยัดค่าจ้างเหมารถไปโรงพยาบาลได้ถึง 500 บาท/คน/ครั้ง มีการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังคือเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงไปรับบริการที่ รพ.สต.ร้อยละ 95 ส่งผลดีต่อการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 69 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61 เป็นร้อยละ 62
“การประเมินผลด้านอื่น เช่น บุคลากร พบว่าได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทำงานร่วมกันเป็นทีม เกิดเรียนรู้ร่วมกัน เกิดแรงจูงใจ และความพึงพอใจในการทำงานสูงเกือบร้อยละ 80 เห็นคุณค่าในตนเอง ขณะเดียวกันชุมชนเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตื่นตัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง มีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายชมรมต่างๆ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพอำเภอสามง่าม และกำหนดนโยบาย การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เป็นประเด็นเร่งด่วนในอำเภอสามง่ามต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับการดูแลช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและปลอดภัยยิ่งขึ้น” ปลัด สธ.กล่าว
วันนี้ (1 พ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสามง่าม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่มีการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) และการดำเนินการนโยบายลดความแออัดในการรับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ตามแนวคิด โอพีดี ซีโร่ ว่า เครือข่ายสุขภาพอำเภอเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการระดับพื้นฐานหรือปฐมภูมิให้เกิดคุณภาพ เชื่อมโยงกับบริการในระดับทุติยภูมิและ ตติยภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็น 1 ใน 4 พื้นที่ต้นแบบได้กำหนดประเด็นหลักคือ การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานเชิงรุก ภายใต้ชื่อ “โอพีดี ซีโร่” โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2553
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานจะเน้นการจัดบริการร่วมกับ รพ.สต.ให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีมาตรฐาน เริ่มจากการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปรับบริการที่ รพ.สต.โดยมีการพัฒนาศักยภาพ รพ.สต.ทุกด้าน และพัฒนาระบบสนับสนุน รพ.สต.นอกจากนี้ ปี 2556 ยังได้จัดคลินิกบริการด้านคลินิกโรคเรื้อรัง และบริการคลินิกทันตกรรมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยมารับบริการโรงพยาบาลแม่ข่ายเท่าที่จำเป็น และเกิดการบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแบบใกล้บ้านใกล้ใจแทน ซึ่งคลินิกบริการโรคเรื้อรังจะจัดบริการสัปดาห์ละ 2 วัน ภาคเช้าให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในคลินิก ส่วนภาคบ่ายเป็นบริการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ เพื่อประสานงานเชื่อมระหว่างโรงพยาบาลและ รพ.สต.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง และมีการคืนข้อมูลด้านสุขภาพให้ชุมชนรู้สถานการณ์ความเจ็บป่วยของคนในชุมชน เพื่อขับเคลื่อนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับเจ้าหน้าที่
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า จากประเมินผลการดำเนินงานปี 2556 พบว่า ประชาชนได้รับความสะดวก ใกล้บ้าน สัดส่วนการรับบริการผู้ป่วยระหว่าง รพ.สต.กับ รพ.สามง่าม ที่เป็นแม่ข่าย เท่ากับ 82:18 จำนวนผู้ป่วยที่ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของ รพ.สามง่าม ลดลง 50% จากวันละ 250 ราย เหลือวันละ 125 ราย ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายเดินทางไป รพ.สามง่าม โดยประหยัดค่าจ้างเหมารถไปโรงพยาบาลได้ถึง 500 บาท/คน/ครั้ง มีการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังคือเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงไปรับบริการที่ รพ.สต.ร้อยละ 95 ส่งผลดีต่อการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 69 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61 เป็นร้อยละ 62
“การประเมินผลด้านอื่น เช่น บุคลากร พบว่าได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทำงานร่วมกันเป็นทีม เกิดเรียนรู้ร่วมกัน เกิดแรงจูงใจ และความพึงพอใจในการทำงานสูงเกือบร้อยละ 80 เห็นคุณค่าในตนเอง ขณะเดียวกันชุมชนเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตื่นตัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง มีการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่ายชมรมต่างๆ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสุขภาพอำเภอสามง่าม และกำหนดนโยบาย การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เป็นประเด็นเร่งด่วนในอำเภอสามง่ามต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับการดูแลช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและปลอดภัยยิ่งขึ้น” ปลัด สธ.กล่าว