โดย...นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
ความเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างของคุณภาพชีวิตและรายได้ คือความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ของสังคม การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ใช่แก้ด้วยนโยบายประชานิยม เช่น การแจกแท็บเล็ตที่ไม่เพิ่มคุณภาพการศึกษา นโยบายรถคันแรกเพื่อซื้อใจคนชั้นกลาง นโยบายจำนำข้าวจำนำข้าวโพด ซึ่งสุดท้ายล้วนไม่แก้ความเหลื่อมล้ำ แม้ชาวบ้านจะได้บ้าง แต่ก็ไม่ได้รวยขึ้นและที่สำคัญคือ ไม่ยั่งยืน แต่คนที่กำหนดนโยบายกลับรวยขึ้นเป็นกอบเป็นกำ
คนจนนั้นเขาไม่ใช่จนเพราะไม่ขยัน เขาเกือบทั้งหมดตื่นแต่เช้าเพื่อดิ้นรนประกอบอาชีพ เขานอนดึกเพราะต้องจัดการงานบ้านทั้งเสื้อผ้าและความเป็นอยู่ของครอบครัว เขาทำงานปีละ 365 วันโดยไม่มีวันลาพักผ่อนเหมือนข้าราชการหรือชนชั้นกลาง วันที่พักคือวันที่ป่วย วันที่หยุดคือวันที่ไม่มีรายได้
คนจนนั้นก็ไม่ใช่เพราะเขาโง่ อะไรคือความโง่ ชาวประมงจบ ป.4 นั้นโง่หรือ หากให้เรือกับคนเป็นหมออย่างผมแล้วให้ผมออกทะเลไปจับปลา ผมคงกลับมามือเปล่า และอาจเอาชีวิตกลับมาไม่ถึงฝั่งด้วยซ้ำ หรือหากให้ผมลงนาหรือเก็บผักชายทุ่งมาเป็นอาหารเย็น ผมคงต้องเรียนรู้อีกมาก ความโง่จึงไม่มีจริง คนทุกคนมีความเก่ง และมีความสามารถที่แตกต่างกัน แต่ประเด็นอยู่ที่คนแต่ละคนมีโอกาสที่ต่างกัน และโอกาสที่ต่างกันนั้นเป็นเพราะเกิดจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม
ผู้คนจำนวนมากที่ยังจนเพราะโครงสร้างทางสังคมไม่เอื้อต่อคนจนในการยกระดับคุณภาพชีวิตตนเอง การแก้ความเหลื่อมล้ำต้องแก้ไขที่โครงสร้างของสังคม เช่นจัดระเบียบการจัดการทรัพยากร จัดระบบสวัสดิการการดูแลผู้คน จัดกติกาของสังคมให้คนที่รวยกว่าแบ่งกันช่วยเหลือคนรายได้น้อยผ่านกลไกภาษี จัดกระบวนการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ดูแลกันเอง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การแก้ด้วยนโยบายประชานิยม
ตัวอย่างเช่น ชุมชนประมงพื้นบ้านที่เขาจนเพราะกฎหมายอนุญาตให้มีเรืออวนรุนอวนลากมาคราดล้างผลาญปลาในทะเลหน้าบ้านของเขา ชาวนาปลูกข้าวปลูกข้าวโพดเป็นอาชีพจน เพราะไม่มีที่ดินของตนเอง คนขับแท็กซี่ก็ไม่มีรถเป็นของตนเอง ชุมชนสลัมอยู่มาหลายสิบปีแต่ก็ไม่มีการพัฒนายกระดับที่เป็นระบบ หรือปัญหาการเข้าไม่ถึงเงินทุนของคนจน ต้องกู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยสูง แต่เศรษฐีได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ตัวอย่างเหล่านี้ได้ถูกพิสูจน์มาหลายสิบปีแล้วว่า รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีทุกยุคทุกสมัยไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างของความเหลื่อมล้ำนี้ได้ บ่อยครั้งที่กลับซ้ำเติมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะผู้แทนและรัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีกลุ่มทุนหนุนหลัง ที่ทำให้ไม่อาจตัดสินใจบนพื้นฐานของการสร้างสังคมที่ความเป็นธรรมถูกต้องได้
การแก้ไขโครงสร้างและกติการะดับชาติเพื่อเอื้อต่อการก้าวข้ามความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำช่องว่างในสังคมนั้น ต้องการการคิดและทำอย่างกล้าหาญหนักแน่น มีคนเจ็บมีคนได้ แต่หากมองส่วนรวม มองประชาชนฐานรากเป็นสำคัญ ย่อมตอบคำถามสังคมได้ และการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำนี่เอง คือหัวใจของการสร้างความปรองดองของคนในชาติ เมื่อคนจนทั้งในเมืองในชนบทมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความหวังต่อการก้าวไปข้างหน้า เห็นอนาคตที่เขามีต่อตัวเองและลูกหลาน เมื่อนั้นสภาพสองนคราประชาธิปไตย สภาพคนเสื้อเหลืองในเมืองเสื้อแดงในชนบท ก็จะลดลงไป และในที่สุดประเทศไทยจะกลับมาเป็นเอกภาพที่ไม่แบ่งสีแบ่งฝ่าย โดยไม่ต้องไปจัดเวทีสมานฉันท์ทำกระบวนการปรองดองให้เปลืองงบ การปฏิรูปลดปัญหาความเหลื่อมล้ำหากทำได้จริง สังคมไทยจะก้าวกระโดดไปเป็นประเทศที่แข็งแรง และครั้งนี้คือโอกาสครั้งสำคัญโอกาสเดียวที่มีอยู่ของสังคมไทย
การพัฒนาจากนี้ไปต้องมีจุดยืนที่ต้องลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่การพัฒนาเพื่อให้คนรวยรวยขึ้น ทุนข้ามชาติสูบเลือดเนื้อคนไทย และทิ้งคนไทยกลุ่มใหญ่ไว้ข้างหลัง การลดช่องว่างทางสังคมต้องเป็นเป้าหมายของการพัฒนาจากนี้ไป
ความเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างของคุณภาพชีวิตและรายได้ คือความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ของสังคม การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ใช่แก้ด้วยนโยบายประชานิยม เช่น การแจกแท็บเล็ตที่ไม่เพิ่มคุณภาพการศึกษา นโยบายรถคันแรกเพื่อซื้อใจคนชั้นกลาง นโยบายจำนำข้าวจำนำข้าวโพด ซึ่งสุดท้ายล้วนไม่แก้ความเหลื่อมล้ำ แม้ชาวบ้านจะได้บ้าง แต่ก็ไม่ได้รวยขึ้นและที่สำคัญคือ ไม่ยั่งยืน แต่คนที่กำหนดนโยบายกลับรวยขึ้นเป็นกอบเป็นกำ
คนจนนั้นเขาไม่ใช่จนเพราะไม่ขยัน เขาเกือบทั้งหมดตื่นแต่เช้าเพื่อดิ้นรนประกอบอาชีพ เขานอนดึกเพราะต้องจัดการงานบ้านทั้งเสื้อผ้าและความเป็นอยู่ของครอบครัว เขาทำงานปีละ 365 วันโดยไม่มีวันลาพักผ่อนเหมือนข้าราชการหรือชนชั้นกลาง วันที่พักคือวันที่ป่วย วันที่หยุดคือวันที่ไม่มีรายได้
คนจนนั้นก็ไม่ใช่เพราะเขาโง่ อะไรคือความโง่ ชาวประมงจบ ป.4 นั้นโง่หรือ หากให้เรือกับคนเป็นหมออย่างผมแล้วให้ผมออกทะเลไปจับปลา ผมคงกลับมามือเปล่า และอาจเอาชีวิตกลับมาไม่ถึงฝั่งด้วยซ้ำ หรือหากให้ผมลงนาหรือเก็บผักชายทุ่งมาเป็นอาหารเย็น ผมคงต้องเรียนรู้อีกมาก ความโง่จึงไม่มีจริง คนทุกคนมีความเก่ง และมีความสามารถที่แตกต่างกัน แต่ประเด็นอยู่ที่คนแต่ละคนมีโอกาสที่ต่างกัน และโอกาสที่ต่างกันนั้นเป็นเพราะเกิดจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม
ผู้คนจำนวนมากที่ยังจนเพราะโครงสร้างทางสังคมไม่เอื้อต่อคนจนในการยกระดับคุณภาพชีวิตตนเอง การแก้ความเหลื่อมล้ำต้องแก้ไขที่โครงสร้างของสังคม เช่นจัดระเบียบการจัดการทรัพยากร จัดระบบสวัสดิการการดูแลผู้คน จัดกติกาของสังคมให้คนที่รวยกว่าแบ่งกันช่วยเหลือคนรายได้น้อยผ่านกลไกภาษี จัดกระบวนการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ดูแลกันเอง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ใช่การแก้ด้วยนโยบายประชานิยม
ตัวอย่างเช่น ชุมชนประมงพื้นบ้านที่เขาจนเพราะกฎหมายอนุญาตให้มีเรืออวนรุนอวนลากมาคราดล้างผลาญปลาในทะเลหน้าบ้านของเขา ชาวนาปลูกข้าวปลูกข้าวโพดเป็นอาชีพจน เพราะไม่มีที่ดินของตนเอง คนขับแท็กซี่ก็ไม่มีรถเป็นของตนเอง ชุมชนสลัมอยู่มาหลายสิบปีแต่ก็ไม่มีการพัฒนายกระดับที่เป็นระบบ หรือปัญหาการเข้าไม่ถึงเงินทุนของคนจน ต้องกู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยสูง แต่เศรษฐีได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ตัวอย่างเหล่านี้ได้ถูกพิสูจน์มาหลายสิบปีแล้วว่า รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีทุกยุคทุกสมัยไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างของความเหลื่อมล้ำนี้ได้ บ่อยครั้งที่กลับซ้ำเติมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะผู้แทนและรัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีกลุ่มทุนหนุนหลัง ที่ทำให้ไม่อาจตัดสินใจบนพื้นฐานของการสร้างสังคมที่ความเป็นธรรมถูกต้องได้
การแก้ไขโครงสร้างและกติการะดับชาติเพื่อเอื้อต่อการก้าวข้ามความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำช่องว่างในสังคมนั้น ต้องการการคิดและทำอย่างกล้าหาญหนักแน่น มีคนเจ็บมีคนได้ แต่หากมองส่วนรวม มองประชาชนฐานรากเป็นสำคัญ ย่อมตอบคำถามสังคมได้ และการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำนี่เอง คือหัวใจของการสร้างความปรองดองของคนในชาติ เมื่อคนจนทั้งในเมืองในชนบทมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความหวังต่อการก้าวไปข้างหน้า เห็นอนาคตที่เขามีต่อตัวเองและลูกหลาน เมื่อนั้นสภาพสองนคราประชาธิปไตย สภาพคนเสื้อเหลืองในเมืองเสื้อแดงในชนบท ก็จะลดลงไป และในที่สุดประเทศไทยจะกลับมาเป็นเอกภาพที่ไม่แบ่งสีแบ่งฝ่าย โดยไม่ต้องไปจัดเวทีสมานฉันท์ทำกระบวนการปรองดองให้เปลืองงบ การปฏิรูปลดปัญหาความเหลื่อมล้ำหากทำได้จริง สังคมไทยจะก้าวกระโดดไปเป็นประเทศที่แข็งแรง และครั้งนี้คือโอกาสครั้งสำคัญโอกาสเดียวที่มีอยู่ของสังคมไทย
การพัฒนาจากนี้ไปต้องมีจุดยืนที่ต้องลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่การพัฒนาเพื่อให้คนรวยรวยขึ้น ทุนข้ามชาติสูบเลือดเนื้อคนไทย และทิ้งคนไทยกลุ่มใหญ่ไว้ข้างหลัง การลดช่องว่างทางสังคมต้องเป็นเป้าหมายของการพัฒนาจากนี้ไป