“อภิชาติ” ชี้อยากเห็นพัฒนาการภาษาอังกฤษของเด็ก สพฐ.ต้องรอ 2-3 ปี โอดเจอข้อจำกัดทั้งความใส่ใจของเด็กและขาดการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ระบุต้องเน้นให้เด็กอ่านเขียนไทยให้รู้เรื่องก่อน ย้ำอย่าลืมไทยไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในชีวิต
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษาภาษาอังกฤษ English Proficiency Index (EF EPI 2013) ประจำปี 2556 โดยสถาบันสอนภาษาระดับโลก Education First ที่ได้ทดสอบในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ใน 60 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยมีคะแนนความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีผล สัมฤทธิ์ทางภาษาอังกฤษค่อนต่ำสุดหรือกลุ่มที่แย่ที่สุดนั้น ว่า ต้องยอมรับว่าการจะพัฒนานักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้มีทักษะและความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของดีได้ผล 100% ไม่สามารถดำเนินการได้ในทันทีคงต้องใช้เวลา ซึ่งหากเทียบกับนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม English Program(EP) หรือนักเรียนโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่เด็กพร้อมจะมาเรียนและผู้ปกครองมีความพร้อมที่จะจ่ายสนับสนุนการศึกษาเพิ่มเติม ขณะที่ นักเรียนของ สพฐ.ที่สมัครใจเรียนมีน้อยเพราะขาดการสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ อีกทั้งยังมีปัญหาครูขาดแคลน สอนไม่ตรงวิชา เพราะฉะนั้น สพฐ.จะเร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าว
“สพฐ.พยายามแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเด็กอยู่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้วยแต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถนำครูมาอบรมพร้อม ๆ กันต้องทำเป็นรุ่น ๆ ไปดังนั้นจะให้เห็นต้องรออีก 2-3 ปีข้างหน้าไม่ใช่จะให้ได้ผลทันที ทั้งนี้ อยากให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักใน ชีวิตประจำวัน ดังนั้นสิ่งที่ควรเน้นคือการทำให้เด็กอ่านและ เขียนภาษาไทยได้รู้เรื่องก่อน "ผมคิดว่าการวัดประสิทธิภาพจัดการศึกษาที่ถูกต้องควรดูจากผลสัมฤทธิ์ของเด็ก คือเด็กเรียนจบออกมามีงานทำหรือไม่ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศหรือไม่"เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษาภาษาอังกฤษ English Proficiency Index (EF EPI 2013) ประจำปี 2556 โดยสถาบันสอนภาษาระดับโลก Education First ที่ได้ทดสอบในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ใน 60 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยมีคะแนนความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีผล สัมฤทธิ์ทางภาษาอังกฤษค่อนต่ำสุดหรือกลุ่มที่แย่ที่สุดนั้น ว่า ต้องยอมรับว่าการจะพัฒนานักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้มีทักษะและความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของดีได้ผล 100% ไม่สามารถดำเนินการได้ในทันทีคงต้องใช้เวลา ซึ่งหากเทียบกับนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรอิงลิชโปรแกรม English Program(EP) หรือนักเรียนโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่เด็กพร้อมจะมาเรียนและผู้ปกครองมีความพร้อมที่จะจ่ายสนับสนุนการศึกษาเพิ่มเติม ขณะที่ นักเรียนของ สพฐ.ที่สมัครใจเรียนมีน้อยเพราะขาดการสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ อีกทั้งยังมีปัญหาครูขาดแคลน สอนไม่ตรงวิชา เพราะฉะนั้น สพฐ.จะเร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าว
“สพฐ.พยายามแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของเด็กอยู่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้วยแต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถนำครูมาอบรมพร้อม ๆ กันต้องทำเป็นรุ่น ๆ ไปดังนั้นจะให้เห็นต้องรออีก 2-3 ปีข้างหน้าไม่ใช่จะให้ได้ผลทันที ทั้งนี้ อยากให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักใน ชีวิตประจำวัน ดังนั้นสิ่งที่ควรเน้นคือการทำให้เด็กอ่านและ เขียนภาษาไทยได้รู้เรื่องก่อน "ผมคิดว่าการวัดประสิทธิภาพจัดการศึกษาที่ถูกต้องควรดูจากผลสัมฤทธิ์ของเด็ก คือเด็กเรียนจบออกมามีงานทำหรือไม่ ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศหรือไม่"เลขาธิการ กพฐ.กล่าว