กสร.ชี้ปีนี้แนวโน้มข้อพิพาทนายจ้าง-ลูกจ้างมากกว่าทุกปี ช่วง 3 เดือนมีสถานประกอบการที่มีข้อพิพาทแล้ว 200 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมรถยนต์-ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เหตุปัญหาสะสมทั้งน้ำท่วม ปรับขึ้นค่าจ้าง ปรับตัวเพื่อแข่งขันกับเออีซี เร่งช่วยเจรจาไกล่เกลี่ย แนะทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าคุยกัน
นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงสถานการณ์ด้านแรงงานว่า จากผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท รวมทั้งผลกระทบเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน (เอซี) ในปี 2558 ซึ่งสะสมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปีนี้มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ย.2556-ม.ค.2557 มีสถานประกอบการที่มีข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างประมาณ 200 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ และผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากข้อพิพาท เช่น การเรียกร้องปรับขึ้นเงินเดือน โบนัส การปรับวัน หรือเวลาทำงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีร้อยละ 20-30 อยู่ระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่ง กสร.จะพยายามช่วยเจรจาให้ได้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
“ผลกระทบต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา และการปรับตัวเพื่อรองรับเอซี ทำให้มีแนวโน้มว่าข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะมากกว่าทุกปี แต่ข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างประมาณ 200 แห่ง และยังเจรจาไม่ได้ข้อยุติร้อยละ 20-30 เพราะ กสร.เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และเมื่อรู้ว่ากำลังเกิดสถานการณ์ข้อขัดแย้ง ก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เข้าไปดูแลเร่งระงับข้อพิพาท อยากฝากไปถึงนายจ้างว่า หากมีปัญหาด้านเงินทุน หรือจะปรับเปลี่ยนระบบเวลาการทำงานของลูกจ้างเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเตรียมพร้อมรับเอซี ก็ขอให้ประชุมชี้แจงมีการพูดคุยให้ลูกจ้างได้เข้าใจ และรู้ถึงเหตุผล ถ้าดำเนินการไปโดยลูกจ้างไม่เข้าใจจะเกิดปัญหาข้อขัดแย้งขึ้น ขณะเดียวกัน ในส่วนของลูกจ้างก็ต้องยอมปรับตัวในการทำงานบ้างเพื่อให้สถานประกอบการอยู่รอด และแข่งขันได้ อยากให้ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างพูดคุยกันด้วยเหตุผล เห็นใจกัน และอดทนฝ่าฟันวิกฤตต่างๆ ไปด้วยกัน เพราะต่างต้องพึ่งพากัน” รองอธิบดี กสร.กล่าว
นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงสถานการณ์ด้านแรงงานว่า จากผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท รวมทั้งผลกระทบเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน (เอซี) ในปี 2558 ซึ่งสะสมมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปีนี้มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ย.2556-ม.ค.2557 มีสถานประกอบการที่มีข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างประมาณ 200 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ และผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากข้อพิพาท เช่น การเรียกร้องปรับขึ้นเงินเดือน โบนัส การปรับวัน หรือเวลาทำงาน ซึ่งในจำนวนนี้มีร้อยละ 20-30 อยู่ระหว่างการเจรจาไกล่เกลี่ยยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่ง กสร.จะพยายามช่วยเจรจาให้ได้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
“ผลกระทบต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา และการปรับตัวเพื่อรองรับเอซี ทำให้มีแนวโน้มว่าข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างจะมากกว่าทุกปี แต่ข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างประมาณ 200 แห่ง และยังเจรจาไม่ได้ข้อยุติร้อยละ 20-30 เพราะ กสร.เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และเมื่อรู้ว่ากำลังเกิดสถานการณ์ข้อขัดแย้ง ก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เข้าไปดูแลเร่งระงับข้อพิพาท อยากฝากไปถึงนายจ้างว่า หากมีปัญหาด้านเงินทุน หรือจะปรับเปลี่ยนระบบเวลาการทำงานของลูกจ้างเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเตรียมพร้อมรับเอซี ก็ขอให้ประชุมชี้แจงมีการพูดคุยให้ลูกจ้างได้เข้าใจ และรู้ถึงเหตุผล ถ้าดำเนินการไปโดยลูกจ้างไม่เข้าใจจะเกิดปัญหาข้อขัดแย้งขึ้น ขณะเดียวกัน ในส่วนของลูกจ้างก็ต้องยอมปรับตัวในการทำงานบ้างเพื่อให้สถานประกอบการอยู่รอด และแข่งขันได้ อยากให้ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างพูดคุยกันด้วยเหตุผล เห็นใจกัน และอดทนฝ่าฟันวิกฤตต่างๆ ไปด้วยกัน เพราะต่างต้องพึ่งพากัน” รองอธิบดี กสร.กล่าว