จุดธูปไหว้เจ้าตรุษจีนระวังควันพิษ สธ.ชี้พบสารก่อมะเร็งเพียบ ระบุสถานที่ที่จุดธูปประจำมีสารเบนโซเอไพรีนมากกว่าถึง 63 เท่า คนทำงานในวัดมีสารก่อมะเร็งในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า แถมทำให้โลกร้อนขึ้น แนะ 4 วิธีปฏิบัติตัวให้ไหว้เจ้าอย่างปลอดภัย
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การผลิตธูปในอดีต ไทยจะใช้ไม้เนื้อหอม เช่น ไม้จันทน์ขาว จันทน์เทศ กำยาน ไม้กฤษณา กันเกรา หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ เป็นต้น เมื่อเผาจะเกิดควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองตาและจมูก แต่ปัจจุบันไม้เนื้อหอมมีราคาแพง หายาก และบางชนิดเป็นพืชคุ้มครองห้ามตัดโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีการเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบ นำมาผสมกับกาวกั๊วะก่า และกลิ่นหอมที่สกัดจากพืช หรือสารเคมีต่างๆ ทำให้ธูปมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ซึ่งการประมาณธูปที่มีความยาว 13 นิ้ว จะเผาไหม้หมดในเวลา 40-45 นาที โดยธูปบางชนิดสามารถส่งกลิ่นและควันได้นานถึง 3 วัน 3 คืน ทั้งนี้ เมื่อจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่างๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า พิษจากควันธูปเหล่านี้ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยสารก่อมะเร็งที่สำคัญ 3 ชนิดในควันธูป ได้แก่ 1.สารเบนโซเอไพรีน มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ 2.สารเบนซีน สัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ 3.สารบิวทาไดอีน สัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด โดยนักวิจัยไทยพบสารเบนโซเอไพรีนในสถานที่ที่มีการจุดธูปต่อเนื่องสูงกว่าที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า และระบุว่าคนทำงานในวัดมีสารก่อมะเร็งอยู่ในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็ง
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การวิจัยเป็นเวลากว่า 12 ปีในชาวจีนที่อาศัยในสิงคโปร์ จำนวนกว่า 61,000 คน ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันธูปพอๆ กัน พบว่า ผู้ที่มีการใช้ธูปทั้งวันทั้งคืนจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช้เลย จากสถิติการรักษาหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด พบว่า กว่าร้อยละ 50 ไม่สูบบุหรี่หรือไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ ไม่มีการได้รับสารก่อมะเร็งจากการทำงาน แพทย์คาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่นๆที่ไม่ใช่บุหรี่ และควันธูปอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็นสิบๆ ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควันธูปยังส่งผลต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารพิษชนิดอื่น เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา แสบจมูก ซึ่งหากคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ สูดดมเข้าไปก็จะเกิดอาการเหนื่อยได้ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาธูป 1 ตัน จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับ 325 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 3 ของน้ำหนักธูป คาดว่ามีคนจุดธูปทั่วโลกปีหนึ่งๆ เป็นหมื่นถึงแสนตัน การจุดธูปจึงถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
“การจุดธูปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจ แต่เพื่อให้ห่างไกลจากโรคและภัยสุขภาพ และดูแลสิ่งแวดล้อม ควรปฏิบัติดังนี้ 1.การจุดธูปในบ้าน ที่ทำงาน ศาสนสถาน ควรหลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณอากาศไม่ถ่ายเท หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์ ห้องที่ไม่มีประตู หน้าต่าง กระถางธูปควรตั้งไว้นอกศาลาโบสถ์ หรือศาลเจ้า ซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวกกว่า 2.ควรใช้ธูปสั้น 3.เมื่อเสร็จพิธีควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น และ 4.ผู้ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถาน ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมเป็นเวลานานต่อเนื่อง ใช้ถุงมือจับ และควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้บ่อยขึ้น ไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การผลิตธูปในอดีต ไทยจะใช้ไม้เนื้อหอม เช่น ไม้จันทน์ขาว จันทน์เทศ กำยาน ไม้กฤษณา กันเกรา หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ เป็นต้น เมื่อเผาจะเกิดควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองตาและจมูก แต่ปัจจุบันไม้เนื้อหอมมีราคาแพง หายาก และบางชนิดเป็นพืชคุ้มครองห้ามตัดโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีการเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบ นำมาผสมกับกาวกั๊วะก่า และกลิ่นหอมที่สกัดจากพืช หรือสารเคมีต่างๆ ทำให้ธูปมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ซึ่งการประมาณธูปที่มีความยาว 13 นิ้ว จะเผาไหม้หมดในเวลา 40-45 นาที โดยธูปบางชนิดสามารถส่งกลิ่นและควันได้นานถึง 3 วัน 3 คืน ทั้งนี้ เมื่อจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่างๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า พิษจากควันธูปเหล่านี้ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยสารก่อมะเร็งที่สำคัญ 3 ชนิดในควันธูป ได้แก่ 1.สารเบนโซเอไพรีน มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ 2.สารเบนซีน สัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ 3.สารบิวทาไดอีน สัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด โดยนักวิจัยไทยพบสารเบนโซเอไพรีนในสถานที่ที่มีการจุดธูปต่อเนื่องสูงกว่าที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า และระบุว่าคนทำงานในวัดมีสารก่อมะเร็งอยู่ในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็ง
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การวิจัยเป็นเวลากว่า 12 ปีในชาวจีนที่อาศัยในสิงคโปร์ จำนวนกว่า 61,000 คน ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันธูปพอๆ กัน พบว่า ผู้ที่มีการใช้ธูปทั้งวันทั้งคืนจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช้เลย จากสถิติการรักษาหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด พบว่า กว่าร้อยละ 50 ไม่สูบบุหรี่หรือไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ ไม่มีการได้รับสารก่อมะเร็งจากการทำงาน แพทย์คาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่นๆที่ไม่ใช่บุหรี่ และควันธูปอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็นสิบๆ ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควันธูปยังส่งผลต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารพิษชนิดอื่น เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา แสบจมูก ซึ่งหากคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ สูดดมเข้าไปก็จะเกิดอาการเหนื่อยได้ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาธูป 1 ตัน จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเท่ากับ 325 กิโลกรัม ซึ่งเท่ากับ 1 ใน 3 ของน้ำหนักธูป คาดว่ามีคนจุดธูปทั่วโลกปีหนึ่งๆ เป็นหมื่นถึงแสนตัน การจุดธูปจึงถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
“การจุดธูปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจ แต่เพื่อให้ห่างไกลจากโรคและภัยสุขภาพ และดูแลสิ่งแวดล้อม ควรปฏิบัติดังนี้ 1.การจุดธูปในบ้าน ที่ทำงาน ศาสนสถาน ควรหลีกเลี่ยงการจุดธูปในบริเวณอากาศไม่ถ่ายเท หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องแอร์ ห้องที่ไม่มีประตู หน้าต่าง กระถางธูปควรตั้งไว้นอกศาลาโบสถ์ หรือศาลเจ้า ซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวกกว่า 2.ควรใช้ธูปสั้น 3.เมื่อเสร็จพิธีควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น และ 4.ผู้ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถาน ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมเป็นเวลานานต่อเนื่อง ใช้ถุงมือจับ และควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้บ่อยขึ้น ไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง” อธิบดี คร.กล่าว