ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯยัน สเต็มเซลล์ใช้รักษาได้เฉพาะโรคทางโลหิตวิทยาบางโรคเท่านั้น เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ย้ำไม่มีหลักฐานการวิจัยเพื่อรักษาโรคความเสื่อมของร่างกาย ชะลอความชรา เผยไทยมีเคสใช้สเต็มเซลล์รักษาไม่ถูก จนเกิดมะเร็งร้ายแรงจากการปนเปื้อนของเซลล์ที่ได้รับ
ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “รักษาทางเลือก เรื่องจริงหรือค้ากำไร” จัดโดยคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ร่วมกับ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ว่า การค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ ในการรักษาโรคต่างๆ มีมากว่า 10 ปีแล้ว โดยมีการนำสเต็มเซลล์จากเซลล์ตัวอ่อนของทารก หรือเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ของคน มาทำการศึกษา ซึ่งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ขอแสดงจุดยืนว่า การนำสเต็มเซลล์มารักษา มีเพียงการนำสเต็มเซลล์จากเซลล์ไขกระดูกของญาติผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้รักษาผู้ป่วยเท่านั้น ทั้งนี้ โรคทางโลหิตวิทยาที่วงการแพทย์นานาชาติ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยรับรองว่าใช้สเต็มเซลล์รักษา และเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกแห้ง และโรคมะเร็งมัยยีโลมา
“ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการวิจัยในมนุษย์ที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการทางการแพทย์ทั่วโลกว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคความเสื่อมของอวัยวะ เช่น สมอง หัวใจ ไต เป็นต้น และโรคความชราได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีหลักฐานว่าสามารถช่วยยืดชีวิต ชะลอสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะในระยะยาว หรือเพื่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้ แม้จะมีรายงานการศึกษาวิจัยในคนอยู่บ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย ไม่มีข้อมูลที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพและผลดีของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในระยะยาว” ศ.นพ.เกรียง กล่าว
ศ.นพ.เกรียง กล่าวอีกว่า การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย โดยอาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด หรืออาจมีการปนเปื้อนสารเคมี เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมอื่นเข้าไป ทั้งนี้ เคยมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยคนไทยแล้วทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงตามมา เนื่องจากการปนเปื้อนของเซลล์ที่เตรียมมาอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องยังเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีความหวังมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ด้านนี้มีในปัจจุบัน จึงไม่ตอบสนองให้ทันเวลาได้ การใช้สเต็มเซลล์โดยปราศจากองค์ความรู้และมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์มารองรับ จึงมีความละเอียดอ่อนและกระทบต่อหลักการของมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย โดยไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวัง
“ราชวิทยาลัยฯเห็นว่า ไม่สมควรนำสเต็มเซลล์มาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยา หากจะนำมาใช้ในคนก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัย ที่มีโครงการวิจัยทดลองในมนุษย์ชัดเจน และต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น” ศ.นพ.เกรียง กล่าว
ศ.นพ.เกรียง ตั้งสง่า ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “รักษาทางเลือก เรื่องจริงหรือค้ากำไร” จัดโดยคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ร่วมกับ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ว่า การค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ ในการรักษาโรคต่างๆ มีมากว่า 10 ปีแล้ว โดยมีการนำสเต็มเซลล์จากเซลล์ตัวอ่อนของทารก หรือเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ของคน มาทำการศึกษา ซึ่งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ขอแสดงจุดยืนว่า การนำสเต็มเซลล์มารักษา มีเพียงการนำสเต็มเซลล์จากเซลล์ไขกระดูกของญาติผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาบางโรคมาใช้รักษาผู้ป่วยเท่านั้น ทั้งนี้ โรคทางโลหิตวิทยาที่วงการแพทย์นานาชาติ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ และสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทยรับรองว่าใช้สเต็มเซลล์รักษา และเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ ได้แก่ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกแห้ง และโรคมะเร็งมัยยีโลมา
“ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการวิจัยในมนุษย์ที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการทางการแพทย์ทั่วโลกว่า สามารถนำสเต็มเซลล์มารักษาโรคความเสื่อมของอวัยวะ เช่น สมอง หัวใจ ไต เป็นต้น และโรคความชราได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีหลักฐานว่าสามารถช่วยยืดชีวิต ชะลอสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะในระยะยาว หรือเพื่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้ แม้จะมีรายงานการศึกษาวิจัยในคนอยู่บ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระหว่างการวิจัย ไม่มีข้อมูลที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพและผลดีของการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในระยะยาว” ศ.นพ.เกรียง กล่าว
ศ.นพ.เกรียง กล่าวอีกว่า การนำสเต็มเซลล์มาใช้รักษาอาจทำให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย โดยอาจเกิดอาการแพ้ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด หรืออาจมีการปนเปื้อนสารเคมี เชื้อโรค หรือเซลล์แปลกปลอมอื่นเข้าไป ทั้งนี้ เคยมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์อย่างไม่ถูกต้องในผู้ป่วยคนไทยแล้วทำให้ผู้ป่วยเกิดเป็นโรคมะเร็งชนิดร้ายแรงตามมา เนื่องจากการปนเปื้อนของเซลล์ที่เตรียมมาอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การนำสเต็มเซลล์มาใช้อย่างไม่ถูกต้องยังเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะผู้ป่วยมีความหวังมากเกินกว่าที่องค์ความรู้ทางการแพทย์ด้านนี้มีในปัจจุบัน จึงไม่ตอบสนองให้ทันเวลาได้ การใช้สเต็มเซลล์โดยปราศจากองค์ความรู้และมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์มารองรับ จึงมีความละเอียดอ่อนและกระทบต่อหลักการของมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณ และอาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้ป่วย โดยไม่เกิดผลดีตามที่คาดหวัง
“ราชวิทยาลัยฯเห็นว่า ไม่สมควรนำสเต็มเซลล์มาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ นอกเหนือจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคทางระบบโลหิตวิทยา หากจะนำมาใช้ในคนก็ควรเป็นไปเพื่อการวิจัย ที่มีโครงการวิจัยทดลองในมนุษย์ชัดเจน และต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบรับรองการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น” ศ.นพ.เกรียง กล่าว