“สมคิด” ยันไม่มีปัญหาหากต้องรักษาการต่อเนื่อง แต่ต้องเร่งสรรหาอธิการบดีคนใหม่ จี้ สกอ.เร่งตีความเสนอทูลเกล้าฯ ตั้งอธิการฯ เหตุไม่สามารถบริหารงานตามนโยบายตนได้ เสี่ยงขัดแย้งงานบริหาร
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ชะลอการนำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) หมู่บ้านจอมบึง รวมถึงตำแหน่งกรรมการสภาฯ และนายกสภาฯ ว่า ในส่วนของตนไม่ได้มีปัญหา เพราะยังสามารถทำงานได้ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมามีหลายฝ่ายเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวว่าเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ตนเห็นว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้อง เพราะแม้ว่าจะยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ ลงมา แต่ตนก็ยังรักษาการได้จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการตีความในข้อกฎหมายประเด็นการแต่งตั้งโยกย้ายไว้หลากหลาย ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ก็เคยหารือเรื่องนี้ และเห็นว่าตำแหน่งที่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเท่านั้นที่ต้องสอบถามไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะอาจจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับการเลือกตั้ง อาทิ ตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) ส่วนตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ต้องผ่าน ครม.เพราะได้รับการสรรหาจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง
“สำหรับผมคงไม่มีปัญหาเพราะต้องรักษาการอธิการบดีต่อเนื่อง แต่ที่จะเป็นปัญหาคืออธิการบดีที่ได้รับการสรรหาใหม่ เมื่อไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา ก็ไม่สามารถเข้ามาบริหารงานตามนโยบายของตนเองได้ และอธิการบดีคนเก่าจะต้องนั่งในตำแหน่งรักษาการจนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ ซึ่งหากนโยบายของอธิการบดีคนเก่า กับคนใหม่ไม่เหมือนกัน ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งในการบริหารงานมากขึ้น เพราะรักษาการอธิการบดี ก็คงจะบริหารงานตามนโยบายเดิม” ศ.ดร.สมคิด กล่าวและว่า เท่าที่ทราบขณะนี้มีหลายมหาวิทยาลัยที่กำลังรอโปรดเกล้าฯ อยู่ใม่ใช่แค่ มธ.เท่านั้น
ศ.ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า ดังนั้น ตนจึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปดูในเรื่องของข้อกฎหมายให้แน่ชัด ว่ากรณีของการเสนอรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี ในช่วงของการยุบสภาจะต้องสอบถามไปยัง กกต.หรือ และที่ผ่านมา สกอ.ได้ส่งให้ กกต.ตีความเรื่องดังกล่าวแล้วหรือยัง หากส่งแล้วตนก็อยากจะขอให้ชี้แจงในข้อกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อให้มีมาตรฐานว่าหากมีการยุบสภา จะสามารถส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีทูลเกล้าฯ ได้หรือไม่ เพราะนี่ไม่ใช่การยุบสภาครั้งแรก และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ชะลอการนำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) หมู่บ้านจอมบึง รวมถึงตำแหน่งกรรมการสภาฯ และนายกสภาฯ ว่า ในส่วนของตนไม่ได้มีปัญหา เพราะยังสามารถทำงานได้ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมามีหลายฝ่ายเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวว่าเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ตนเห็นว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้อง เพราะแม้ว่าจะยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ ลงมา แต่ตนก็ยังรักษาการได้จนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีการตีความในข้อกฎหมายประเด็นการแต่งตั้งโยกย้ายไว้หลากหลาย ซึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ก็เคยหารือเรื่องนี้ และเห็นว่าตำแหน่งที่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเท่านั้นที่ต้องสอบถามไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะอาจจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับการเลือกตั้ง อาทิ ตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) ส่วนตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ต้องผ่าน ครม.เพราะได้รับการสรรหาจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง
“สำหรับผมคงไม่มีปัญหาเพราะต้องรักษาการอธิการบดีต่อเนื่อง แต่ที่จะเป็นปัญหาคืออธิการบดีที่ได้รับการสรรหาใหม่ เมื่อไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา ก็ไม่สามารถเข้ามาบริหารงานตามนโยบายของตนเองได้ และอธิการบดีคนเก่าจะต้องนั่งในตำแหน่งรักษาการจนกว่าจะมีการโปรดเกล้าฯ ซึ่งหากนโยบายของอธิการบดีคนเก่า กับคนใหม่ไม่เหมือนกัน ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งในการบริหารงานมากขึ้น เพราะรักษาการอธิการบดี ก็คงจะบริหารงานตามนโยบายเดิม” ศ.ดร.สมคิด กล่าวและว่า เท่าที่ทราบขณะนี้มีหลายมหาวิทยาลัยที่กำลังรอโปรดเกล้าฯ อยู่ใม่ใช่แค่ มธ.เท่านั้น
ศ.ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า ดังนั้น ตนจึงอยากให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปดูในเรื่องของข้อกฎหมายให้แน่ชัด ว่ากรณีของการเสนอรายชื่อผู้ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดี ในช่วงของการยุบสภาจะต้องสอบถามไปยัง กกต.หรือ และที่ผ่านมา สกอ.ได้ส่งให้ กกต.ตีความเรื่องดังกล่าวแล้วหรือยัง หากส่งแล้วตนก็อยากจะขอให้ชี้แจงในข้อกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อให้มีมาตรฐานว่าหากมีการยุบสภา จะสามารถส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีทูลเกล้าฯ ได้หรือไม่ เพราะนี่ไม่ใช่การยุบสภาครั้งแรก และคงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย