นักวิชาการเผย 10 เรื่องคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นในปี 2557 ทั้งตั้งองค์การอิสระ การคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพ แร่ใยหิน พลังงาน สารเคมีต่างๆ และการเดินทางที่ปลอดภัย ชี้ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการ และ ปชช.ต้องปกป้องสิทธิตัวเอง
รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อเสนอ “สิบเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่รอการเปลี่ยนแปลงในปีใหม่ 2557” ว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 10 เรื่องที่จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นในปี 2557 คือ 1.การตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผ่านการรับรองร่างจากกรรมาธิการสองสภาแล้ว เหลือการรับรองในสภานิติบัญญัติ ซึ่งเมื่อเปิดสภาจำเป็นต้องผลักดันต่อไป 2.การควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กสทช.และ อย.ที่ต้องเร่งหามาตรการควบคุมสื่อ โดยเฉพาะทีวีดาวเทียมและวิทยุชุมชน 3.การคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนจากมะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหินไครโซไทล์ ที่มีมติ ครม.เลิกใช้ตั้งแต่ปี 2554 แต่ยังไร้แนวทางปฏิบัติ
รศ.วิทยา กล่าวอีกว่า 4.ด้านพลังงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะประเด็นการบริหารงานของ ปตท.ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไทย ที่ถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติหรือบุคคลบางกลุ่ม 5.นโยบายเอฟทีเอและมาตรา 190 การค้าระหว่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เช่น เกิดการผูกขาดด้านยา 6.มาตรการควบคุมสารเคมีการเกษตร ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะรายการที่นานาชาติยกเลิกการใช้เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น สารคาบูโฟแรน, ไดโครโตฟิส อีดีเอ็นพี และ เมโธมิล 7.ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว เพื่อลดผลกระทบจากการเข้าถึงที่ไม่เสมอภาค หรือ ผลกระทบจากเมดิคัลฮับ
รศ.ดร.วิทยา กล่าวด้วยว่า 8.การคุ้มครองเด็กเล็กจากการใช้สารต้องห้าม คือ สารบีพีเอในขวดนมเด็ก 9.คุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยที่จะไม่ให้มีสารตะกั่วในสีทาบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากสารตะกั่วมีผลต่อการเจริญเติบโตในเด็ก และ 10.มาตรการด้านความปลอดภัยในการเดินทางรถสาธารณะ เช่น มาตรฐานความปลอดภัยบนท้องถนน การบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุ หรือ การชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุในรถสาธารณะ เป็นต้น ทั้งนี้ ประเด็นในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการโดยภาครัฐ และการทำให้ประชาชนตระหนักถึงการปกป้องสิทธิของตนเองด้วย
รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์ แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข้อเสนอ “สิบเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่รอการเปลี่ยนแปลงในปีใหม่ 2557” ว่า งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 10 เรื่องที่จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นในปี 2557 คือ 1.การตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผ่านการรับรองร่างจากกรรมาธิการสองสภาแล้ว เหลือการรับรองในสภานิติบัญญัติ ซึ่งเมื่อเปิดสภาจำเป็นต้องผลักดันต่อไป 2.การควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กสทช.และ อย.ที่ต้องเร่งหามาตรการควบคุมสื่อ โดยเฉพาะทีวีดาวเทียมและวิทยุชุมชน 3.การคุ้มครองความปลอดภัยประชาชนจากมะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหินไครโซไทล์ ที่มีมติ ครม.เลิกใช้ตั้งแต่ปี 2554 แต่ยังไร้แนวทางปฏิบัติ
รศ.วิทยา กล่าวอีกว่า 4.ด้านพลังงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะประเด็นการบริหารงานของ ปตท.ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไทย ที่ถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติหรือบุคคลบางกลุ่ม 5.นโยบายเอฟทีเอและมาตรา 190 การค้าระหว่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เช่น เกิดการผูกขาดด้านยา 6.มาตรการควบคุมสารเคมีการเกษตร ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะรายการที่นานาชาติยกเลิกการใช้เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น สารคาบูโฟแรน, ไดโครโตฟิส อีดีเอ็นพี และ เมโธมิล 7.ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว เพื่อลดผลกระทบจากการเข้าถึงที่ไม่เสมอภาค หรือ ผลกระทบจากเมดิคัลฮับ
รศ.ดร.วิทยา กล่าวด้วยว่า 8.การคุ้มครองเด็กเล็กจากการใช้สารต้องห้าม คือ สารบีพีเอในขวดนมเด็ก 9.คุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยที่จะไม่ให้มีสารตะกั่วในสีทาบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากสารตะกั่วมีผลต่อการเจริญเติบโตในเด็ก และ 10.มาตรการด้านความปลอดภัยในการเดินทางรถสาธารณะ เช่น มาตรฐานความปลอดภัยบนท้องถนน การบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุ หรือ การชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุในรถสาธารณะ เป็นต้น ทั้งนี้ ประเด็นในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการโดยภาครัฐ และการทำให้ประชาชนตระหนักถึงการปกป้องสิทธิของตนเองด้วย