กรมอนามัยย้ำเตือนอาตี๋อาหมวย เลือกซื้อของเซ่นไหว้ตรุษจีนในตลาดที่สด สะอาด ปลอดภัย พร้อมแนะวิธีเลือกซื้อและจัดการวัตถุดิบให้สะอาดก่อนปรุง เผยเมนูแนะนำของดัดแปลงจากของไหว้เพื่อสุขอนามัยที่ดี
วันนี้ (27 ม.ค.) ที่ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กทม. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเปิดกิจกรรมรณรงค์ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีชาวไทยเชื้อสายจีนออกมาจับจ่ายสินค้าเพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ทำให้ตลาดหรือแหล่งเลือกซื้อสินค้าคึกคักเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ประชาชนต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมอนามัยได้ดำเนินการดูแลคุมเข้มความสะอาดปลอดภัยภายในตลาด โดยเฉพาะตลาดที่ผ่านการประเมินรับรองเป็นตลาดสดน่าซื้อ ปี 2556 จากกรมอนามัยจำนวน 1,353 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.96 โดยให้ผู้ค้าภายในตลาดมีสุขอนามัยที่ดี อาทิ ล้างทำความสะอาดแผง เขียง เป็นประจำทุกวันตามหลักสุขาภิบาล แต่งกายสะอาด โดยใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาดและสวมหมวกหรือเน็ตคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าภายในตลาด
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า การเลือกซื้ออาหารสำหรับเซ่นไหว้ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเป็ด ไก่ ต้องสดใหม่ เนื้อแน่นสะอาด ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น ต้องปรุงให้สุกก่อนกินด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ไม่ควรกินแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ สำหรับเนื้อหมูต้องเลือกเนื้อหมูที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เมื่อกดดูเนื้อจะนุ่มไม่กระด้าง และต้องไม่มีเม็ดสาคูหรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานว่าถูกสุขอนามัย ผักและผลไม้สดต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 5 นาที อาทิ 1.ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร 2.ใช้น้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร) 3.ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร และ 4.ใช้น้ำยาล้างผัก เป็นต้น แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก็สามารถลดหรือขจัดพิษต่างๆ ในผักสดออกได้ร้อยละ 80-90 นอกจากนี้ ในการกินผักควรใช้วิธีการนึ่ง ลวกก่อนนำมาผัดหรือผ่านความร้อนด้วยเวลาอันสั้น เพื่อไม่ให้อาหารเสียคุณค่าทางอาหาร ส่วนอาหารประเภทหมักดอง เช่น หน่อไม้จีน อาจมีสารฟอกขาวปนเปื้อน ควรนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ รอบเช่นเดียวกัน
“อาหารบางชนิดสามารถเก็บไว้กินได้นานโดยไม่บูดเสีย แต่อาหารจำพวกเป็ดไก่จะบูดเสียได้ง่ายกว่าชนิดอื่น วิธีการจัดการกับเป็ด ไก่สามารถนำมาปรุงประกอบเป็นอาหารชนิดต่างๆ ได้ ซึ่งควรปรุงด้วยการต้ม นึ่ง อบแทนการทอดหรือผัด เลี่ยงเนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน หมูสามชั้น เพื่อไม่ให้รับพลังงานจากอาหารที่สูงเกินไป โดยสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยการเติมผักและผลไม้ได้ เช่น เมนูสลัดไก่ฉีก ยำเป็ด/ไก่สมุนไพร เป็นต้น ที่สำคัญขณะประกอบอาหาร ไม่ควรใช้มือที่เปื้อนมาจับจมูก ตา ปาก และหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มูลสัตว์เปื้อน ควรแยกเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกและอาหารดิบ หรือเขียงผักผลไม้ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน เพื่อสร้างสุขที่ดีในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ ควรระมัดระวังไม่ให้เศษธูปปนเปื้อนลงไปในของไหว้ หรือนำมาล้างก่อนปรุงประกอบอาหาร เพื่อป้องกันสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
วันนี้ (27 ม.ค.) ที่ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กทม. นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเปิดกิจกรรมรณรงค์ตลาดสะอาด อาหารปลอดภัย ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีชาวไทยเชื้อสายจีนออกมาจับจ่ายสินค้าเพื่อเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ทำให้ตลาดหรือแหล่งเลือกซื้อสินค้าคึกคักเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ประชาชนต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาด ปลอดภัย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมอนามัยได้ดำเนินการดูแลคุมเข้มความสะอาดปลอดภัยภายในตลาด โดยเฉพาะตลาดที่ผ่านการประเมินรับรองเป็นตลาดสดน่าซื้อ ปี 2556 จากกรมอนามัยจำนวน 1,353 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.96 โดยให้ผู้ค้าภายในตลาดมีสุขอนามัยที่ดี อาทิ ล้างทำความสะอาดแผง เขียง เป็นประจำทุกวันตามหลักสุขาภิบาล แต่งกายสะอาด โดยใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาดและสวมหมวกหรือเน็ตคลุมผม ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหาร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่เลือกซื้อสินค้าภายในตลาด
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า การเลือกซื้ออาหารสำหรับเซ่นไหว้ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเป็ด ไก่ ต้องสดใหม่ เนื้อแน่นสะอาด ไม่มีสีคล้ำ ไม่มีจ้ำเลือด ไม่มีการทาสีตามตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น ต้องปรุงให้สุกก่อนกินด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ไม่ควรกินแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ สำหรับเนื้อหมูต้องเลือกเนื้อหมูที่มีสีแดงตามธรรมชาติ เมื่อกดดูเนื้อจะนุ่มไม่กระด้าง และต้องไม่มีเม็ดสาคูหรือตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ได้รับรองมาตรฐานว่าถูกสุขอนามัย ผักและผลไม้สดต้องล้างด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างน้ำหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 5 นาที อาทิ 1.ใช้เกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนต่อน้ำ 4 ลิตร 2.ใช้น้ำส้มสายชู (ผสมน้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร) 3.ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร และ 4.ใช้น้ำยาล้างผัก เป็นต้น แล้วจึงนำผักสดมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก็สามารถลดหรือขจัดพิษต่างๆ ในผักสดออกได้ร้อยละ 80-90 นอกจากนี้ ในการกินผักควรใช้วิธีการนึ่ง ลวกก่อนนำมาผัดหรือผ่านความร้อนด้วยเวลาอันสั้น เพื่อไม่ให้อาหารเสียคุณค่าทางอาหาร ส่วนอาหารประเภทหมักดอง เช่น หน่อไม้จีน อาจมีสารฟอกขาวปนเปื้อน ควรนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ รอบเช่นเดียวกัน
“อาหารบางชนิดสามารถเก็บไว้กินได้นานโดยไม่บูดเสีย แต่อาหารจำพวกเป็ดไก่จะบูดเสียได้ง่ายกว่าชนิดอื่น วิธีการจัดการกับเป็ด ไก่สามารถนำมาปรุงประกอบเป็นอาหารชนิดต่างๆ ได้ ซึ่งควรปรุงด้วยการต้ม นึ่ง อบแทนการทอดหรือผัด เลี่ยงเนื้อสัตว์ติดหนัง ติดมัน หมูสามชั้น เพื่อไม่ให้รับพลังงานจากอาหารที่สูงเกินไป โดยสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการด้วยการเติมผักและผลไม้ได้ เช่น เมนูสลัดไก่ฉีก ยำเป็ด/ไก่สมุนไพร เป็นต้น ที่สำคัญขณะประกอบอาหาร ไม่ควรใช้มือที่เปื้อนมาจับจมูก ตา ปาก และหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มูลสัตว์เปื้อน ควรแยกเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกและอาหารดิบ หรือเขียงผักผลไม้ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน เพื่อสร้างสุขที่ดีในการประกอบอาหาร นอกจากนี้ ควรระมัดระวังไม่ให้เศษธูปปนเปื้อนลงไปในของไหว้ หรือนำมาล้างก่อนปรุงประกอบอาหาร เพื่อป้องกันสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว