“อ๋อย” ฝากชุมชน ผู้ปกครอง ร่วมกันเจรจาอย่าให้มีการปิดสถานศึกษาอีก ระบุที่ผ่านมาในภาคใต้มีวิทยาลัยอาชีวะ 46 แห่ง จาก 80 แห่งปิดเรียน ในจำนวนนี้ปิดยกจังหวัดถึง 6 จังหวัด ขณะที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ แม้จะเปิดเรียนแล้วแต่ยังขาดเรียนถึง 15% หวั่นกระทบการเรียนการสอบ ย้ำ ร.ร.ร่วมจัดกิจกรรมสนับสนุนการเลือกตั้ง ระบุหาก นร.คนใดไม่เต็มใจเข้าร่วมก็ทำได้
วันนี้ (23 ม.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รักษาการ รมว.ศธ.) เปิดเผยถึงผลกระทบทางด้านการศึกษาที่เกิดจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ว่า ได้รับรายงานว่าสถานศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีการปิดเรียนการสอนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ปิดเรียนจำนวนมากอย่างน่าตกใจ ถึง 46 แห่ง จากทั้งหมด 80 แห่ง โดยมี 6 จังหวัดที่ปิดเรียนยกจังหวัด คือ จ.ชุมพร ปิด 7 วิทยาลัย, สุราษฎร์ฯ 7 วิทยาลัย, นครศรีธรรมราช 11 วิทยาลัย, พัทลุง 6 วิทยาลัย, สงขลา 5 วิทยาลัย, กระบี่ 5 วิทยาลัย และ จ.สตูล 3 วิทยาลัย ส่วนจังหวัดที่ปิดเรียนบางวิทยาลัย คือ จ.ตรัง ปิด 2 วิทยาลัย จากทั้งหมด 7 วิทยาลัย ส่วนสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ยังไม่ได้รายงานข้อมูลที่ชัดเจนมา ทราบแต่ว่า จ.ชุมพร ปิดสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ยกจังหวัดหลายร้อยแห่ง ขณะที่สถานศึกษาเอกชนใน 3 จ.ชายแดนภาคใต้ 280 โรง เปิดเรียนตามปกติแล้ว ทั้งนี้ ในส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร สถานศึกษาทุกแห่งเปิดเรียนครบแล้ว แต่ยังมีผลกระทบกับการเดินทางของนักเรียน ครู และบุคลากร แต่พบว่ามีนักเรียน นักศึกษาขาดเรียนประมาณ 15% ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็ก
สำหรับสถานศึกษาในภาคใต้ โรงเรียน และวิทยาลัยรายงานเข้ามาว่า สาเหตุที่ต้องปิดเรียน เพราะถูกข่มขู่บังคับให้ปิด เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัยชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครองช่วยกันพูดเจรจา ยอมให้สถานศึกษาเปิดเรียนได้ แต่ ศธ.คงไปเจรจากับกปปส.ไม่ได้ เพราะเท่าที่ดูในตอนนี้ กปปส.จะไม่ยอมเจรจากับใคร กปปส.คำนึงถึงแต่ว่าต้องการเปลี่ยนระบบให้ได้ ไม่ว่าจะเกิดความสูญเสียและเสียหายแค่ไหน รวมถึงความเสียหายต่อการศึกษาด้วย” รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมรับทราบแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง ศธ.ในฐานะหน่วยสนับสนุนการเลือกตั้งมีภารกิจที่ต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักเรียน นักศึกษา และขอความร่วมมือให้หน่วยงานและสถานศึกษาในพื้นที่เขตที่มีการเลือกตั้งให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมาจะมีกรณีโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย นักเรียนรวมตัวพร้อมเป่านกหวีดประท้วงผู้อำนวยการโรงเรียนที่ให้นักเรียนไปเดินรณรงค์การเลือกตั้งโดยที่นักเรียนไม่เต็มใจ นั้น โดยปกติหากมีการจัดการเลือกตั้งก็เหมือนเป็นประเพณีที่โรงเรียนก็จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้และสร้างความเข้าใจตามระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็หากนักเรียนคนใดไม่สมัครใจเข้าร่วมก็สามารถทำได้
วันนี้ (23 ม.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รักษาการ รมว.ศธ.) เปิดเผยถึงผลกระทบทางด้านการศึกษาที่เกิดจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ว่า ได้รับรายงานว่าสถานศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีการปิดเรียนการสอนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ปิดเรียนจำนวนมากอย่างน่าตกใจ ถึง 46 แห่ง จากทั้งหมด 80 แห่ง โดยมี 6 จังหวัดที่ปิดเรียนยกจังหวัด คือ จ.ชุมพร ปิด 7 วิทยาลัย, สุราษฎร์ฯ 7 วิทยาลัย, นครศรีธรรมราช 11 วิทยาลัย, พัทลุง 6 วิทยาลัย, สงขลา 5 วิทยาลัย, กระบี่ 5 วิทยาลัย และ จ.สตูล 3 วิทยาลัย ส่วนจังหวัดที่ปิดเรียนบางวิทยาลัย คือ จ.ตรัง ปิด 2 วิทยาลัย จากทั้งหมด 7 วิทยาลัย ส่วนสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ยังไม่ได้รายงานข้อมูลที่ชัดเจนมา ทราบแต่ว่า จ.ชุมพร ปิดสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ยกจังหวัดหลายร้อยแห่ง ขณะที่สถานศึกษาเอกชนใน 3 จ.ชายแดนภาคใต้ 280 โรง เปิดเรียนตามปกติแล้ว ทั้งนี้ ในส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร สถานศึกษาทุกแห่งเปิดเรียนครบแล้ว แต่ยังมีผลกระทบกับการเดินทางของนักเรียน ครู และบุคลากร แต่พบว่ามีนักเรียน นักศึกษาขาดเรียนประมาณ 15% ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็ก
สำหรับสถานศึกษาในภาคใต้ โรงเรียน และวิทยาลัยรายงานเข้ามาว่า สาเหตุที่ต้องปิดเรียน เพราะถูกข่มขู่บังคับให้ปิด เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัยชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครองช่วยกันพูดเจรจา ยอมให้สถานศึกษาเปิดเรียนได้ แต่ ศธ.คงไปเจรจากับกปปส.ไม่ได้ เพราะเท่าที่ดูในตอนนี้ กปปส.จะไม่ยอมเจรจากับใคร กปปส.คำนึงถึงแต่ว่าต้องการเปลี่ยนระบบให้ได้ ไม่ว่าจะเกิดความสูญเสียและเสียหายแค่ไหน รวมถึงความเสียหายต่อการศึกษาด้วย” รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมรับทราบแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง ศธ.ในฐานะหน่วยสนับสนุนการเลือกตั้งมีภารกิจที่ต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตยของนักเรียน นักศึกษา และขอความร่วมมือให้หน่วยงานและสถานศึกษาในพื้นที่เขตที่มีการเลือกตั้งให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมาจะมีกรณีโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย นักเรียนรวมตัวพร้อมเป่านกหวีดประท้วงผู้อำนวยการโรงเรียนที่ให้นักเรียนไปเดินรณรงค์การเลือกตั้งโดยที่นักเรียนไม่เต็มใจ นั้น โดยปกติหากมีการจัดการเลือกตั้งก็เหมือนเป็นประเพณีที่โรงเรียนก็จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้และสร้างความเข้าใจตามระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก็หากนักเรียนคนใดไม่สมัครใจเข้าร่วมก็สามารถทำได้