นักวิจัยชี้ผลไม้ไทยมีประโยชน์เพียบ ทั้งใยอาหาร คาโรตินอยด์ ฟลาโวนอยด์ กรดฟินอลิก ช่วยลดเสี่ยงมะเร็ง คุมน้ำตาลในเลือด ช่วยอินซูลินเป็นปกติ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านสารอนุมูลอิสระ แนะกินแบบสดๆ ดีกว่าแปรรูป ในปริมาณเหมาะสม ยันกินในรูปแบบผลิตเสริมสุขภาพได้ประโยชน์เช่นกัน
ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน บุณยะประภัศร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวในงานประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 1 เรื่อง “คุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติเชิงสุขภาพของผลไม้ไทย” จัดโดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การจะมีสุขภาพที่ดีต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกามีการแนะนำให้บริโภคผลไม้วันละ 2 ถ้วยครึ่ง เนื่องจากผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งผลไม้ไทยแม้บางชนิดอาจมีสีสันไม่สวยเท่าผลไม้ต่างประเทศ แต่ก็อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมีที่สูงมากไม่แพ้ผลไม้จากต่างประเทศราคาแพงเลย
ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวอีกว่า สารพฤกษเคมีที่พบได้ในผลไม้ไทยมีทั้ง 1.ใยอาหาร มีประโยชน์ในการขับถ่าย ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้เร็วจึงลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดอนุมูลอิสระ ทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน 2.คาโรตินอยด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคตาในผู้สูงอายุ เนื่องจากช่วยกรองแสงยูวีสีน้ำเงิน ลดความเสี่ยงในการเป็นต่อกระจก 3.ฟลาโวนอยด์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ฟลาโวนอยด์กลุ่มไอโซฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเพศหญิง กลุ่มแคทธิชิน ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งมีสีแดงยังช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันเซลล์ประสาท และบำรุงสายตา
ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวด้วยว่า 4.กรดฟินอลิค มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นเอนไซม์ที่ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ลดปริมาณออกซิไดซ์แอลดีแอล ต้านการก่อกลายพันธุ์ 5.กรดอินทรีย์ เป็นสารที่ให้รสเปรี้ยว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 6.เทอร์ปีน เป็นสารที่ให้กลิ่นหอมมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และ 7.พรีไบโอติก ประกอบด้วย อินนูลิน และโอลิโกแซคคาไรด์ ช่วยให้แบคทีเรียก่อโรคและมีประโยชน์สมดุลกัน และทำให้เกิดเมตาโบไลท์ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
"ผลไม้ที่ควรรับประทาน เนื่องจากมีสารพฤกษเคมีเหล่านี้จำนวนมากคือ ส้ม ส้มโอ สับปะรด กล้วย ทับทิม มะละกอ มะเฟือง ทุเรียน มังคุด มะม่วง ฝรั่ง น้อยหน่า และแก้วมังกร ส่วนผลไม้บางอย่างที่ให้พลังงานและน้ำตาลสูงอย่างทุเรียน จนกังวลว่าจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นไปอีกนั้น มีงานวิจัยชี้ว่าการดูดซึมน้ำตาลจากการบริโภคผลไม้แตกต่างกับการบริโภคของหวาน เพราะผลไม้มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน” ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องกินผลไม้มากน้อยเพียงไรจึงจะได้รับประโยชน์ตามการวิจัย เพราะปริมาณในหลอดทดลองกับในคนต่างกัน ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวว่า การหาความสัมพันธ์ยังเป็นเรื่องอีกไกล แต่การวิจัยจะมีอยู่หลายระดับ ทั้งในหลอดทดลอง ในสัตว์ และในคน ซึ่งพื้นฐานจะต้องวิจัยในหลอดทดลองก่อน เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ผลไม้บางชนิดก็มีการวิจัยในคนแล้วว่ามีประโยชน์จริงๆ เช่น ส้ม ป้องกันเส้นเลือดเปราะ กล้วย ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มะเฟือง ยับยั้งการอักเสบและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ดีทั้งในหลอดทดลองและการศึกษาในผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนปริมาณการกินแนะนำว่าควรกินให้เหมาะสม และกินแบบสดๆ ไม่ผ่านการแปรรูปซึ่งต้องผ่านความร้อน จะส่งผลให้สารเคมีในผลไม้เหล่านี้เปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนสภาพไป ก็จะไม่ได้รับประโยชน์เท่ากินสดๆ
เมื่อถามว่ากินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากผลไม้จะได้รับประโยชน์เหมือนกันหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวว่า การกินในรูปแบบเสริมอาหาร จริงๆ จะมีงานวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพอยู่แล้ว เช่น มังคุด พบว่าน้ำคั้นเนื้อมังคุดมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และป้องกันการตายของเซลล์ประสาทได้ เป็นต้น
ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน บุณยะประภัศร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวในงานประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 1 เรื่อง “คุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติเชิงสุขภาพของผลไม้ไทย” จัดโดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การจะมีสุขภาพที่ดีต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกามีการแนะนำให้บริโภคผลไม้วันละ 2 ถ้วยครึ่ง เนื่องจากผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งผลไม้ไทยแม้บางชนิดอาจมีสีสันไม่สวยเท่าผลไม้ต่างประเทศ แต่ก็อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมีที่สูงมากไม่แพ้ผลไม้จากต่างประเทศราคาแพงเลย
ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวอีกว่า สารพฤกษเคมีที่พบได้ในผลไม้ไทยมีทั้ง 1.ใยอาหาร มีประโยชน์ในการขับถ่าย ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล ไขมัน และคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้เร็วจึงลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดอนุมูลอิสระ ทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน 2.คาโรตินอยด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคตาในผู้สูงอายุ เนื่องจากช่วยกรองแสงยูวีสีน้ำเงิน ลดความเสี่ยงในการเป็นต่อกระจก 3.ฟลาโวนอยด์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ฟลาโวนอยด์กลุ่มไอโซฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเพศหญิง กลุ่มแคทธิชิน ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งมีสีแดงยังช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันเซลล์ประสาท และบำรุงสายตา
ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวด้วยว่า 4.กรดฟินอลิค มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นเอนไซม์ที่ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ลดปริมาณออกซิไดซ์แอลดีแอล ต้านการก่อกลายพันธุ์ 5.กรดอินทรีย์ เป็นสารที่ให้รสเปรี้ยว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 6.เทอร์ปีน เป็นสารที่ให้กลิ่นหอมมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และ 7.พรีไบโอติก ประกอบด้วย อินนูลิน และโอลิโกแซคคาไรด์ ช่วยให้แบคทีเรียก่อโรคและมีประโยชน์สมดุลกัน และทำให้เกิดเมตาโบไลท์ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
"ผลไม้ที่ควรรับประทาน เนื่องจากมีสารพฤกษเคมีเหล่านี้จำนวนมากคือ ส้ม ส้มโอ สับปะรด กล้วย ทับทิม มะละกอ มะเฟือง ทุเรียน มังคุด มะม่วง ฝรั่ง น้อยหน่า และแก้วมังกร ส่วนผลไม้บางอย่างที่ให้พลังงานและน้ำตาลสูงอย่างทุเรียน จนกังวลว่าจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นไปอีกนั้น มีงานวิจัยชี้ว่าการดูดซึมน้ำตาลจากการบริโภคผลไม้แตกต่างกับการบริโภคของหวาน เพราะผลไม้มีใยอาหารหรือไฟเบอร์ ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดมีไม่เท่ากัน” ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องกินผลไม้มากน้อยเพียงไรจึงจะได้รับประโยชน์ตามการวิจัย เพราะปริมาณในหลอดทดลองกับในคนต่างกัน ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวว่า การหาความสัมพันธ์ยังเป็นเรื่องอีกไกล แต่การวิจัยจะมีอยู่หลายระดับ ทั้งในหลอดทดลอง ในสัตว์ และในคน ซึ่งพื้นฐานจะต้องวิจัยในหลอดทดลองก่อน เพราะค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ผลไม้บางชนิดก็มีการวิจัยในคนแล้วว่ามีประโยชน์จริงๆ เช่น ส้ม ป้องกันเส้นเลือดเปราะ กล้วย ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มะเฟือง ยับยั้งการอักเสบและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ดีทั้งในหลอดทดลองและการศึกษาในผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนปริมาณการกินแนะนำว่าควรกินให้เหมาะสม และกินแบบสดๆ ไม่ผ่านการแปรรูปซึ่งต้องผ่านความร้อน จะส่งผลให้สารเคมีในผลไม้เหล่านี้เปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนสภาพไป ก็จะไม่ได้รับประโยชน์เท่ากินสดๆ
เมื่อถามว่ากินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากผลไม้จะได้รับประโยชน์เหมือนกันหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทวัน กล่าวว่า การกินในรูปแบบเสริมอาหาร จริงๆ จะมีงานวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพอยู่แล้ว เช่น มังคุด พบว่าน้ำคั้นเนื้อมังคุดมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และป้องกันการตายของเซลล์ประสาทได้ เป็นต้น