“หมอประดิษฐ” ชิ่งหนีประชุมบอร์ด สปสช. จนต้องโหวตให้ “หมอจรัล” ทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน พบวาระประชุมหลักชื่นชมผลงานองค์กร ได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจาก กสม. ประจำปี 56 เผยช่วยแก้ไขข้อร้องเรียนประชาชนได้แล้วเสร็จใน 30 วัน ถึง 97%
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ซึ่งเดิมทีมีกำหนดการเดินทางมาเป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมได้รับทราบวาระที่ สปสช.ได้รับรางวัลองค์กรที่มีผลงานดีเด่น ด้านการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2556 ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทั้งนี้ สปสช.นอกจากการดำเนินการสร้างและพัฒนาหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนแล้ว ยังมีหน้าที่ตามมาตรา 26 (8) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สนับสนุนให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิ เพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิ เข้าถึงสิทธิ และได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย หน้าที่ตามมาตรา 41 ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ และหน้าที่ตามมาตรา 18 (4) ในการจ่ายเงินช่วยเหลือกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขด้วย
นพ.วินัยกล่าวอีกว่า ผลงานเด่นของสปสช.คือ การจัดการกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์แบบครบวงจร โดย สปสช.จัดช่องทางให้บริการการสอบถามข้อมูลสิทธิประโยชน์ ให้คำแนะนำในการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน ประสานงานแก้ไขปัญหาและคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้รับบริการและรับฟังเสียงจากลูกค้าที่ครอบคลุมทุกจังหวัด ได้แก่ โทรศัพท์สายด่วน สปสช.1330 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน, สปสช.สาขาเขต13 เขต, สปสช.สาขาจังหวัด 77 จังหวัด, หน่วยรับเรื่องอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน, ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาล, ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน และหน่วยงานอื่นที่ประสานเชื่อมต่อข้อมูลเรื่องร้องเรียน เช่น สายด่วน 1111, สำนักราชเลขา, ศูนย์ดำรงธรรม เป็นต้น โดยสามารถแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ สูงถึงร้อยละ 97 และผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การจัดการคุ้มครองสิทธิประชาชนในภาวะวิกฤต สปสช.ได้เพิ่มช่องทางเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพ ผ่านโซเชียลมีเดีย ผ่านสื่อบุคคล และเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้ประสบภัยที่เป็นโรคเรื้อรังได้รับทราบข้อมูล ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง
นพ.วินัยกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา สปสช.ได้รับการประเมินจากโครงการพัฒนารูปแบบกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาผู้บริโภคในอาเซียน ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (ASEAN Committee on Consumer Protection : ACCP) ให้ดำเนินการโครงการดังกล่าว และได้เข้าประเมินการคุ้มครองสิทธิของ สปสช. พบว่า กระบวนการการรับเรื่องร้องเรียนของ สปสช. ปัจจุบันดีในระดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน สำหรับแผนการทำงานในอนาคตนั้น สปสช. ได้ร่วมสนับสนุนข้อมูลและร่วมประชุมแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย คณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาผู้บริโภคในอาเซียน โดยเป็นการศึกษารูปแบบที่เป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคในภูมิภาคอาเชียน ซึ่ง สปสช.ได้รับการเสนอให้เป็นแบบอย่างที่ดีในจัดการกับเรื่องร้องเรียนด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สปสช.เคยได้รับคัดเลือกรับรางวัลกองทุนหมุนเวียนดีเด่น จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มาตั้งแต่ปี 2551-2555 และในปี 2556 ก็ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลกองทุนหมุนเวียนเกียรติยศ ซึ่งคัดเลือกจากกองทุนที่ได้รับรางวัลติดต่อกัน 5 ปีด้วย
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุมแทน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ซึ่งเดิมทีมีกำหนดการเดินทางมาเป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมได้รับทราบวาระที่ สปสช.ได้รับรางวัลองค์กรที่มีผลงานดีเด่น ด้านการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2556 ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทั้งนี้ สปสช.นอกจากการดำเนินการสร้างและพัฒนาหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนแล้ว ยังมีหน้าที่ตามมาตรา 26 (8) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สนับสนุนให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิ เพื่อให้ประชาชนรับรู้สิทธิ เข้าถึงสิทธิ และได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย หน้าที่ตามมาตรา 41 ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ และหน้าที่ตามมาตรา 18 (4) ในการจ่ายเงินช่วยเหลือกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขด้วย
นพ.วินัยกล่าวอีกว่า ผลงานเด่นของสปสช.คือ การจัดการกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์แบบครบวงจร โดย สปสช.จัดช่องทางให้บริการการสอบถามข้อมูลสิทธิประโยชน์ ให้คำแนะนำในการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน ประสานงานแก้ไขปัญหาและคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้รับบริการและรับฟังเสียงจากลูกค้าที่ครอบคลุมทุกจังหวัด ได้แก่ โทรศัพท์สายด่วน สปสช.1330 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน, สปสช.สาขาเขต13 เขต, สปสช.สาขาจังหวัด 77 จังหวัด, หน่วยรับเรื่องอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน, ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาล, ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน และหน่วยงานอื่นที่ประสานเชื่อมต่อข้อมูลเรื่องร้องเรียน เช่น สายด่วน 1111, สำนักราชเลขา, ศูนย์ดำรงธรรม เป็นต้น โดยสามารถแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ สูงถึงร้อยละ 97 และผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การจัดการคุ้มครองสิทธิประชาชนในภาวะวิกฤต สปสช.ได้เพิ่มช่องทางเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพ ผ่านโซเชียลมีเดีย ผ่านสื่อบุคคล และเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้ประสบภัยที่เป็นโรคเรื้อรังได้รับทราบข้อมูล ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง
นพ.วินัยกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา สปสช.ได้รับการประเมินจากโครงการพัฒนารูปแบบกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาผู้บริโภคในอาเซียน ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (ASEAN Committee on Consumer Protection : ACCP) ให้ดำเนินการโครงการดังกล่าว และได้เข้าประเมินการคุ้มครองสิทธิของ สปสช. พบว่า กระบวนการการรับเรื่องร้องเรียนของ สปสช. ปัจจุบันดีในระดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน สำหรับแผนการทำงานในอนาคตนั้น สปสช. ได้ร่วมสนับสนุนข้อมูลและร่วมประชุมแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย คณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาผู้บริโภคในอาเซียน โดยเป็นการศึกษารูปแบบที่เป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคในภูมิภาคอาเชียน ซึ่ง สปสช.ได้รับการเสนอให้เป็นแบบอย่างที่ดีในจัดการกับเรื่องร้องเรียนด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สปสช.เคยได้รับคัดเลือกรับรางวัลกองทุนหมุนเวียนดีเด่น จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มาตั้งแต่ปี 2551-2555 และในปี 2556 ก็ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลกองทุนหมุนเวียนเกียรติยศ ซึ่งคัดเลือกจากกองทุนที่ได้รับรางวัลติดต่อกัน 5 ปีด้วย