เลขาธิการ ก.ค.ศ.เผยมีครูผู้ช่วยร้องทุกข์มายัง ก.ค.ศ.187 ราย เบื้องต้นพบผู้ร้องทุกข์ได้รับการดำเนินการจากเขตพื้นที่ทั้งถูกและไม่ถูกตามขั้นตอน อนุ ก.ค.ศ.วิสามัญอุทธรณ์ฯ เตรียมเสนอ 3 แนวทางพิจารณาคำร้องทุกข์ให้บอร์ด ก.ค.ศ.พิจารณาอีกครั้ง ยันไม่ใช่มวยล้มต้มคนดูทำตามขั้นตอนกฎหมาย ระบุเบื้องต้นพบ 50-60 รายเข้าข่ายเขตพื้นที่ไม่ทำตามขั้นตอน
นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิาการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการร้องทุกข์ของผู้ที่สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ หรือเหตุจำเป็น (ว 12) จำนวน 344 ราย ตามรายชื่อของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ถูกให้ออกจากราชการจากกรณีปัญหาการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการตำแหน่งครูผู้ช่วยฯ ว่า ผู้ที่สอบบรรจุได้ 344รายนั้น ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง จำนวน 262 ราย ถูกสั่งให้ออกจากราชการ 188 รายซึ่งในจำนวนนี้ได้มีการร้องทุกข์ต่อสำนักงาน ก.ค.ศ.จำนวน 187 ราย อยู่ระหว่างการดำเนินการของเขตพื้นที่การศึกษา 62 ราย ยังไม่ได้ดำเนินการ 8 ราย และขอลาออกจากราชการ 4 ราย ทั้งนี้ เรื่องการร้องทุกข์นั้นได้มีการเสนอเรื่องให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ที่มีนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาแล้วบางส่วน พบว่าผู้ที่ร้องทุกข์มามีทั้งที่เขตพื้นที่การศึกษาได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนและดำเนินการไม่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องนำเสนอผลการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้พิจารณาในนัดหน้า โดยการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯนั้นเป็นไปตามมติของที่ประชุม ก.ค. ศ.ที่ได้เร่งรัดให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ด้าน นายสามารถ ข่าวดี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สำนักงาน ก.ค.ศ. กล่าวว่า การพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ จะพิจารณารายละเอียดในคำร้องทุกข์ว่า ฟังขึ้นหรือไม่ขึ้นจะมี 3 แนวทาง ได้แก่ 1. หากเห็นว่าครูผู้ช่วยทุจริตการสอบคัดเลือกสอดคล้องกับสำนวนข้อสรุปของเขต พื้นที่การศึกษาก็จะยกคำร้องทุกข์ แต่ครูผู้ช่วยสามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ 2. หากพิจารณาแล้วเห็นต่างว่าไม่ได้ทุจริตตามสำนวนของเขตพื้นที่การศึกษาคำ ร้องทุกข์ก็จะฟังขึ้นและต้องให้ครูผู้ช่วยกลับเข้ารับราชการ และ 3. หากเห็นว่ากระบวนการดำเนินการสั่งให้ออกไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายถือ ว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้นบางส่วนจะต้องมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้กลับเข้า รับราชการก่อนและให้ดำเนินการให้ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีการทุจริตก็ต้องให้ออกจากราชการอีกรอบหนึ่ง โดยในรายที่เข้าสู่การพิจารณา อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ แล้วมี 3 รายที่เขตพื้นที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
“อ.ก.ค .ศ.วิสามัญฯ บางส่วนเห็นว่าแม้ที่ประชุมก.ค.ศ.จะมอบให้มาดำเนินการเรื่องนี้ แล้วแต่ก็ควรเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะมีอะไรทักท้วงหรือไม่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและสังคมอาจจะมองว่าเป็นมวยล้มต้มคนดูได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ทุกอย่างพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฎในสำนวนการดำเนิน การสั่งให้ออก หากเขาไม่ทุจริตก็ควรได้รับความเป็นธรรมคือได้กลับเข้ารับราชการ” ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกล่าวและว่า ส่วน 187 รายที่ได้ร้องทุกข์มานั้นได้พิจารณาข้อมูลเสร็จหมดแล้วรอเสนอ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ พิจารณา โดยในเบื้องต้นพบว่ามีประมาณ 50-60 รายที่ถูกให้ออกจากราชการโดยดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นของกฎหมาย
นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิาการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการร้องทุกข์ของผู้ที่สอบบรรจุครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ หรือเหตุจำเป็น (ว 12) จำนวน 344 ราย ตามรายชื่อของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่ถูกให้ออกจากราชการจากกรณีปัญหาการทุจริตการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการตำแหน่งครูผู้ช่วยฯ ว่า ผู้ที่สอบบรรจุได้ 344รายนั้น ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง จำนวน 262 ราย ถูกสั่งให้ออกจากราชการ 188 รายซึ่งในจำนวนนี้ได้มีการร้องทุกข์ต่อสำนักงาน ก.ค.ศ.จำนวน 187 ราย อยู่ระหว่างการดำเนินการของเขตพื้นที่การศึกษา 62 ราย ยังไม่ได้ดำเนินการ 8 ราย และขอลาออกจากราชการ 4 ราย ทั้งนี้ เรื่องการร้องทุกข์นั้นได้มีการเสนอเรื่องให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ที่มีนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาแล้วบางส่วน พบว่าผู้ที่ร้องทุกข์มามีทั้งที่เขตพื้นที่การศึกษาได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนและดำเนินการไม่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องนำเสนอผลการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้พิจารณาในนัดหน้า โดยการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯนั้นเป็นไปตามมติของที่ประชุม ก.ค. ศ.ที่ได้เร่งรัดให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ด้าน นายสามารถ ข่าวดี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สำนักงาน ก.ค.ศ. กล่าวว่า การพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ จะพิจารณารายละเอียดในคำร้องทุกข์ว่า ฟังขึ้นหรือไม่ขึ้นจะมี 3 แนวทาง ได้แก่ 1. หากเห็นว่าครูผู้ช่วยทุจริตการสอบคัดเลือกสอดคล้องกับสำนวนข้อสรุปของเขต พื้นที่การศึกษาก็จะยกคำร้องทุกข์ แต่ครูผู้ช่วยสามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้ 2. หากพิจารณาแล้วเห็นต่างว่าไม่ได้ทุจริตตามสำนวนของเขตพื้นที่การศึกษาคำ ร้องทุกข์ก็จะฟังขึ้นและต้องให้ครูผู้ช่วยกลับเข้ารับราชการ และ 3. หากเห็นว่ากระบวนการดำเนินการสั่งให้ออกไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายถือ ว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้นบางส่วนจะต้องมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้กลับเข้า รับราชการก่อนและให้ดำเนินการให้ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีการทุจริตก็ต้องให้ออกจากราชการอีกรอบหนึ่ง โดยในรายที่เข้าสู่การพิจารณา อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ แล้วมี 3 รายที่เขตพื้นที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
“อ.ก.ค .ศ.วิสามัญฯ บางส่วนเห็นว่าแม้ที่ประชุมก.ค.ศ.จะมอบให้มาดำเนินการเรื่องนี้ แล้วแต่ก็ควรเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าจะมีอะไรทักท้วงหรือไม่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและสังคมอาจจะมองว่าเป็นมวยล้มต้มคนดูได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ทุกอย่างพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฎในสำนวนการดำเนิน การสั่งให้ออก หากเขาไม่ทุจริตก็ควรได้รับความเป็นธรรมคือได้กลับเข้ารับราชการ” ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกล่าวและว่า ส่วน 187 รายที่ได้ร้องทุกข์มานั้นได้พิจารณาข้อมูลเสร็จหมดแล้วรอเสนอ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ พิจารณา โดยในเบื้องต้นพบว่ามีประมาณ 50-60 รายที่ถูกให้ออกจากราชการโดยดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นของกฎหมาย