กระทรวงสาธารณสุข เผยอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยสูงอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 3 ของโลก เกิดจากรถจักรยานยนต์มากสุด เตือนผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายใส่หมวกกันน็อกทุกครั้ง ไม่บิดเร็วเกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเกิดอุบัติเหตุหมวกจะป้องกันอันตรายที่ศีรษะได้ร้อยละ 72 ลดเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 39
นพ,ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การบาดเจ็บอุบัติเหตุจากการจราจรว่า องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 72 รายต่อวัน สูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติเกือบ 2 เท่าตัว ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2556 ที่ผ่านมา อุบัติเหตุทางถนนร้อยละ 82 เกิดจากรถจักรยานยนต์ สาเหตุอันดับ 1 เกิดมาจากเมาสุราแล้วขับร้อยละ 39 รองลงมาคือขับเร็วเกินกำหนดร้อยละ 23 พบได้ทั้งถนนทางหลวงสายหลักและบนถนน อบต./หมู่บ้านพอๆ กัน
นพ.ณรงค์กล่าวต่อว่า อวัยวะที่ทำให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์เสียชีวิตอันดับ 1 คือศีรษะและสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนทั้งผู้ขับและผู้ซ้อนท้าย ยึดหลักความปลอดภัย 5 ประการ คือ 1.สวมหมวกกันน็อกตลอดเวลาที่ใช้รถ ไม่ว่าระยะทางจะใกล้หรือไกล ล็อกสายรัดคางให้กระชับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้หมวกกระเด็นออกจากศีรษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และเลือกใช้หมวกกันน็อกที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.การสวมหมวกกันน็อกจะลดความรุนแรงการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ร้อยละ 72 และลดการเสียชีวิตได้ร้อยละ 39 2.ไม่ดื่มสุราขณะขับรถหรือดื่มแล้วต้องไม่ขับรถทุกชนิด 3.ไม่ขับรถเร็ว เพราะความเร็วรถจะเพิ่มความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุง่ายและอันตรายรุนแรง ทำให้มีการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุมาก ความเร็วที่เหมาะสมคือไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้น หมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานจะป้องกันอันตรายที่ศีรษะได้ 4.หมวกกันน็อกที่ใช้มาแล้ว 3 ปี หรือหมวกที่เคยเกิดอุบัติเหตุและได้รับแรงกระแทกมาแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรนำมาใช้อีก เนื่องจากอุปกรณ์ภายในเกิดการชำรุด และ 5.ไม่ควรแขวนหมวกกันน็อกไว้ใกล้ถังน้ำมันจักรยานยนต์ เนื่องจากไอระเหยของน้ำมันจะทำให้โฟมที่บุภายใน เสื่อมสภาพเร็วขึ้น และอาจใช้ป้องกันอันตรายไม่ได้ผล
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกกันน็อกมี 10 ประการ ได้แก่ 1.เดินทางระยะใกล้ 2.ไม่ได้ขับออกถนนใหญ่ 3.เร่งรีบ 4.ร้อนอึดอัด สกปรก 5.กลัวผมเสียทรง 6.ไม่มีที่เก็บ กลัวหาย 7.ตำรวจไม่เคร่งครัดการจับกุม 8.ไม่มีหมวกกันน็อก 9.คิดว่าคงไม่เกิดอุบัติเหตุ และ 10.เห็นว่าคนที่นั่งมาด้วยก็ไม่สวมจึงไม่สวมตาม จะต้องเร่งสร้างค่านิยมปลูกฝังพฤติกรรมให้หมวกนิรภัยให้ติดเป็นนิสัย
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ในเทศกาลปีใหม่ 2557 นี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดบูรณาการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เน้นการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มการป้องกันและลดปัญหาบนถนนในตำบล/หมู่บ้านให้มากขึ้น เนื่องจากในช่วงเทศกาลในต่างจังหวัดจะมีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างถิ่นรวมชาวต่างชาติด้วย ที่อาจไม่คุ้นเคยเส้นทาง หากประชาชนประสบเหตุหรือพบเห็นอุบัติเหตุ สามารถโทร.แจ้งสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉินหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นพ,ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การบาดเจ็บอุบัติเหตุจากการจราจรว่า องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 72 รายต่อวัน สูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นกว่าช่วงปกติเกือบ 2 เท่าตัว ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2556 ที่ผ่านมา อุบัติเหตุทางถนนร้อยละ 82 เกิดจากรถจักรยานยนต์ สาเหตุอันดับ 1 เกิดมาจากเมาสุราแล้วขับร้อยละ 39 รองลงมาคือขับเร็วเกินกำหนดร้อยละ 23 พบได้ทั้งถนนทางหลวงสายหลักและบนถนน อบต./หมู่บ้านพอๆ กัน
นพ.ณรงค์กล่าวต่อว่า อวัยวะที่ทำให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์เสียชีวิตอันดับ 1 คือศีรษะและสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนทั้งผู้ขับและผู้ซ้อนท้าย ยึดหลักความปลอดภัย 5 ประการ คือ 1.สวมหมวกกันน็อกตลอดเวลาที่ใช้รถ ไม่ว่าระยะทางจะใกล้หรือไกล ล็อกสายรัดคางให้กระชับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้หมวกกระเด็นออกจากศีรษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และเลือกใช้หมวกกันน็อกที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.การสวมหมวกกันน็อกจะลดความรุนแรงการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ร้อยละ 72 และลดการเสียชีวิตได้ร้อยละ 39 2.ไม่ดื่มสุราขณะขับรถหรือดื่มแล้วต้องไม่ขับรถทุกชนิด 3.ไม่ขับรถเร็ว เพราะความเร็วรถจะเพิ่มความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุง่ายและอันตรายรุนแรง ทำให้มีการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุมาก ความเร็วที่เหมาะสมคือไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้น หมวกกันน็อกที่ได้มาตรฐานจะป้องกันอันตรายที่ศีรษะได้ 4.หมวกกันน็อกที่ใช้มาแล้ว 3 ปี หรือหมวกที่เคยเกิดอุบัติเหตุและได้รับแรงกระแทกมาแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรนำมาใช้อีก เนื่องจากอุปกรณ์ภายในเกิดการชำรุด และ 5.ไม่ควรแขวนหมวกกันน็อกไว้ใกล้ถังน้ำมันจักรยานยนต์ เนื่องจากไอระเหยของน้ำมันจะทำให้โฟมที่บุภายใน เสื่อมสภาพเร็วขึ้น และอาจใช้ป้องกันอันตรายไม่ได้ผล
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกกันน็อกมี 10 ประการ ได้แก่ 1.เดินทางระยะใกล้ 2.ไม่ได้ขับออกถนนใหญ่ 3.เร่งรีบ 4.ร้อนอึดอัด สกปรก 5.กลัวผมเสียทรง 6.ไม่มีที่เก็บ กลัวหาย 7.ตำรวจไม่เคร่งครัดการจับกุม 8.ไม่มีหมวกกันน็อก 9.คิดว่าคงไม่เกิดอุบัติเหตุ และ 10.เห็นว่าคนที่นั่งมาด้วยก็ไม่สวมจึงไม่สวมตาม จะต้องเร่งสร้างค่านิยมปลูกฝังพฤติกรรมให้หมวกนิรภัยให้ติดเป็นนิสัย
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ในเทศกาลปีใหม่ 2557 นี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดบูรณาการการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เน้นการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มการป้องกันและลดปัญหาบนถนนในตำบล/หมู่บ้านให้มากขึ้น เนื่องจากในช่วงเทศกาลในต่างจังหวัดจะมีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างถิ่นรวมชาวต่างชาติด้วย ที่อาจไม่คุ้นเคยเส้นทาง หากประชาชนประสบเหตุหรือพบเห็นอุบัติเหตุ สามารถโทร.แจ้งสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉินหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง