“จาตุรนต์” เร่งสะสางปัญหาเรื้อรัง “ส่งตำราเรียนล่าช้า” เชิญสำนักพิมพ์เอกชน และองค์การค้าร่วมถกหาต้นตอปัญหา และหาทางออก โดยสั่ง ตั้งคณะกรรมการร่วม สำนักพิมพ์และ ศธ.มอบ ปลัด ศธ.นั่งหัวโต๊ะรวมปัญหาและเสนอทางแก้ไข
วันนี้ (25 ธ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เชิญสำนักพิมพ์ต่างๆ ประมาณ 20 สำนักพิมพ์ มาประชุมร่วมกับตัวแทนองค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพ ครูและบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพื่อหาทางสางปัญหาการจัดพิมพ์ตำราเรียนซึ่งเรื้อรังมานาน โดยเฉพาะปัญหาการจัดส่งหนังสือเรียนที่ล่าช้าเป็นประจำทุกปี บางครั้งล่าช้ามากเป็นเทอมหรือล่าช้าหลายเดือนจนเลยเวลาที่ต้องใช้แบบเรียนนั้นแล้ว สุดท้ายนักเรียนบางส่วนเลยไม่ได้แบบเรียนนั้นๆ รวมทั้งยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพของตำราเรียนด้วย และทั้งที่มีปัญหาเรื้อรังมานาน แต่ ศธ.กลับไม่มีระบบเก็บข้อมูลที่ดีเพียงพอ จึงไม่สามารถเรียกข้อมูลมาดูได้เลยว่าโรงเรียนใดได้รับหนังสือเรียนล่าช้าบ้างและล่าช้ามากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ จากการได้หารือกับสำนักพิมพ์และฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้สะท้อนปัญหาเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ทำให้หนังสือเรียนถึงมือเด็กล่าช้านั้น ยังมาจากอีกหลายสาเหตุ โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากรูปแบบการจัดสรรงบประมาณจัดซื้อตำราเรียนให้โรงเรียนซึ่งจะจัดสรร รวมไปกับงบประมาณโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ใน 5 รายการและใช้วิธีทยอยจัดสรร โดยงวดแรกที่จัดสรรให้ช่วงเปิดภาคเรียนนั้น จะจัดสรรเงินให้แค่ ร้อยละ 70 ของยอดนักเรียนปีการศึกษาที่ผ่านมา จากนั้นจะทำการสำรวจและจัดสรรอีก 30% ที่เหลือซึ่งจะส่วนใหญ่จะเป็นช่วงปลายภาคเรียน ทำให้โรงเรียนจึงไม่มีเงินเพียงพอสำหรับซื้อหนังสือเรียนทั้งหมด ขณะเดียวกัน ก็ไม่กล้าจะนำเงินในรายการอื่นๆ ที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ในเวลาดังกล่าวมาผันใช้ไปก่อน เพราะกลัวความผิดและกลัวยุ่งยาก จึงตัดสินใจสั่งซื้อหนังสือไปเท่าจำนวนเงินที่มี นักเรียนจึงได้หนังสือเรียนไม่ครบพร้อมกันต้องทยอยได้รับ
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ยังให้ข้อมูลว่าระยะเวลาจัดทำแบบเรียนค่อนข้างสั้น การสื่อสารระหว่างกระทรวงและสำนักพิมพ์มีน้อย ส่งผลต่อการการพัฒนาและคุณภาพของตำราเรียน ขณะที่ งบค่าหนังสือยังน้อย โรงเรียนจึงมีแนวโน้มเลือกซื้อหนังสือที่ถูกสุด ไม่ใช่หนังสือที่มีคุณภาพที่สุด ต่างจากโรงเรียนเอกชนเลือกซื้อหนังสือมีคุณภาพมากกว่า เพราะ ฉะนั้น เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าและคุณภาพของตำราเรียนทั้งระบบ จึงได้สั่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง ศธ.และสำนักพิมพ์เอกชชน มอบปลัด ศธ.เป็นประธาน เพื่อศึกษาปัญหาในภาพรวมและหาทางแก้ปัญหามา โดยเป้าหมายคือ ต้องการขจัดปัญหาความล่าช้า พัฒนาคุณภาพตำราเรียน ไม่ให้การซื้อหนังสือเรียนผูกขาดโดยภาครัฐและสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ และหาทางให้ราคาตำราเรียนถูกลง โดยมีความเชื่อว่า ถ้าสำนักพิมพ์เอกชน สามารถวางแผนจัดพิมพ์ตำราเรียนเป็นล็อตใหญ่ ๆ ต้นทุนในการจัดพิมพ์จะถูกลง ส่งผลให้ราคาหนังสือเรียนลดลง แต่ปัจจุบัน ไม่มีระบบข้อมูลเลยว่า โรงเรียนใช้หนังสือจากสำนักพิมพ์ใด จำนวนเท่าไหร่ ทำให้สำนักพิมพ์เอกชนไม่สามารถวางแผนจัดพิมพ์ตำราเรียนในแต่ละปีได้อย่าง เหมาะสม
“การจัดซื้อตำราเรียนในปัจจุบัน คำนึงแต่ซื้อให้ได้ราคาถูกเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพและความเรื่องความล่าช้าในการจัดส่ง ซึ่งการที่หนังสือเรียนมาไม่ทันนั้น สร้างความเสียหายหรือเสียหายอย่างมาก เด็กต้องเรียนโดยไม่มีหนังสือ เป็นความเสียหายต่อประชาชน และก็ไม่มีใครมีส่วนรับผิดรับชอบในเรื่องนี้ทั้งที่ปัญหาเรื้อรังมาตลอด เพราะฉะนั้น ผู้บริหารต้องรู้ร้อนรู้หนาวบ้างและหาทางแก้ปัญหาบ้าง ไม่ใช่ดูแต่ว่าโปร่งใสหรือไม่ มีทุจริตหรือไม่ แต่ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาหนังสือเรียนล่าช้า” นายจาตุรนต์ กล่าว
วันนี้ (25 ธ.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เชิญสำนักพิมพ์ต่างๆ ประมาณ 20 สำนักพิมพ์ มาประชุมร่วมกับตัวแทนองค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพ ครูและบุคคลากรทางการศึกษา (สกสค.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพื่อหาทางสางปัญหาการจัดพิมพ์ตำราเรียนซึ่งเรื้อรังมานาน โดยเฉพาะปัญหาการจัดส่งหนังสือเรียนที่ล่าช้าเป็นประจำทุกปี บางครั้งล่าช้ามากเป็นเทอมหรือล่าช้าหลายเดือนจนเลยเวลาที่ต้องใช้แบบเรียนนั้นแล้ว สุดท้ายนักเรียนบางส่วนเลยไม่ได้แบบเรียนนั้นๆ รวมทั้งยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพของตำราเรียนด้วย และทั้งที่มีปัญหาเรื้อรังมานาน แต่ ศธ.กลับไม่มีระบบเก็บข้อมูลที่ดีเพียงพอ จึงไม่สามารถเรียกข้อมูลมาดูได้เลยว่าโรงเรียนใดได้รับหนังสือเรียนล่าช้าบ้างและล่าช้ามากน้อยแค่ไหน
ทั้งนี้ จากการได้หารือกับสำนักพิมพ์และฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้สะท้อนปัญหาเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่ทำให้หนังสือเรียนถึงมือเด็กล่าช้านั้น ยังมาจากอีกหลายสาเหตุ โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากรูปแบบการจัดสรรงบประมาณจัดซื้อตำราเรียนให้โรงเรียนซึ่งจะจัดสรร รวมไปกับงบประมาณโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ใน 5 รายการและใช้วิธีทยอยจัดสรร โดยงวดแรกที่จัดสรรให้ช่วงเปิดภาคเรียนนั้น จะจัดสรรเงินให้แค่ ร้อยละ 70 ของยอดนักเรียนปีการศึกษาที่ผ่านมา จากนั้นจะทำการสำรวจและจัดสรรอีก 30% ที่เหลือซึ่งจะส่วนใหญ่จะเป็นช่วงปลายภาคเรียน ทำให้โรงเรียนจึงไม่มีเงินเพียงพอสำหรับซื้อหนังสือเรียนทั้งหมด ขณะเดียวกัน ก็ไม่กล้าจะนำเงินในรายการอื่นๆ ที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ในเวลาดังกล่าวมาผันใช้ไปก่อน เพราะกลัวความผิดและกลัวยุ่งยาก จึงตัดสินใจสั่งซื้อหนังสือไปเท่าจำนวนเงินที่มี นักเรียนจึงได้หนังสือเรียนไม่ครบพร้อมกันต้องทยอยได้รับ
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ยังให้ข้อมูลว่าระยะเวลาจัดทำแบบเรียนค่อนข้างสั้น การสื่อสารระหว่างกระทรวงและสำนักพิมพ์มีน้อย ส่งผลต่อการการพัฒนาและคุณภาพของตำราเรียน ขณะที่ งบค่าหนังสือยังน้อย โรงเรียนจึงมีแนวโน้มเลือกซื้อหนังสือที่ถูกสุด ไม่ใช่หนังสือที่มีคุณภาพที่สุด ต่างจากโรงเรียนเอกชนเลือกซื้อหนังสือมีคุณภาพมากกว่า เพราะ ฉะนั้น เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าและคุณภาพของตำราเรียนทั้งระบบ จึงได้สั่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง ศธ.และสำนักพิมพ์เอกชชน มอบปลัด ศธ.เป็นประธาน เพื่อศึกษาปัญหาในภาพรวมและหาทางแก้ปัญหามา โดยเป้าหมายคือ ต้องการขจัดปัญหาความล่าช้า พัฒนาคุณภาพตำราเรียน ไม่ให้การซื้อหนังสือเรียนผูกขาดโดยภาครัฐและสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ และหาทางให้ราคาตำราเรียนถูกลง โดยมีความเชื่อว่า ถ้าสำนักพิมพ์เอกชน สามารถวางแผนจัดพิมพ์ตำราเรียนเป็นล็อตใหญ่ ๆ ต้นทุนในการจัดพิมพ์จะถูกลง ส่งผลให้ราคาหนังสือเรียนลดลง แต่ปัจจุบัน ไม่มีระบบข้อมูลเลยว่า โรงเรียนใช้หนังสือจากสำนักพิมพ์ใด จำนวนเท่าไหร่ ทำให้สำนักพิมพ์เอกชนไม่สามารถวางแผนจัดพิมพ์ตำราเรียนในแต่ละปีได้อย่าง เหมาะสม
“การจัดซื้อตำราเรียนในปัจจุบัน คำนึงแต่ซื้อให้ได้ราคาถูกเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพและความเรื่องความล่าช้าในการจัดส่ง ซึ่งการที่หนังสือเรียนมาไม่ทันนั้น สร้างความเสียหายหรือเสียหายอย่างมาก เด็กต้องเรียนโดยไม่มีหนังสือ เป็นความเสียหายต่อประชาชน และก็ไม่มีใครมีส่วนรับผิดรับชอบในเรื่องนี้ทั้งที่ปัญหาเรื้อรังมาตลอด เพราะฉะนั้น ผู้บริหารต้องรู้ร้อนรู้หนาวบ้างและหาทางแก้ปัญหาบ้าง ไม่ใช่ดูแต่ว่าโปร่งใสหรือไม่ มีทุจริตหรือไม่ แต่ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาหนังสือเรียนล่าช้า” นายจาตุรนต์ กล่าว