ชุมนุมใหญ่ 22 ธ.ค.พบเจ็บป่วยรวม 15 ราย เกิดอาการแท้งนอกมดลูก 1 ราย เส้นเลือดในสมองแตก 2 ราย พักรักษาตัวใน รพ.รามาธิบดี และ รพ.ราชวิถี สธ.ยันพร้อมดูแลประชาชนเต็มที่ทุกพื้นที่
วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลสงฆ์ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ส่วนหน้า) กรณีชุมนุมทางการเมือง ว่า จากการสรุปผลการบริการทางการแพทย์และสถานการณ์การชุมนุมร่วมกับศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร พบว่า การชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยรวม 15 ราย แบ่งเป็นบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น หกล้ม รถมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวชน 7 ราย ป่วยด้วยโรคประจำตัว 8 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ 3 ราย ต้องรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.รามาธิบดี 2 ราย คือ อาการแท้งจากการท้องนอกมดลูก 1 ราย และเส้นเลือดในสมองแตก 1 ราย และ รพ.ราชวิถี 1 ราย จากกรณีผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกเช่นกัน
นพ.สุพรณ กล่าวอีกว่า การประเมินสถานการณ์การชุมนุมในวันที่ 23 ธ.ค.ที่มีการกระจายหลายพื้นที่ ได้มีการจัดเตรียมทีมแพทย์ดูแลประชาชน ในพื้นที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ที่เป็นสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้ง โดยประสานร่วมกับ กทม.และในพื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีการประสานร่วมกับทาง กทม.ดูแล ส่วนพื้นที่ของศูนย์ราชการ ที่ตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้นำรถพยาบาลในสังกัด สธ.ประจำแล้ว และสามารถส่งต่อได้ทั้ง รพ.เอกชน และ รพ.รัฐ ทั้ง รพ.วิภาวดี หรือ รพ.ธรรมศาสตร์รังสิต
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะหัวหน้าศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า การดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีผู้บาดเจ็บจากเหตุรุนแรง มีเฉพาะการเจ็บป่วยทั่วๆไปของกลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น กรมการแพทย์ สธ.ได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล ในสังกัด ประกอบด้วย รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตนราชธานี และภาคีเครือข่ายจากทีมกู้ชีพฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร รพ.สามโคก จ.ปทุมธานี สนับสนุนทีมแพทย์ และเจ้าหน้าที่กระจายตามจุดต่างๆ ที่มีการชุมนุม สำหรับวันนี้มีการตั้งเต็นท์ปฐมพยาบาลบริเวณด้านหน้า รพ.ราชวิถี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นเส้นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และเส้นทางถนนแจ้งวัฒนะที่ไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โดยจะประสานความร่วมมือและเตรียมพร้อมรับส่งผู้ป่วยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ที่ใกล้ที่สุด
“ศูนย์ฯได้เตรียมประสานกับโรงพยาบาลต่างจังหวัดในเขตปริมณฑลเพื่อรองรับผู้ป่วยในกรณีที่โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครไม่สามารถรองรับได้ กลุ่มผู้ชุมนุมจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่และทั่วถึงด้วยทีมแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง โดยได้ทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการช่วยเหลือผู้ป่วย เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์และสำรองเลือดตามจุดชุมนุมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที” นพ.ณรงค์ กล่าวและว่า ศูนย์ส่วนหน้าจะดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองอย่างใกล้ชิด และถ้าหากการชุมนุมมีการยืดเยื้อออกไป ศูนย์ฯจะมีการปรับแผนเฝ้าระวังตามสถานการณ์ในแต่ละวัน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมจะได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลสงฆ์ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ส่วนหน้า) กรณีชุมนุมทางการเมือง ว่า จากการสรุปผลการบริการทางการแพทย์และสถานการณ์การชุมนุมร่วมกับศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร พบว่า การชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยรวม 15 ราย แบ่งเป็นบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น หกล้ม รถมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวชน 7 ราย ป่วยด้วยโรคประจำตัว 8 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ 3 ราย ต้องรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.รามาธิบดี 2 ราย คือ อาการแท้งจากการท้องนอกมดลูก 1 ราย และเส้นเลือดในสมองแตก 1 ราย และ รพ.ราชวิถี 1 ราย จากกรณีผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกเช่นกัน
นพ.สุพรณ กล่าวอีกว่า การประเมินสถานการณ์การชุมนุมในวันที่ 23 ธ.ค.ที่มีการกระจายหลายพื้นที่ ได้มีการจัดเตรียมทีมแพทย์ดูแลประชาชน ในพื้นที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ที่เป็นสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้ง โดยประสานร่วมกับ กทม.และในพื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีการประสานร่วมกับทาง กทม.ดูแล ส่วนพื้นที่ของศูนย์ราชการ ที่ตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้นำรถพยาบาลในสังกัด สธ.ประจำแล้ว และสามารถส่งต่อได้ทั้ง รพ.เอกชน และ รพ.รัฐ ทั้ง รพ.วิภาวดี หรือ รพ.ธรรมศาสตร์รังสิต
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะหัวหน้าศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า การดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีผู้บาดเจ็บจากเหตุรุนแรง มีเฉพาะการเจ็บป่วยทั่วๆไปของกลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น กรมการแพทย์ สธ.ได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล ในสังกัด ประกอบด้วย รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตนราชธานี และภาคีเครือข่ายจากทีมกู้ชีพฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร รพ.สามโคก จ.ปทุมธานี สนับสนุนทีมแพทย์ และเจ้าหน้าที่กระจายตามจุดต่างๆ ที่มีการชุมนุม สำหรับวันนี้มีการตั้งเต็นท์ปฐมพยาบาลบริเวณด้านหน้า รพ.ราชวิถี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นเส้นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางไปสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง และเส้นทางถนนแจ้งวัฒนะที่ไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โดยจะประสานความร่วมมือและเตรียมพร้อมรับส่งผู้ป่วยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ที่ใกล้ที่สุด
“ศูนย์ฯได้เตรียมประสานกับโรงพยาบาลต่างจังหวัดในเขตปริมณฑลเพื่อรองรับผู้ป่วยในกรณีที่โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครไม่สามารถรองรับได้ กลุ่มผู้ชุมนุมจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่และทั่วถึงด้วยทีมแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง โดยได้ทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการช่วยเหลือผู้ป่วย เครื่องมือทางการแพทย์ เวชภัณฑ์และสำรองเลือดตามจุดชุมนุมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที” นพ.ณรงค์ กล่าวและว่า ศูนย์ส่วนหน้าจะดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองอย่างใกล้ชิด และถ้าหากการชุมนุมมีการยืดเยื้อออกไป ศูนย์ฯจะมีการปรับแผนเฝ้าระวังตามสถานการณ์ในแต่ละวัน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมจะได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง