ระวัง! ฤดูหนาวผู้ป่วยโรคผิวหนังอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น หมอชี้เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด เหตุสูญเสียน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว ทำลายเกราะภูมิคุ้มกัน เสี่ยงรับเชื้อโรคง่ายขึ้น แนะทาครีมเพิ่มความชุ่มชื่นหลังอาบน้ำใน 3-5 นาที
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงฤดูหนาวผู้ป่วยโรคผิวหนังจำนวนมากจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง ทั้งโรคสะเก็ดงู สะเก็ดเงิน และโรคที่เกี่ยวกับเชื้อไวรัส เช่น งูสวัด เริม เนื่องจากอากาศหนาวทำให้เชื้อไวรัสเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ยังพบปัญหาผิวแห้งเนื่องจากอากาศแห้ง ลมแรง รวมทั้งปัญหารังแคจากความแปรปรวนของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ผิวหนังในช่วงฤดูหนาว สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่พบโรคผิวหนังมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว คือ เด็กและผู้สูงอายุ พบมีอาการผิวแห้ง เป็นผื่นคัน และผิวแตก ดังนั้น การดูแลรักษาผิวหนังในช่วงอากาศหนาว ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดหรือนานเกินควร เพื่อรักษาน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวไว้ให้มากที่สุด เพราะในน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวมีน้ำมันสารเพิ่มความชุ่มชื่นที่สร้างขึ้นเฉพาะตัวและมีเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็นมิตรกับผิวช่วยป้องกันเชื้อโรคร่ายแรงอื่นไม่ให้เข้ามาในชั้นผิวหนัง
“การชําระล้างมากเกินไป นอกจากผิวแห้งจากการสูญเสียน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวแล้ว การชําระล้างยังทําลายเกาะภูมิคุ้มกันของผิวหนังด้วย และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ โฟมหรือสบู่ยา เพราะจะทำให้ผิวยิ่งแห้ง แต่ควรใช้ครีมอาบน้ำที่ส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์แทน และควรใช้ครีมทาผิวเพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้แก่ผิวหลังอาบน้ำภายใน 3-5 นาที หลีกเลี่ยงการใช้ครีมผลัดเซลล์ผิวหรือครีมทาผิวขาวที่ผสมกรดวิตามินเอ เพราะจะทำให้ผิวลอก แห้ง และเกิดผื่นคันมากขึ้น สำหรับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการอาบน้ำในขณะที่มีอากาศเย็น ควรเปลี่ยนมาใช้การเช็ดตัว หรือชำระล้างในที่เป็นข้อพับ หรือจุดซ่อนเร้นแทน เนื่องจากอาจมีกลิ่นอับได้” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อปรับอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว รวมถึงช่วยป้องกันลมและแสงแดดที่จะสัมผัสกับผิวโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงโรคผิวหนังที่มากับฤดูหนาว
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ช่วงฤดูหนาวผู้ป่วยโรคผิวหนังจำนวนมากจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง ทั้งโรคสะเก็ดงู สะเก็ดเงิน และโรคที่เกี่ยวกับเชื้อไวรัส เช่น งูสวัด เริม เนื่องจากอากาศหนาวทำให้เชื้อไวรัสเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ยังพบปัญหาผิวแห้งเนื่องจากอากาศแห้ง ลมแรง รวมทั้งปัญหารังแคจากความแปรปรวนของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ผิวหนังในช่วงฤดูหนาว สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่พบโรคผิวหนังมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว คือ เด็กและผู้สูงอายุ พบมีอาการผิวแห้ง เป็นผื่นคัน และผิวแตก ดังนั้น การดูแลรักษาผิวหนังในช่วงอากาศหนาว ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดหรือนานเกินควร เพื่อรักษาน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวไว้ให้มากที่สุด เพราะในน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวมีน้ำมันสารเพิ่มความชุ่มชื่นที่สร้างขึ้นเฉพาะตัวและมีเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็นมิตรกับผิวช่วยป้องกันเชื้อโรคร่ายแรงอื่นไม่ให้เข้ามาในชั้นผิวหนัง
“การชําระล้างมากเกินไป นอกจากผิวแห้งจากการสูญเสียน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวแล้ว การชําระล้างยังทําลายเกาะภูมิคุ้มกันของผิวหนังด้วย และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ โฟมหรือสบู่ยา เพราะจะทำให้ผิวยิ่งแห้ง แต่ควรใช้ครีมอาบน้ำที่ส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์แทน และควรใช้ครีมทาผิวเพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้แก่ผิวหลังอาบน้ำภายใน 3-5 นาที หลีกเลี่ยงการใช้ครีมผลัดเซลล์ผิวหรือครีมทาผิวขาวที่ผสมกรดวิตามินเอ เพราะจะทำให้ผิวลอก แห้ง และเกิดผื่นคันมากขึ้น สำหรับเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการอาบน้ำในขณะที่มีอากาศเย็น ควรเปลี่ยนมาใช้การเช็ดตัว หรือชำระล้างในที่เป็นข้อพับ หรือจุดซ่อนเร้นแทน เนื่องจากอาจมีกลิ่นอับได้” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อปรับอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว รวมถึงช่วยป้องกันลมและแสงแดดที่จะสัมผัสกับผิวโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงโรคผิวหนังที่มากับฤดูหนาว