นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
การชุมนุมทางการเมืองเมื่อมีการสร้างกระแสจนสามารถระดมมวลชนมาได้จำนวนมาก แรงกดดันที่มีต่อฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐก็จะมีมากขึ้น การบัญญัติศัพท์ว่าเป็นการเคลื่อนไหวนั้นถูกต้องแล้ว เพราะมวลชนต้องเคลื่อนไหวจึงมีพลัง ยิ่งมีการเคลื่อนไหว การเดิน การกดดัน ก็จะยิ่งมีพลัง แต่โอกาสที่จะเกิดการปะทะก็ย่อมจะมีมาก การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การชุมนุมจึงมีความสำคัญ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย
การวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการดูแลผู้ชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์คืนอำนาจให้ประชาชนนั้น ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เป็นเสาหลักเข้ามาวางระบบร่วมกับชมรมแพทย์ชนบทในการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะกิจขึ้นมา โดยมีการวางระบบเป็น 3 ระบบคือ ระบบโรงพยาบาลสนาม ระบบรถพยาบาลติดตามผู้ชุมนุมที่มีการเคลื่อนขบวน และระบบเต็นท์พยาบาลตรวจรักษาโรคทั่วไปในพื้นที่การชุมนุม ระบบการตั้งโรงพยาบาลสนามในวันที่ 9 ธันวาคม 56 เป็นต้นไป เพื่อความพร้อมในการรับสถานการณ์ระดับความรุนแรงสูงสุดนั้น มีการวางระบบโรงพยาบาลสนามในอยู่ในพื้นที่ที่ใกล้จุดเสี่ยงให้มากที่สุด ซึ่งมีความสำคัญมาก ในการชุมนุมครั้งนี้จะมีโรงพยาบาลสนามสองประเภท
ประเภทแรกคือโรงพยาบาลสนามถาวร ซึ่งตั้งอยู่ภายในสนามม้านางเลิ้ง มีอุปกรณ์เครื่องมือความพร้อมเต็มรูปแบบเหมือนห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ ซึ่งคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล เป็นผู้วางระบบ นำความรู้นานาชาติมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากการชุมนุมมีการเคลื่อนไหว โรงพยาบาลสนามที่ตั้งเต็นท์ตายตัวจึงไม่ใช่คำตอบ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่ชุมนุมมักจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก โรงพยาบาลสนามจึงควรต้องมีศักยภาพเต็มที่มากกว่าเพียงการทำแผลเย็บแผลหรือห้ามเลือดเบื้องต้น ต้องสามารถช่วยชีวิตเบื้องต้นได้ก่อนส่งต่อ โดยทางศิริราชพยาบาลได้จัดระบบออกแบบให้ใช้รถพยาบาล 5 คัน จอดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีพื้นที่ตรงกลางเปิดโล่งทำเป็นโรงพยาบาลสนาม รถแต่ละคันมีเครื่องมือแพทย์ที่พร้อมและแตกต่างกัน การใช้รถทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ สะดวกคล่องตัว มีทีมประจำที่รถ รถแต่ละคันจะมีระบบการสื่อสาร มีระบบไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้ มีเสบียงอาหารและน้ำที่สะอาด มีเวชภัณฑ์ มีโทรโข่ง มีป้ายสัญลักษณ์รถพยาบาลที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการถูกโจมตี ซึ่งนี่คือองค์ความรู้ชุดที่สำคัญที่สุดที่ทางศิริราชพยาบาลดำเนินการวางระบบให้
ทั้งนี้ในการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นี้ มีจุดที่ตั้งโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ 4 จุดรอบทำเนียบรัฐบาล คือ แยกวัดเบญจ แยกมิสักวัน แยกมัฆวาน แยกเทวกรรม และโรงพยาบาลสนามถาวร 1 จุดที่สนามม้านางเลิ้ง
ส่วนระบบการแพทย์กึ่งฉุกเฉินที่ตั้งจุดบริการตรวจโรคทั่วไปในจุดที่มีการชุมนุมและการติดามผู้ชุมนุมที่เดินขบวนนั้น ก็มีความจำเป็นไม่น้อย เพราะผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคน มีโรคประจำตัว บางคนขาดยา บางคนเป็นหวัด บางคนลืมเอายามากินต่อเนื่อง บางคนเหนื่อยอ่อนล้า เป็นต้น ซึ่งการมีหน่วยแพทย์ในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะได้ดูแลโรคภัยไข้เจ็บให้กับผู้ชุมนุมแล้ว ยังสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ชุมนุมได้อย่างมาก เหมือนการที่กองทหารที่มีโรงพยาบาลอยู่แนวหลังที่จะคอยดูแลรักษาพวกเขา
อย่างไรก็ตาม การวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ศูนย์กลางการชุมนุมที่ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินเป็นอาสาสมัครที่มาทำด้วยใจ ก็ยังได้มีระบบการประสานงานกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิกู้ภัยต่างๆ ที่ร่วมเป็นเครือข่ายในการรับส่งต่อ เพื่อการทำงานร่วมกัน ให้การดูแลพี่น้องผู้ชุมนุมให้ได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่ดีที่สุด จนกว่าคืนวันอันหนักหนาจะผ่านพ้นไป ด้วยความหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือความสูญเสียใดๆ แต่หากเกิดขึ้นระบบการแพทย์ฉุกเฉินก็จะต้องสามารถบรรเทาความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการแพทย์ฉุกเฉิน บทเรียนที่ยังต้องการการพัฒนาของสังคมไทย
การชุมนุมทางการเมืองเมื่อมีการสร้างกระแสจนสามารถระดมมวลชนมาได้จำนวนมาก แรงกดดันที่มีต่อฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐก็จะมีมากขึ้น การบัญญัติศัพท์ว่าเป็นการเคลื่อนไหวนั้นถูกต้องแล้ว เพราะมวลชนต้องเคลื่อนไหวจึงมีพลัง ยิ่งมีการเคลื่อนไหว การเดิน การกดดัน ก็จะยิ่งมีพลัง แต่โอกาสที่จะเกิดการปะทะก็ย่อมจะมีมาก การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การชุมนุมจึงมีความสำคัญ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย
การวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการดูแลผู้ชุมนุมเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์คืนอำนาจให้ประชาชนนั้น ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เป็นเสาหลักเข้ามาวางระบบร่วมกับชมรมแพทย์ชนบทในการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินเฉพาะกิจขึ้นมา โดยมีการวางระบบเป็น 3 ระบบคือ ระบบโรงพยาบาลสนาม ระบบรถพยาบาลติดตามผู้ชุมนุมที่มีการเคลื่อนขบวน และระบบเต็นท์พยาบาลตรวจรักษาโรคทั่วไปในพื้นที่การชุมนุม ระบบการตั้งโรงพยาบาลสนามในวันที่ 9 ธันวาคม 56 เป็นต้นไป เพื่อความพร้อมในการรับสถานการณ์ระดับความรุนแรงสูงสุดนั้น มีการวางระบบโรงพยาบาลสนามในอยู่ในพื้นที่ที่ใกล้จุดเสี่ยงให้มากที่สุด ซึ่งมีความสำคัญมาก ในการชุมนุมครั้งนี้จะมีโรงพยาบาลสนามสองประเภท
ประเภทแรกคือโรงพยาบาลสนามถาวร ซึ่งตั้งอยู่ภายในสนามม้านางเลิ้ง มีอุปกรณ์เครื่องมือความพร้อมเต็มรูปแบบเหมือนห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ ซึ่งคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล เป็นผู้วางระบบ นำความรู้นานาชาติมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากการชุมนุมมีการเคลื่อนไหว โรงพยาบาลสนามที่ตั้งเต็นท์ตายตัวจึงไม่ใช่คำตอบ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่ชุมนุมมักจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก โรงพยาบาลสนามจึงควรต้องมีศักยภาพเต็มที่มากกว่าเพียงการทำแผลเย็บแผลหรือห้ามเลือดเบื้องต้น ต้องสามารถช่วยชีวิตเบื้องต้นได้ก่อนส่งต่อ โดยทางศิริราชพยาบาลได้จัดระบบออกแบบให้ใช้รถพยาบาล 5 คัน จอดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีพื้นที่ตรงกลางเปิดโล่งทำเป็นโรงพยาบาลสนาม รถแต่ละคันมีเครื่องมือแพทย์ที่พร้อมและแตกต่างกัน การใช้รถทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ สะดวกคล่องตัว มีทีมประจำที่รถ รถแต่ละคันจะมีระบบการสื่อสาร มีระบบไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ได้ มีเสบียงอาหารและน้ำที่สะอาด มีเวชภัณฑ์ มีโทรโข่ง มีป้ายสัญลักษณ์รถพยาบาลที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการถูกโจมตี ซึ่งนี่คือองค์ความรู้ชุดที่สำคัญที่สุดที่ทางศิริราชพยาบาลดำเนินการวางระบบให้
ทั้งนี้ในการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นี้ มีจุดที่ตั้งโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ 4 จุดรอบทำเนียบรัฐบาล คือ แยกวัดเบญจ แยกมิสักวัน แยกมัฆวาน แยกเทวกรรม และโรงพยาบาลสนามถาวร 1 จุดที่สนามม้านางเลิ้ง
ส่วนระบบการแพทย์กึ่งฉุกเฉินที่ตั้งจุดบริการตรวจโรคทั่วไปในจุดที่มีการชุมนุมและการติดามผู้ชุมนุมที่เดินขบวนนั้น ก็มีความจำเป็นไม่น้อย เพราะผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคน มีโรคประจำตัว บางคนขาดยา บางคนเป็นหวัด บางคนลืมเอายามากินต่อเนื่อง บางคนเหนื่อยอ่อนล้า เป็นต้น ซึ่งการมีหน่วยแพทย์ในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะได้ดูแลโรคภัยไข้เจ็บให้กับผู้ชุมนุมแล้ว ยังสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ชุมนุมได้อย่างมาก เหมือนการที่กองทหารที่มีโรงพยาบาลอยู่แนวหลังที่จะคอยดูแลรักษาพวกเขา
อย่างไรก็ตาม การวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ศูนย์กลางการชุมนุมที่ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินเป็นอาสาสมัครที่มาทำด้วยใจ ก็ยังได้มีระบบการประสานงานกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินของศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิกู้ภัยต่างๆ ที่ร่วมเป็นเครือข่ายในการรับส่งต่อ เพื่อการทำงานร่วมกัน ให้การดูแลพี่น้องผู้ชุมนุมให้ได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่ดีที่สุด จนกว่าคืนวันอันหนักหนาจะผ่านพ้นไป ด้วยความหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือความสูญเสียใดๆ แต่หากเกิดขึ้นระบบการแพทย์ฉุกเฉินก็จะต้องสามารถบรรเทาความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการแพทย์ฉุกเฉิน บทเรียนที่ยังต้องการการพัฒนาของสังคมไทย