สปส.ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร เปิดให้เลือก รพ.ได้อิสระ หากไปคลอดบุตรขอให้แจ้งต่อสำนักงาน สปส.ในพื้นที่ ตามจ่ายเงินถึงเตียงแก่ผู้ประกันตนโดยตรง พร้อมส่งหนังสือแจ้ง รพ.ในและนอกสังกัดเข้าใจตรง ชี้เดือน ม.ค.ปีหน้าขยายการดำเนินการคลุมทุกจังหวัด
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการปรับปรุงการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรซึ่งจ่ายให้ผู้ประกันตนรายละ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 คนว่า จากการที่ตนได้หารือกับ นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการ สปส.ได้ข้อสรุปว่า สปส.ยังคงให้ผู้ประกันตนมีความสะดวกในการเลือกโรงพยาบาลที่จะคลอดบุตรได้เอง ดังนั้น สปส.จะไม่กำหนดให้ผู้ประกันตนต้องไปคลอดบุตรในโรงพยาบาลที่มีบัตรรับรองสิทธิ แต่สามารถเลือกโรงพยาบาลที่จะไปคลอดบุตรได้อย่างอิสระ ทั้งนี้ เมื่อไปคลอดบุตรก็ขอให้แจ้งต่อสำนักงาน สปส.ในพื้นที่โดยขอให้แจ้งเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตนด้วย เพื่อที่เมื่อคลอดบุตรแล้ว สปส.จะได้ตามไปจ่ายเงินค่าคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนโดยตรงหรือเรียกว่าเป็นการจ่ายเงินข้างเตียง หลังจากนั้นผู้ประกันตนก็นำเงินไปจ่ายค่าคลอดบุตรให้แก่โรงพยาบาลเอง ซึ่งแนวทางนี้ สปส.จะเริ่มนำร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ในเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นเดือนมกราคม 2557 จะขยายการดำเนินการให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
“ผมได้จัดทำรายงานสรุปแนวทางการปรับปรุงการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรเพื่อเสนอต่อเลขาธิการ สปส.และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ไปเรียบร้อยแล้ว รวมทั้ง สปส.จะเร่งจัดทำแนวปฏิบัติการดำเนินการ อีกทั้งจะทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงาน สปส.ในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ โรงพยาบาลในระบบประกันสังคม รวมไปถึงโรงพยาบาลในสังกัดอื่นๆ เพื่อที่จะได้มีการปฏิบัติที่ตรงกันเป็นการป้องกันปัญหากรณีผู้ประกันตนไปคลอดบุตรแล้วโรงพยาบาลโดยเฉพาะเอกชนไม่รับทำคลอด เนื่องจากเกรงว่าผู้ประกันตนจะไม่มีเงินจ่าย ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเพราะอาการแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์นั้นไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดูแลอยู่แล้ว โรงพยาบาลที่ให้การรักษาสามารถยื่นเรื่องเบิกเงินจาก สปสช.ได้” นพ.สุรเดช กล่าว
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการปรับปรุงการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรซึ่งจ่ายให้ผู้ประกันตนรายละ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 คนว่า จากการที่ตนได้หารือกับ นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการ สปส.ได้ข้อสรุปว่า สปส.ยังคงให้ผู้ประกันตนมีความสะดวกในการเลือกโรงพยาบาลที่จะคลอดบุตรได้เอง ดังนั้น สปส.จะไม่กำหนดให้ผู้ประกันตนต้องไปคลอดบุตรในโรงพยาบาลที่มีบัตรรับรองสิทธิ แต่สามารถเลือกโรงพยาบาลที่จะไปคลอดบุตรได้อย่างอิสระ ทั้งนี้ เมื่อไปคลอดบุตรก็ขอให้แจ้งต่อสำนักงาน สปส.ในพื้นที่โดยขอให้แจ้งเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตนด้วย เพื่อที่เมื่อคลอดบุตรแล้ว สปส.จะได้ตามไปจ่ายเงินค่าคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนโดยตรงหรือเรียกว่าเป็นการจ่ายเงินข้างเตียง หลังจากนั้นผู้ประกันตนก็นำเงินไปจ่ายค่าคลอดบุตรให้แก่โรงพยาบาลเอง ซึ่งแนวทางนี้ สปส.จะเริ่มนำร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและหลายจังหวัด เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ในเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นเดือนมกราคม 2557 จะขยายการดำเนินการให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
“ผมได้จัดทำรายงานสรุปแนวทางการปรับปรุงการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรเพื่อเสนอต่อเลขาธิการ สปส.และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ไปเรียบร้อยแล้ว รวมทั้ง สปส.จะเร่งจัดทำแนวปฏิบัติการดำเนินการ อีกทั้งจะทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงาน สปส.ในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆ โรงพยาบาลในระบบประกันสังคม รวมไปถึงโรงพยาบาลในสังกัดอื่นๆ เพื่อที่จะได้มีการปฏิบัติที่ตรงกันเป็นการป้องกันปัญหากรณีผู้ประกันตนไปคลอดบุตรแล้วโรงพยาบาลโดยเฉพาะเอกชนไม่รับทำคลอด เนื่องจากเกรงว่าผู้ประกันตนจะไม่มีเงินจ่าย ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเพราะอาการแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์นั้นไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดูแลอยู่แล้ว โรงพยาบาลที่ให้การรักษาสามารถยื่นเรื่องเบิกเงินจาก สปสช.ได้” นพ.สุรเดช กล่าว