สปส.แจงหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองลูกจ้างต่างด้าว หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างสามารถรับสิทธิกองทุนเงินทดแทนได้
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน แจงกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จะมีกองทุนเงินทดแทนจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และต้องแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน ส่วนลูกจ้างสามารถแจ้งเรื่องขอรับเงินทดแทนเองได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้วินิจฉัยจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างตามสิทธิที่กำหนดในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537
“หากนายจ้างมีแรงงานต่างด้าว เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนายจ้างนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างสามารถรับเงินทดแทนได้” นพ.สุรเดชกล่าว
ปัจจุบัน สปส.จัดแบ่งแรงงานต่างด้าวที่ได้รับความคุ้มครองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work permit) สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ 2.แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองแต่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเรียบร้อยแล้ว มีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ก็สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ 3.แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง แต่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รับจ้างทำงานเป็นการชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง ซึ่งยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ขอให้ญาติรีบแจ้งการประสบอันตรายต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่รับจ้างทำงานโดยตรงเป็นจำนวนเท่ากับทมที่ลูกจ้างไทยและลูกจ้างต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายและมีใบอนุญาตทำงานได้
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน แจงกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จะมีกองทุนเงินทดแทนจ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง โดยนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และต้องแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน ส่วนลูกจ้างสามารถแจ้งเรื่องขอรับเงินทดแทนเองได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้วินิจฉัยจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างตามสิทธิที่กำหนดในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537
“หากนายจ้างมีแรงงานต่างด้าว เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และนายจ้างนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างสามารถรับเงินทดแทนได้” นพ.สุรเดชกล่าว
ปัจจุบัน สปส.จัดแบ่งแรงงานต่างด้าวที่ได้รับความคุ้มครองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work permit) สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ 2.แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองแต่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเรียบร้อยแล้ว มีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ก็สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ 3.แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง แต่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รับจ้างทำงานเป็นการชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง ซึ่งยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ขอให้ญาติรีบแจ้งการประสบอันตรายต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้ต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่รับจ้างทำงานโดยตรงเป็นจำนวนเท่ากับทมที่ลูกจ้างไทยและลูกจ้างต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายและมีใบอนุญาตทำงานได้