ชาวจุฬาฯ ร่วมแสดงพลังเจ้าของประเทศมุ่งสู่ทำเนียบรัฐบาล มีคนดังในฐานะศิษย์เก่า อาทิ “ครูหยุย-วัลลภ, ศ.ดร.บวรศักดิ์, วิทิตนันท์” ตบเท้าร่วมเดินขบวน ขณะที่ “ศ.ดร.บวรศักดิ์” ชี้รัฐบาลประกาศยุบสภาไม่ช่วยอะไร เหตุยังไม่ได้เป็นตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม
วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่บริเวณสนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ 2 รัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.00 น.กลุ่มศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันของ จุฬาฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่และบุคลากร ต่างทยอยมารวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัยและบริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ โดยต่างพร้อมใจสวมเสื้อสีชมพู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาวจุฬาฯ ที่จะร่วมแสดงพลังความเป็นเจ้าของประเทศไทยด้วยการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยในครั้งนี้มีศิษย์เก่าฯ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก หรือ ครูหยุย เป็นแกนนำ พร้อมด้วย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และคุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาฯ
จากนั้นเวลาประมาณ 09.45 น.กลุ่มชาวจุฬาฯ กว่า 20,000 คน ได้เริ่มเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนเดินขบวนได้รวมร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ บูมบาก้า ซึ่งเป็นบูมประจำมหาวิทยาลัย ก่อนออกเดินขบวนออกไปทางประตูด้านหน้า ถนนเส้นพญาไท มุ่งหน้ามาบุญครอง ข้ามสะพานหัวช้าง ไปแยกราชเทวี เลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าแยกยมราชเพื่อรวมตัวกับผู้ชุมนุมสายอื่นๆ ก่อนไปยังทำเนียบรัฐบาล
นายวัลลภ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ชุมนุม เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าประชาชนออกมารวมตัวจำนวนมากทั้งเป็นการรวมตัวที่มากที่สุด มากกว่าการชุมนุม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งการที่ชาวจุฬาฯ ออกมาในครั้งนี้เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ต้องการร่วมกับประชาชนคนอื่นๆ ที่จะร่วมแสดงพลัง เพราะเห็นว่ารัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรทำผิดกฎหมาย ไม่ดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย
ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ กล่าวว่า ชาวจุฬาฯ ออกมาครั้งนี้เพื่อให้คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนตระหนักในการใช้อำนาจ ภายใต้ตำแหน่งเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อประโยชน์สุขของพวกพ้อง และขณะนี้ประชาชนหมดความเคารพนับถือรัฐบาล
“โดยเฉพาะเหตุการณ์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งมีคนของรัฐบาลได้กระทำการไม่สมควร โดยใส่ชุดดำถวายพระพรออกทีวีเผยแพร่ไปทั่วประเทศ ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ทำให้ชาวจุฬาฯ ต้องออกมาทำหน้าที่รวมตัวเพื่อปกป้อง ซึ่งการรวมตัวครั้งนี้มาด้วยใจ” ศ.ดร.บวรศักดิ์ กล่าวและว่า แม้ขณะนี้รัฐบาลจะประกาศยุบสภาแล้ว แต่ตนเห็นว่าเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงจะไม่ยุติลงง่ายๆ เพราะการที่รัฐบาลยุบสภายังไม่ใช่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ดังนั้น จึงต้องรอดูท่าทีจากแกนนำ กปปส.ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งคงไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน
ขณะที่ คุณหญิงสุชาดา กล่าวว่า การรวมตัวครั้งนี้เป็นการตัวเพื่อประเทศชาติ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด มาด้วยใจ เพื่อเป็นหลักของประเทศ
นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ ในฐานะศิษย์เก่าคณะศิลปกรรม รุ่น 4 กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อระบบการตรวจสอบตามระบอบรัฐสภา ขณะเดียวกันในฐานะประชาชน ถ้ารู้สึกว่าผู้แทนที่ตนเลือกเขาไปทำหน้าที่แทน ทำหน้าที่บกพร่อง เราก็มีสิทธิที่จะออกมาบอกว่าเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ตรงนี้ถือเป็นการใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย และถือเป็นการแสดงจุดยืนของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศระหว่างการเคลื่อนขบวนของชาวจุฬาฯ เป็นไปอย่างคึกคัก แกนนำมีการนำรถกระจายเสียงนำขบวนพร้อมเปิดเพลงประจำมหาวิทยาลัยและปราศรัย ขณะที่ผู้ชุมนุมได้ถือข้อความต่อต้านรัฐบาล อาทิ โค้นล้มระบอบทักษิณ จุฬาฯ คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบล้างผิดคนโกงชาติ ปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญคือปฏิเสธกฎหมาย กบฏไล่กระบือ เป็นต้น รวมทั้งมีการเป่านกหวีดเป็นระยะและสองข้างทางที่ขบวนกลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านก็มีประชาชนที่อยู่บริเวณริมถนนออกมาโบกมือ นอกจากนี้ ครูลิลลี่ ได้ร่วมขบวนผู้ชุมนุมโดยนั่งบนรถกระบะมีธงชาติคลุมด้วย
ขณะที่นิสิตที่มาร่วมเดินขบวนครั้งนี้ กล่าวว่า ครั้งนี้นักศึกษาควรออกมาแสดงพลัง รวมถึงต่อไปควรจะต้องมีการปลูกฝังให้เด็กรู้จักคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะการที่คนออกมาจำนวนมากไม่ใช่เพราะไม่ชอบตัวบุคคล แต่ไม่ชอบการกระทำที่สร้างความเสียหายให้ประเทศ ส่วนการที่รัฐบาลประกาศยุบสภาไปแล้วนั้น ส่วนตัวคิดไม่ช่วยอะไรหากการเลือกตั้งยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง ดังนั้นจึงต้องทำกระบวนต่างๆ ให้มีความโปร่งใสก่อนที่จะดำเนินการเลือกตั้งอีกครั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอย่างแท้จริง
นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ ในฐานะศิษย์เก่าคณะศิลปกรรม รุ่น 4 กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อระบบการตรวจสอบตามระบอบรัฐสภา ขณะเดียวกันในฐานะประชาชน ถ้ารู้สึกว่าผู้แทนที่ตนเลือกเขาไปทำหน้าที่แทน ทำหน้าที่บกพร่อง เราก็มีสิทธิที่จะออกมาบอกว่าเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ตรงนี้ถือเป็นการใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย และถือเป็นการแสดงจุดยืนของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการเดินขบวนเป็นไปอย่างคึกคัก ผู้ชุมนุมถือข้อความต่อต้านรัฐบาล อาทิ โค้นล้มระบอบทักษิณ จุฬาฯ คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบล้างผิดคนโกงชาติ ปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญคือปฏิเสธกฎหมาย กบฏไล่กระบือ เป็นต้น
วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่บริเวณสนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ 2 รัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.00 น.กลุ่มศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันของ จุฬาฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่และบุคลากร ต่างทยอยมารวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัยและบริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ โดยต่างพร้อมใจสวมเสื้อสีชมพู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาวจุฬาฯ ที่จะร่วมแสดงพลังความเป็นเจ้าของประเทศไทยด้วยการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยในครั้งนี้มีศิษย์เก่าฯ ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก หรือ ครูหยุย เป็นแกนนำ พร้อมด้วย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และคุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาฯ
จากนั้นเวลาประมาณ 09.45 น.กลุ่มชาวจุฬาฯ กว่า 20,000 คน ได้เริ่มเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนเดินขบวนได้รวมร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ บูมบาก้า ซึ่งเป็นบูมประจำมหาวิทยาลัย ก่อนออกเดินขบวนออกไปทางประตูด้านหน้า ถนนเส้นพญาไท มุ่งหน้ามาบุญครอง ข้ามสะพานหัวช้าง ไปแยกราชเทวี เลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าแยกยมราชเพื่อรวมตัวกับผู้ชุมนุมสายอื่นๆ ก่อนไปยังทำเนียบรัฐบาล
นายวัลลภ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ชุมนุม เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าประชาชนออกมารวมตัวจำนวนมากทั้งเป็นการรวมตัวที่มากที่สุด มากกว่าการชุมนุม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งการที่ชาวจุฬาฯ ออกมาในครั้งนี้เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ต้องการร่วมกับประชาชนคนอื่นๆ ที่จะร่วมแสดงพลัง เพราะเห็นว่ารัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรทำผิดกฎหมาย ไม่ดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย
ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ กล่าวว่า ชาวจุฬาฯ ออกมาครั้งนี้เพื่อให้คนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนตระหนักในการใช้อำนาจ ภายใต้ตำแหน่งเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อประโยชน์สุขของพวกพ้อง และขณะนี้ประชาชนหมดความเคารพนับถือรัฐบาล
“โดยเฉพาะเหตุการณ์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งมีคนของรัฐบาลได้กระทำการไม่สมควร โดยใส่ชุดดำถวายพระพรออกทีวีเผยแพร่ไปทั่วประเทศ ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ทำให้ชาวจุฬาฯ ต้องออกมาทำหน้าที่รวมตัวเพื่อปกป้อง ซึ่งการรวมตัวครั้งนี้มาด้วยใจ” ศ.ดร.บวรศักดิ์ กล่าวและว่า แม้ขณะนี้รัฐบาลจะประกาศยุบสภาแล้ว แต่ตนเห็นว่าเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงจะไม่ยุติลงง่ายๆ เพราะการที่รัฐบาลยุบสภายังไม่ใช่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ดังนั้น จึงต้องรอดูท่าทีจากแกนนำ กปปส.ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งคงไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน
ขณะที่ คุณหญิงสุชาดา กล่าวว่า การรวมตัวครั้งนี้เป็นการตัวเพื่อประเทศชาติ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด มาด้วยใจ เพื่อเป็นหลักของประเทศ
นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ ในฐานะศิษย์เก่าคณะศิลปกรรม รุ่น 4 กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อระบบการตรวจสอบตามระบอบรัฐสภา ขณะเดียวกันในฐานะประชาชน ถ้ารู้สึกว่าผู้แทนที่ตนเลือกเขาไปทำหน้าที่แทน ทำหน้าที่บกพร่อง เราก็มีสิทธิที่จะออกมาบอกว่าเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ตรงนี้ถือเป็นการใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย และถือเป็นการแสดงจุดยืนของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศระหว่างการเคลื่อนขบวนของชาวจุฬาฯ เป็นไปอย่างคึกคัก แกนนำมีการนำรถกระจายเสียงนำขบวนพร้อมเปิดเพลงประจำมหาวิทยาลัยและปราศรัย ขณะที่ผู้ชุมนุมได้ถือข้อความต่อต้านรัฐบาล อาทิ โค้นล้มระบอบทักษิณ จุฬาฯ คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบล้างผิดคนโกงชาติ ปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญคือปฏิเสธกฎหมาย กบฏไล่กระบือ เป็นต้น รวมทั้งมีการเป่านกหวีดเป็นระยะและสองข้างทางที่ขบวนกลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านก็มีประชาชนที่อยู่บริเวณริมถนนออกมาโบกมือ นอกจากนี้ ครูลิลลี่ ได้ร่วมขบวนผู้ชุมนุมโดยนั่งบนรถกระบะมีธงชาติคลุมด้วย
ขณะที่นิสิตที่มาร่วมเดินขบวนครั้งนี้ กล่าวว่า ครั้งนี้นักศึกษาควรออกมาแสดงพลัง รวมถึงต่อไปควรจะต้องมีการปลูกฝังให้เด็กรู้จักคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะการที่คนออกมาจำนวนมากไม่ใช่เพราะไม่ชอบตัวบุคคล แต่ไม่ชอบการกระทำที่สร้างความเสียหายให้ประเทศ ส่วนการที่รัฐบาลประกาศยุบสภาไปแล้วนั้น ส่วนตัวคิดไม่ช่วยอะไรหากการเลือกตั้งยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง ดังนั้นจึงต้องทำกระบวนต่างๆ ให้มีความโปร่งใสก่อนที่จะดำเนินการเลือกตั้งอีกครั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอย่างแท้จริง
นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ ในฐานะศิษย์เก่าคณะศิลปกรรม รุ่น 4 กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อระบบการตรวจสอบตามระบอบรัฐสภา ขณะเดียวกันในฐานะประชาชน ถ้ารู้สึกว่าผู้แทนที่ตนเลือกเขาไปทำหน้าที่แทน ทำหน้าที่บกพร่อง เราก็มีสิทธิที่จะออกมาบอกว่าเขาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ตรงนี้ถือเป็นการใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย และถือเป็นการแสดงจุดยืนของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการเดินขบวนเป็นไปอย่างคึกคัก ผู้ชุมนุมถือข้อความต่อต้านรัฐบาล อาทิ โค้นล้มระบอบทักษิณ จุฬาฯ คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แบบล้างผิดคนโกงชาติ ปฏิเสธอำนาจศาลรัฐธรรมนูญคือปฏิเสธกฎหมาย กบฏไล่กระบือ เป็นต้น