กกอ.เผย สกอ. ส่งหนังสือเเจ้งสถานศึกษาในสังกัด ชี้เเจงการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระบบทางไกล ย้ำหากสถานศึกษาต้องการเปิดหลักสูตรการศึกษาทางไกลต้องเป็นหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการของชุมชนเเละสังคม เเละสถาบันมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งจำกัดจำนวนเเละสัดส่วนผู้เรียนอย่างเหมาะสม
ศ. (พิเศษ) ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระบบทางไกล ว่า สกอ. ได้เวียนแจ้ง เรื่อง เกณฑ์การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล ไปยังสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัด/ในกำกับของ สกอ. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาที่ประสงค์จะเปิดดำเนินการหลักสูตรการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับการจัดการศึกษาในระบบปกติ ทั้งนี้ การอนุมัติให้เปิดดำเนินการหลักสูตรต้องเป็นสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของชุมชนและสังคม เป็นสาขาวิชาที่สถาบันนั้นๆ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก (EQA) ระดับคณะในระดับดีมากในรอบปีการศึกษาสุดท้าย อีกทั้งต้องมีการกำหนดเวลาในการสิ้นสุดหลักสูตร ต้องจำกัดจำนวนนักศึกษา และกำหนดสัดส่วนของอาจารย์กับนักศึกษาให้เหมาะสม
“นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล ได้เสนอแนะให้ สกอ. จัดคณะอนุกรรมการฯ จำนวน ๓ - ๔ ท่าน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้าน 1.การประกันคุณภาพภายใน (IQA) หรือการประกันคุณภาพภายนอก (EQA) 2.มีความรู้ความสามารถในศาสตร์หรือสาขาวิชาที่ไปติดตามประเมินผล 3. เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาทางไกล (e-Learning) และเจ้าหน้าที่ของ สกอ. เป็นฝ่ายเลขานุการ เดินทางไปพิจารณาติดตามประเมินผลหลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกลที่สถาบันอุดมศึกษาส่งให้ สกอ. พิจารณารับทราบในลักษณะเดียวกับการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ทั้งหลักสูตรที่เปิดดำเนินการใหม่ และหลักสูตรปรับปรุง พร้อมทั้งให้สถาบันอุดมศึกษาได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติม อาทิ การดูแลระบบและองค์ความรู้ เนื้อหาวิชาการ เอกสิทธิ์ของสถาบันโดยตรงหรือไม่ สำเนาสัญญาที่ทำกับบริษัทที่รับจัดทำเว็บไซต์ให้กับสถาบัน เพื่อพิจารณาเงื่อนไขประเด็นที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์” เลขาธิการ กกอ. กล่าว.
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ล่าสุด สกอ. ได้จัดการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง “แนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษาทางไกล” เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษาแบบการศึกษาทางไกลในระดับอุดมศึกษาให้เหมาะกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาไทย พร้อมทั้งพัฒนา “แนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษาทางไกล” ในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน ซึ่งจากการประชุมฯ ดังกล่าว ได้แนวปฏิบัติในการพิจารณาคุณภาพการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ตัวบ่งชี้เพื่อตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล และเอกสารหลักฐานที่สถาบันอุดมศึกษาต้องแสดงเพื่อประกอบการประเมินการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล และเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนแล้วจะได้ดำเนินการนำไปทดลองใช้กับสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบการศึกษาต่อไป
ศ. (พิเศษ) ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยถึงการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระบบทางไกล ว่า สกอ. ได้เวียนแจ้ง เรื่อง เกณฑ์การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล ไปยังสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัด/ในกำกับของ สกอ. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาที่ประสงค์จะเปิดดำเนินการหลักสูตรการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับการจัดการศึกษาในระบบปกติ ทั้งนี้ การอนุมัติให้เปิดดำเนินการหลักสูตรต้องเป็นสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของชุมชนและสังคม เป็นสาขาวิชาที่สถาบันนั้นๆ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก (EQA) ระดับคณะในระดับดีมากในรอบปีการศึกษาสุดท้าย อีกทั้งต้องมีการกำหนดเวลาในการสิ้นสุดหลักสูตร ต้องจำกัดจำนวนนักศึกษา และกำหนดสัดส่วนของอาจารย์กับนักศึกษาให้เหมาะสม
“นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล ได้เสนอแนะให้ สกอ. จัดคณะอนุกรรมการฯ จำนวน ๓ - ๔ ท่าน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้าน 1.การประกันคุณภาพภายใน (IQA) หรือการประกันคุณภาพภายนอก (EQA) 2.มีความรู้ความสามารถในศาสตร์หรือสาขาวิชาที่ไปติดตามประเมินผล 3. เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาทางไกล (e-Learning) และเจ้าหน้าที่ของ สกอ. เป็นฝ่ายเลขานุการ เดินทางไปพิจารณาติดตามประเมินผลหลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกลที่สถาบันอุดมศึกษาส่งให้ สกอ. พิจารณารับทราบในลักษณะเดียวกับการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ทั้งหลักสูตรที่เปิดดำเนินการใหม่ และหลักสูตรปรับปรุง พร้อมทั้งให้สถาบันอุดมศึกษาได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติม อาทิ การดูแลระบบและองค์ความรู้ เนื้อหาวิชาการ เอกสิทธิ์ของสถาบันโดยตรงหรือไม่ สำเนาสัญญาที่ทำกับบริษัทที่รับจัดทำเว็บไซต์ให้กับสถาบัน เพื่อพิจารณาเงื่อนไขประเด็นที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์” เลขาธิการ กกอ. กล่าว.
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ล่าสุด สกอ. ได้จัดการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง “แนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษาทางไกล” เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษาแบบการศึกษาทางไกลในระดับอุดมศึกษาให้เหมาะกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาไทย พร้อมทั้งพัฒนา “แนวทางการจัดการคุณภาพการศึกษาทางไกล” ในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน ซึ่งจากการประชุมฯ ดังกล่าว ได้แนวปฏิบัติในการพิจารณาคุณภาพการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล ตัวบ่งชี้เพื่อตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล และเอกสารหลักฐานที่สถาบันอุดมศึกษาต้องแสดงเพื่อประกอบการประเมินการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล และเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนแล้วจะได้ดำเนินการนำไปทดลองใช้กับสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบการศึกษาต่อไป