“จาตุรนต์” เตรียมเรียกมหา’ลัยคุย ปรับเวลาแก้ระบบจัดสอบรับตรง ไม่ให้เด็กต้องรับภาระสอบมากรวมทั้งไม่ออกข้อสอบนอกหลักสูตร หลังผลสำรวจ สกอ.ชี้ชัดคณะต่างๆ แห่รับตรงเยอะจริง
วันนี้ (28 ต.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้ดูข้อมูลเบื้องต้น สรุปผลการสำรวจการรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2557 ที่ไม่ใช่ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชันกลาง ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่งมาให้พิจารณาแล้ว ซึ่งเท่าที่ดูพบว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ มีการรับตรงมากจริง โดยปัญหาใหญ่ คือ คณะต่างๆ ไปจัดรับตรงเองในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กต้องวิ่งรอกสอบ เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง รวมถึงสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กที่มีฐานะกับเด็กยากจน ที่สำคัญข้อสอบที่ใช้สอบตรงก็ออกนอกเหนือหลักสูตรที่เด็กเรียน ทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในห้องและมุ่งไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบรับตรง
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลแม้จะมีมหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดรับตรงไปแล้ว แต่เร็วๆ นี้ ตนจะนัดหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (ทปอ.มรภ) กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) เพื่อจะดูว่าหากมหาวิทยาลัยใดยังไม่ได้เปิดรับตรงก็ขอความร่วมมือว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไปเปิดรับตรงในช่วงที่เด็กเรียนจบหลักสูตรแล้ว เพื่อไม่ให้เด็กทิ้งห้องเรียน รวมทั้งจะตั้งคณะทำงานเพื่อวางแนวทางการการดำเนินการปรับปรุงระบบรับตรงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ให้มีคุณภาพ และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ขณะเดียวกันจะหารือเรื่องระบบการจัดสอบ และข้อสอบ ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เด็กต้องสอบเยอะ และข้อสอบไม่ออกนอกเหนือหลักสูตร โดยเป็นไปได้หรือไม่ ที่ทุกมหาวิทยาลัยจะมาใช้ข้อสอบกลาง หรือใช้ผลสอบอย่างอื่น ที่ไม่ต้องออกข้อสอบต่างหาก อาทิ ใช้ผลการเรียน หรือ National Test ต่างๆ ซึ่งคงต้องไปคิดว่าจะเป็นรูปแบบใด และใครจะเป็นผู้จัดสอบ เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ซึ่งผมให้ความสำคัญและต้องแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
วันนี้ (28 ต.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้ดูข้อมูลเบื้องต้น สรุปผลการสำรวจการรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2557 ที่ไม่ใช่ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชันกลาง ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่งมาให้พิจารณาแล้ว ซึ่งเท่าที่ดูพบว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ มีการรับตรงมากจริง โดยปัญหาใหญ่ คือ คณะต่างๆ ไปจัดรับตรงเองในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กต้องวิ่งรอกสอบ เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง รวมถึงสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กที่มีฐานะกับเด็กยากจน ที่สำคัญข้อสอบที่ใช้สอบตรงก็ออกนอกเหนือหลักสูตรที่เด็กเรียน ทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในห้องและมุ่งไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบรับตรง
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลแม้จะมีมหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดรับตรงไปแล้ว แต่เร็วๆ นี้ ตนจะนัดหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย (ทปอ.มรภ) กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) เพื่อจะดูว่าหากมหาวิทยาลัยใดยังไม่ได้เปิดรับตรงก็ขอความร่วมมือว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไปเปิดรับตรงในช่วงที่เด็กเรียนจบหลักสูตรแล้ว เพื่อไม่ให้เด็กทิ้งห้องเรียน รวมทั้งจะตั้งคณะทำงานเพื่อวางแนวทางการการดำเนินการปรับปรุงระบบรับตรงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ให้มีคุณภาพ และแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ขณะเดียวกันจะหารือเรื่องระบบการจัดสอบ และข้อสอบ ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เด็กต้องสอบเยอะ และข้อสอบไม่ออกนอกเหนือหลักสูตร โดยเป็นไปได้หรือไม่ ที่ทุกมหาวิทยาลัยจะมาใช้ข้อสอบกลาง หรือใช้ผลสอบอย่างอื่น ที่ไม่ต้องออกข้อสอบต่างหาก อาทิ ใช้ผลการเรียน หรือ National Test ต่างๆ ซึ่งคงต้องไปคิดว่าจะเป็นรูปแบบใด และใครจะเป็นผู้จัดสอบ เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ซึ่งผมให้ความสำคัญและต้องแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน