สพฐ.เตรียมชง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ พิจารณาเพิ่มคะแนนสอบครูผู้ช่วย ว 12 ภาค ค.จาก 50 เป็น 150 คะแนน วันที่ 12 ธ.ค.นี้ รวมทั้งเสนอปรับเกณฑ์คัดเลือกศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารด้วย
วันนี้ (3 ธ.ค.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่าจากการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอให้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือ มีเหตุพิเศษ หรือ ว12 โดยเพิ่มคะแนนการสอบภาค ค การสัมภาษณ์ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ เดิมคะแนนเต็ม 50 คะแนน ขอปรับเป็น 150 คะแนนนั้น ว่า การเสนอขอปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวผู้ที่จะเข้าสอบภาค ค ได้จะต้องผ่านการสอบภาค ก สอบความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับวินัย คุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และ ภาค ข สอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ตามที่กำหนดก่อนจึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ได้ และการสอบภาค ค ไม่ใช่ประเมินจากการสัมภาษณ์อย่างเดียว ต้องประเมินจากเอกสาร วิสัยทัศน์ และประวัติการรับราชการต่างๆ ด้วย ดังนั้นการปรับเพิ่มคะแนนส่วนดังกล่าวจึงเป็นเพียงการเพิ่มตามสัดส่วนของคะแนนเต็มที่เพิ่มขึ้น
" ส่วนข้อกังวลว่าการเพิ่มคะแนนภาค ค จะเปิดช่องให้มีการเล่นพรรคเล่นพวกในขั้นตอนการสัมภาษณ์ หากมองในแง่ร้ายก็เป็นไปได้ทุกที่ แต่เราคงกำหนดน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบไว้ ไม่ใช่ปล่อยอิสระตามใจกรรมการ นอกจากนี้ก็ยังมีการขอดูคะแนนได้ด้วย ส่วนข้อเสนอของสพฐ.ที่ให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเองทั้งหมดนั้น ผมเห็นว่าถ้าไม่กระจายอำนาจไปให้เขตพื้นที่การศึกษาก็จะมีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ฉะนั้นจึงไม่อยากให้เป็นการรวบอำนาจโดย สพฐ.หรือโดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ” นายอภิชาติ กล่าว
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อเสนอที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ซึ่งนอกจากจะมีการนำเสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครูผู้ช่วย ว12 แล้วจะมีการเสนอพิจารณาเกณฑ์คัดสอบคัดเลือกศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาด้วยโดยจะใช้หลักการเดียวกับการสอบครูผู้ช่วยที่จะให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯดำเนินการเองทั้งหมด อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ก.ค.ศ.ว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สพฐ.หรือไม่และ สพฐ.เป็นเพียงผู้ที่มีหน้าที่เสนอปรับหลักเกณฑ์เท่านั้น
นางธัญญา วังคะฮาด ตัวแทนพนักงานราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 5 กล่าวว่าตนไม่ขัดข้องหากจะมีการปรับเกณฑ์คะแนนการสอบภาค ก 100 คะแนน ภาค ข 100 คะแนน และภาค ค 150 คะแนน เพราะอย่างน้อยคนที่เป็นพนักงานราชการมานานที่มีสิทธิสอบในครั้งนี้จะมีโอกาสได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยเสียที เพราะอย่างตนทำงานมา 17 ปี สอบกี่ครั้งก็ไม่ได้ เพราะจะไปอ่านหนังสือแข่งกับเด็กรุ่นใหม่ๆ ก็ได้ ฉะนั้นการลดคะแนนภาค ก และ ข แล้วเพิ่มคะแนนภาค ค เป็น 150 คะแนนจะช่วยได้มาก ทั้งนี้ขอเสนอให้ควรมีการกำหนดคะแนนพิเศษให้กับคนที่ทำงานมานานด้วยโดยแบ่งตามช่วงอายุการทำงาน นอกจากนี้การประเมินผลงาน แฟ้มประวัติต่างๆ ควรไปประเมินในพื้นที่จริงด้วยเพราะบางคนทำงานเก่งแต่เขียนผลงานที่จะนำมาเสนอช่วงสัมภาษณ์ไม่เก่ง
วันนี้ (3 ธ.ค.) นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่าจากการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอขอให้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือ มีเหตุพิเศษ หรือ ว12 โดยเพิ่มคะแนนการสอบภาค ค การสัมภาษณ์ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ เดิมคะแนนเต็ม 50 คะแนน ขอปรับเป็น 150 คะแนนนั้น ว่า การเสนอขอปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวผู้ที่จะเข้าสอบภาค ค ได้จะต้องผ่านการสอบภาค ก สอบความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับวินัย คุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา และ ภาค ข สอบความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ตามที่กำหนดก่อนจึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ได้ และการสอบภาค ค ไม่ใช่ประเมินจากการสัมภาษณ์อย่างเดียว ต้องประเมินจากเอกสาร วิสัยทัศน์ และประวัติการรับราชการต่างๆ ด้วย ดังนั้นการปรับเพิ่มคะแนนส่วนดังกล่าวจึงเป็นเพียงการเพิ่มตามสัดส่วนของคะแนนเต็มที่เพิ่มขึ้น
" ส่วนข้อกังวลว่าการเพิ่มคะแนนภาค ค จะเปิดช่องให้มีการเล่นพรรคเล่นพวกในขั้นตอนการสัมภาษณ์ หากมองในแง่ร้ายก็เป็นไปได้ทุกที่ แต่เราคงกำหนดน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบไว้ ไม่ใช่ปล่อยอิสระตามใจกรรมการ นอกจากนี้ก็ยังมีการขอดูคะแนนได้ด้วย ส่วนข้อเสนอของสพฐ.ที่ให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเองทั้งหมดนั้น ผมเห็นว่าถ้าไม่กระจายอำนาจไปให้เขตพื้นที่การศึกษาก็จะมีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา ฉะนั้นจึงไม่อยากให้เป็นการรวบอำนาจโดย สพฐ.หรือโดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ” นายอภิชาติ กล่าว
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงข้อเสนอที่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ซึ่งนอกจากจะมีการนำเสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกครูผู้ช่วยกรณีทั่วไป ครูผู้ช่วย ว12 แล้วจะมีการเสนอพิจารณาเกณฑ์คัดสอบคัดเลือกศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาด้วยโดยจะใช้หลักการเดียวกับการสอบครูผู้ช่วยที่จะให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯดำเนินการเองทั้งหมด อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ก.ค.ศ.ว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของ สพฐ.หรือไม่และ สพฐ.เป็นเพียงผู้ที่มีหน้าที่เสนอปรับหลักเกณฑ์เท่านั้น
นางธัญญา วังคะฮาด ตัวแทนพนักงานราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 5 กล่าวว่าตนไม่ขัดข้องหากจะมีการปรับเกณฑ์คะแนนการสอบภาค ก 100 คะแนน ภาค ข 100 คะแนน และภาค ค 150 คะแนน เพราะอย่างน้อยคนที่เป็นพนักงานราชการมานานที่มีสิทธิสอบในครั้งนี้จะมีโอกาสได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยเสียที เพราะอย่างตนทำงานมา 17 ปี สอบกี่ครั้งก็ไม่ได้ เพราะจะไปอ่านหนังสือแข่งกับเด็กรุ่นใหม่ๆ ก็ได้ ฉะนั้นการลดคะแนนภาค ก และ ข แล้วเพิ่มคะแนนภาค ค เป็น 150 คะแนนจะช่วยได้มาก ทั้งนี้ขอเสนอให้ควรมีการกำหนดคะแนนพิเศษให้กับคนที่ทำงานมานานด้วยโดยแบ่งตามช่วงอายุการทำงาน นอกจากนี้การประเมินผลงาน แฟ้มประวัติต่างๆ ควรไปประเมินในพื้นที่จริงด้วยเพราะบางคนทำงานเก่งแต่เขียนผลงานที่จะนำมาเสนอช่วงสัมภาษณ์ไม่เก่ง