ศูนย์เอราวัณ เผยยอดผู้ชุมนุมบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา เหตุสลายชุมนุม มีทั้งหมด 54 ราย กระจาย 5 โรงพยาบาล ด้าน สธ.ระบุยอดไม่ตรงกัน บอกบาดเจ็บ 57 ราย พร้อมแนะผู้สัมผัสแก๊สน้ำตาออกนอกพื้นที่ เผยเตรียมทีมแพทย์ฉุกเฉิน 22 ทีม พร้อมดูแลประชาชน ยันไม่หยุดงาน “หมอเพชรพงษ์” ยันพบโครงกระดูกในรถบัสหน้ารามฯ ไม่น่าจริง ชี้การเผาไหม้ต้องใช้เวลา
วันนี้ (1 ธ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ร่วมวางแผนกับศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร โดยจัดทีมแพทย์ร่วมกันเข้าไปให้บริการทุกพื้นที่ที่มีการชุมนุม เพื่อดูแลประชาชน และเจ้าหน้าที่อย่างทั่วถึงรวดเร็ว โดยเปิดวอร์รูมติดตามและประเมินสถานการณ์ ที่ สธ.และศูนย์สั่งการ ทีมแพทย์ฉุกเฉิน ที่โรงพยาบาลสงฆ์ อำนวยการประสานข้อมูลการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทีมกู้ชีพ การดูแลผู้เจ็บป่วย โรงพยาบาลที่รับส่งต่อ ขณะนี้เตรียมทีมแพทย์ฉุกเฉินไว้ 22 ทีม จาก 11 จังหวัดรอบๆ กทม.
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การดูแลผู้บาดเจ็บที่สัมผัสแก๊สน้ำตา เบื้องต้นคือการหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตาไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีลมพัดให้สารเคมีกระจายออกไป ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออกและใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด ร่างกายที่โดนแก๊สน้ำตาล้างด้วยน้ำสะอาด โดยพยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียกเพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกายได้ ในกรณีที่สารเคมีเข้าตาอาจจะใช้น้ำเกลือ เจือจางล้างออกแล้วรีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ อย่าใส่คอนแทกต์เลนส์ เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงใช้แก๊สน้ำตา เพราะถ้าสารเคมีเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างดวงตากับคอนแทกต์เลนส์จะก่อให้เกิดอันตรายได้
“อย่าหยิบลูกกระสุนหรือกระป๋องแก๊สน้ำตาชนิดขว้างที่ยังไม่ระเบิดขึ้นมา เพราะถ้าลูกกระสุนแก๊สน้ำตาระเบิดออกในมือจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ เคลื่อนตัวไปอยู่เหนือลม ปกป้องดวงตาด้วยการสวมแว่นตาว่ายน้ำหรือแว่นประเภทอื่นๆ ที่อากาศไม่สามารถเข้าได้ เตรียมผ้าชุบน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู เพื่อใช้ปิดจมูกและช่วยให้หายใจได้ในเวลาเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่” ปลัด สธ.กล่าว
เมื่อถามถึงการหยุดงานของ สธ. นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สธ.มีภาระหน้าที่ในการดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งประเทศ สถานการณ์เช่นนี้ได้มีการติดตามสถานการณ์ภาพรวมและตั้งเป็นศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ (วอร์รูม) 2 แห่ง คือ สธ. และ รพ.สงฆ์ โดยที่โรงพยาบาลสงฆ์เป็นการทำงานร่วมมือกับศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และภาคส่วนต่างๆ ในการติดตามสถานการณ์ทั้งหมด ที่สำคัญ สธ.เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลผู้ป่วย มีโรงพยาบาลในสังกัดกว่าพันแห่งทั่วประเทศ จึงไม่สามารถหยุดงานในวันที่ 2 ธ.ค.หรือวันใดๆ ได้ เพราะต้องดูแลผู้ป่วยทุกคน ไม่แบ่งแยก และเชื่อว่าทุกโรงพยาบาลก็คิดเช่นนั้น เพราะทุกคนล้วนเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนข้าราชการใน สธ.ที่ไม่ได้ประจำโรงพยาบาล หากจะหยุดก็ต้องพิจารณาว่าหยุดด้วยเหตุอันใด ต้องคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ควบคู่กัน
สำหรับ แก๊สน้ำตา (tear gas) เป็นคำรวมๆ ที่หมายถึง สารเคมีที่ออกฤทธิ์ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุตา ทำให้น้ำตาไหล แต่สามารถระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ทั้งที่ตา ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร รวมทั้งผิวหนังด้วย อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา ได้แก่ น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด ตาแดง น้ำมูกไหล จมูกบวมแดง ปากไหม้และระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหลย้อย แน่นหน้าอก ไอ รู้สึกอึดอัด หายใจมีเสียงดัง หายใจถี่ ผิวหนังไหม้ เป็นผื่น คลื่นไส้ อาเจียน
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.ในฐานะผู้บัญชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขรองรับสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง กล่าวภายหลังประชุมทางไกลนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยจากเหตุชุมนุมทางการเมือง ว่า ในพื้นที่เขต กทม.และที่ จ.นนทบุรี ซึ่งขณะนี้มีผู้ชุมนุมจำนวนมาก สธ.ทำงานเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ในส่วนพื้นที่ กทม.ได้ประสานการทำงานร่วมกับศูนย์เอราวัณกทม.อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สธ.ได้ตั้งศูนย์สั่งการทางการแพทย์ส่วนภูมิภาคขึ้นอีก 1 ศูนย์ เพื่อประสานงานจัดบริการทั้งทีมแพทย์กู้ชีพสนับสนุนรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว และรองรับการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บให้มีความปลอดภัยสูงสุด ในเย็นวันนี้ได้สั่งการเพิ่มทีมแพทย์กู้ชีพจาก 5 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี จำนวน 15 ทีม ให้เดินทางเพื่อสนับสนุนหน่วยแพทย์กู้ชีพในพื้นที่ กทม.และนนทบุรี สามารถเรียกสนับสนุนได้อีก
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันได้สั่งการโรงพยาบาลที่อยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบ กทม.สำรองเตียง คลังเลือด ห้องผ่าตัด ยาที่จำเป็น ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ทุกสาขา รองรับดูแลผู้เจ็บป่วยอย่างเต็มที่ ซึ่งจากการประชุมทางไกลทุกแห่งได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว และสามารถส่งทีมไปสนับสนุนตามที่กระทรวงสาธารณสุขร้องขอได้ทันที โดยจะมีการปรับบริการให้เหมาะสมและทันท่วงทีตามสถานการณ์ ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า จะให้บริการดูแลประชาชนอย่างมืออาชีพ ไม่มีวันหยุด และไม่เลือกปฏิบัติ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร ได้สรุปจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา ข้อมูล ณ เวลา 18.00 น.ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 46 ราย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 33 ราย รพ.กลาง 2 ราย รพ.ราชวิถี 5 ราย และ รพ.รามาธิบดี 6 ราย ส่วนเหตุปะทะระหว่างกลุ่ม นปช.และนักศึกษา ม.รามคำแหง บาดเจ็บ 58 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดย 2 รายแรกเสียชีวิตที่โรงพยาบาลรามคำแหง คือ นายทวีศักดิ์ โพธิแก้ว อายุ 21 ปี ถูกยิงที่ชายโครงขวา และนายวิษณุ เภาพู่ อายุ 26 ปี ถูกยิงที่บริเวณหน้าอก ส่วนอีก 1 รายคือ นายวิโรจน์ เข็มนาค อายุ 43 ปี ที่สถาบันนิติเวช สำหรับผู้บาดเจ็บอยู่ที่ รพ.รามคำแหง 6 ราย รพ.แพทย์ปัญญา 15 ราย รพ.เพชรเวช 4 ราย รพ.จุฬารัตน์ 9 1 ราย รพ.ราชวิถี 12 ราย รพ.วิภาราม 7 ราย รพ.รามาธิบดี 8 ราย รพ.คามิลเลียน 2 ราย รพ.นพรัตนราชธานี 1 ราย รพ.เปาโลโชคชัย 4 1 ราย และ รพ.พระมงกุฏเกล้า 1 ราย
ขณะที่ สธ.สรุปยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ณ เวลา 17.00 น.ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 118 ราย แบ่งเป็นบาดเจ็บจากเหตุปะทะบริเวณ ม.รามคำแหง 61 ราย เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุม 57 ราย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เดิมทีที่ศูนย์เอราวัณแจ้งมีผู้เสียชีวิต 4 ราย แต่กลับลดเหลือ 3 รายนั้น เพราะสามารถปั๊มหัวใจพลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ อายุ 22 ปี ที่เสียชีวิตที่ รพ.พระมงกุฏเกล้า ขึ้นมาได้ จึงมีผู้เสียชีวิตเพียง 3 ราย และบาดเจ็บ 58 ราย
สำหรับกรณีข่าวพบโครงกระดูกมนุษย์ ในรถบัสหน้า ม.รามคำแหง นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เชื่อว่าในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการเผาไหม้ร่างกายต้องใช้เวลา และความร้อนในปริมาณสูง ซึ่งเรื่องดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับเรื่องดังกล่าวเป็นตรวจสอบ
เมื่อเวลา 21.40 น. ศูนย์เอราวัณ แจ้งยอดผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา ข้อมูลเมื่อเวลา 21.00 น. ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 54 ราย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 33 ราย รพ.กลาง 2 ราย รพ.ราชวิถี 5 ราย รพ.รามาธิบดี 11 ราย และ รพ.พระมงกุฏเกล้า 3 ราย
วันนี้ (1 ธ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้ร่วมวางแผนกับศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร โดยจัดทีมแพทย์ร่วมกันเข้าไปให้บริการทุกพื้นที่ที่มีการชุมนุม เพื่อดูแลประชาชน และเจ้าหน้าที่อย่างทั่วถึงรวดเร็ว โดยเปิดวอร์รูมติดตามและประเมินสถานการณ์ ที่ สธ.และศูนย์สั่งการ ทีมแพทย์ฉุกเฉิน ที่โรงพยาบาลสงฆ์ อำนวยการประสานข้อมูลการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทีมกู้ชีพ การดูแลผู้เจ็บป่วย โรงพยาบาลที่รับส่งต่อ ขณะนี้เตรียมทีมแพทย์ฉุกเฉินไว้ 22 ทีม จาก 11 จังหวัดรอบๆ กทม.
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า การดูแลผู้บาดเจ็บที่สัมผัสแก๊สน้ำตา เบื้องต้นคือการหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตาไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีลมพัดให้สารเคมีกระจายออกไป ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออกและใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด ร่างกายที่โดนแก๊สน้ำตาล้างด้วยน้ำสะอาด โดยพยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียกเพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกายได้ ในกรณีที่สารเคมีเข้าตาอาจจะใช้น้ำเกลือ เจือจางล้างออกแล้วรีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ อย่าใส่คอนแทกต์เลนส์ เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงใช้แก๊สน้ำตา เพราะถ้าสารเคมีเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างดวงตากับคอนแทกต์เลนส์จะก่อให้เกิดอันตรายได้
“อย่าหยิบลูกกระสุนหรือกระป๋องแก๊สน้ำตาชนิดขว้างที่ยังไม่ระเบิดขึ้นมา เพราะถ้าลูกกระสุนแก๊สน้ำตาระเบิดออกในมือจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ เคลื่อนตัวไปอยู่เหนือลม ปกป้องดวงตาด้วยการสวมแว่นตาว่ายน้ำหรือแว่นประเภทอื่นๆ ที่อากาศไม่สามารถเข้าได้ เตรียมผ้าชุบน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู เพื่อใช้ปิดจมูกและช่วยให้หายใจได้ในเวลาเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่” ปลัด สธ.กล่าว
เมื่อถามถึงการหยุดงานของ สธ. นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สธ.มีภาระหน้าที่ในการดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งประเทศ สถานการณ์เช่นนี้ได้มีการติดตามสถานการณ์ภาพรวมและตั้งเป็นศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ (วอร์รูม) 2 แห่ง คือ สธ. และ รพ.สงฆ์ โดยที่โรงพยาบาลสงฆ์เป็นการทำงานร่วมมือกับศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และภาคส่วนต่างๆ ในการติดตามสถานการณ์ทั้งหมด ที่สำคัญ สธ.เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลผู้ป่วย มีโรงพยาบาลในสังกัดกว่าพันแห่งทั่วประเทศ จึงไม่สามารถหยุดงานในวันที่ 2 ธ.ค.หรือวันใดๆ ได้ เพราะต้องดูแลผู้ป่วยทุกคน ไม่แบ่งแยก และเชื่อว่าทุกโรงพยาบาลก็คิดเช่นนั้น เพราะทุกคนล้วนเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนข้าราชการใน สธ.ที่ไม่ได้ประจำโรงพยาบาล หากจะหยุดก็ต้องพิจารณาว่าหยุดด้วยเหตุอันใด ต้องคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ควบคู่กัน
สำหรับ แก๊สน้ำตา (tear gas) เป็นคำรวมๆ ที่หมายถึง สารเคมีที่ออกฤทธิ์ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุตา ทำให้น้ำตาไหล แต่สามารถระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ ทั้งที่ตา ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร รวมทั้งผิวหนังด้วย อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา ได้แก่ น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด ตาแดง น้ำมูกไหล จมูกบวมแดง ปากไหม้และระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหลย้อย แน่นหน้าอก ไอ รู้สึกอึดอัด หายใจมีเสียงดัง หายใจถี่ ผิวหนังไหม้ เป็นผื่น คลื่นไส้ อาเจียน
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.ในฐานะผู้บัญชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขรองรับสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง กล่าวภายหลังประชุมทางไกลนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยจากเหตุชุมนุมทางการเมือง ว่า ในพื้นที่เขต กทม.และที่ จ.นนทบุรี ซึ่งขณะนี้มีผู้ชุมนุมจำนวนมาก สธ.ทำงานเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ในส่วนพื้นที่ กทม.ได้ประสานการทำงานร่วมกับศูนย์เอราวัณกทม.อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สธ.ได้ตั้งศูนย์สั่งการทางการแพทย์ส่วนภูมิภาคขึ้นอีก 1 ศูนย์ เพื่อประสานงานจัดบริการทั้งทีมแพทย์กู้ชีพสนับสนุนรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว และรองรับการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บให้มีความปลอดภัยสูงสุด ในเย็นวันนี้ได้สั่งการเพิ่มทีมแพทย์กู้ชีพจาก 5 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี จำนวน 15 ทีม ให้เดินทางเพื่อสนับสนุนหน่วยแพทย์กู้ชีพในพื้นที่ กทม.และนนทบุรี สามารถเรียกสนับสนุนได้อีก
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันได้สั่งการโรงพยาบาลที่อยู่ในรัศมี 200 กิโลเมตรรอบ กทม.สำรองเตียง คลังเลือด ห้องผ่าตัด ยาที่จำเป็น ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ทุกสาขา รองรับดูแลผู้เจ็บป่วยอย่างเต็มที่ ซึ่งจากการประชุมทางไกลทุกแห่งได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว และสามารถส่งทีมไปสนับสนุนตามที่กระทรวงสาธารณสุขร้องขอได้ทันที โดยจะมีการปรับบริการให้เหมาะสมและทันท่วงทีตามสถานการณ์ ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่า จะให้บริการดูแลประชาชนอย่างมืออาชีพ ไม่มีวันหยุด และไม่เลือกปฏิบัติ
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร ได้สรุปจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา ข้อมูล ณ เวลา 18.00 น.ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 46 ราย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 33 ราย รพ.กลาง 2 ราย รพ.ราชวิถี 5 ราย และ รพ.รามาธิบดี 6 ราย ส่วนเหตุปะทะระหว่างกลุ่ม นปช.และนักศึกษา ม.รามคำแหง บาดเจ็บ 58 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดย 2 รายแรกเสียชีวิตที่โรงพยาบาลรามคำแหง คือ นายทวีศักดิ์ โพธิแก้ว อายุ 21 ปี ถูกยิงที่ชายโครงขวา และนายวิษณุ เภาพู่ อายุ 26 ปี ถูกยิงที่บริเวณหน้าอก ส่วนอีก 1 รายคือ นายวิโรจน์ เข็มนาค อายุ 43 ปี ที่สถาบันนิติเวช สำหรับผู้บาดเจ็บอยู่ที่ รพ.รามคำแหง 6 ราย รพ.แพทย์ปัญญา 15 ราย รพ.เพชรเวช 4 ราย รพ.จุฬารัตน์ 9 1 ราย รพ.ราชวิถี 12 ราย รพ.วิภาราม 7 ราย รพ.รามาธิบดี 8 ราย รพ.คามิลเลียน 2 ราย รพ.นพรัตนราชธานี 1 ราย รพ.เปาโลโชคชัย 4 1 ราย และ รพ.พระมงกุฏเกล้า 1 ราย
ขณะที่ สธ.สรุปยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ณ เวลา 17.00 น.ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 118 ราย แบ่งเป็นบาดเจ็บจากเหตุปะทะบริเวณ ม.รามคำแหง 61 ราย เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุม 57 ราย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า เดิมทีที่ศูนย์เอราวัณแจ้งมีผู้เสียชีวิต 4 ราย แต่กลับลดเหลือ 3 รายนั้น เพราะสามารถปั๊มหัวใจพลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ อายุ 22 ปี ที่เสียชีวิตที่ รพ.พระมงกุฏเกล้า ขึ้นมาได้ จึงมีผู้เสียชีวิตเพียง 3 ราย และบาดเจ็บ 58 ราย
สำหรับกรณีข่าวพบโครงกระดูกมนุษย์ ในรถบัสหน้า ม.รามคำแหง นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เชื่อว่าในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการเผาไหม้ร่างกายต้องใช้เวลา และความร้อนในปริมาณสูง ซึ่งเรื่องดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับเรื่องดังกล่าวเป็นตรวจสอบ
เมื่อเวลา 21.40 น. ศูนย์เอราวัณ แจ้งยอดผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา ข้อมูลเมื่อเวลา 21.00 น. ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 54 ราย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 33 ราย รพ.กลาง 2 ราย รพ.ราชวิถี 5 ราย รพ.รามาธิบดี 11 ราย และ รพ.พระมงกุฏเกล้า 3 ราย