สธ.เชื่อมระบบการแพทย์ฉุกเฉินกับ รพ.เอกชน 64 แห่ง พร้อมพัฒนาระบบอย่างสมบูรณ์แบบ ชี้ช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับบริการเร็วขึ้น ตั้งเป้าไปถึงจุดเกิดเหตุได้ใน 10 นาที ระบุหาก รพ.เอกชนเข้าร่วมมากขึ้น ระยะเวลาการรอคอยก็จะสั้นลง
วันนี้ (2 ต.ค.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กทม. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ 64 แห่ง เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและรองรับนักท่องเที่ยว เป็นเครือข่ายบริการร่วมกับโรงพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศ ในการปฏิบัติการช่วยชีวิตประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินในภาวะปกติและภาวะพิบัติภัย ว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยชีวิตเบื้องต้นโดยเร็วที่สุดและนำส่งโรงพยาบาลให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างปลอดภัยและทันการณ์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป สธ.ได้จัดระบบบริการดูแลประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายบริการเป็น 12 เครือข่าย และ กทม.ดูแลประชาชนเครือข่ายละ 5-7 ล้านคน ซึ่งมีขนาดพอเหมาะ จะทำให้บริการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical Hub) ของเอเชีย นอกจากจะสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพบริการด้านการรักษาพยาบาลของไทยแล้ว การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินจะเป็นการสร้างความมั่นใจทั้งประชาชนไทยและต่างชาติ ซึ่งในปีนี้ สธ.ได้รับความร่วมมือจาก รพ.เอกชนสมัครร่วมเป็นเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับภาครัฐ ภายใต้ศูนย์บัญชาการกู้ชีพ 1669 ที่มีจำนวน 98 ศูนย์ทั่วประเทศ จัดว่าเป็นการสร้างมาตรฐานบริการสุขภาพของไทย โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน และเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยตั้งเป้าทีมแพทย์กู้ชีพออกปฏิบัติการไปถึงจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็วภายใน 10 นาที ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และหากมี รพ.เอกชนเข้าร่วมอีกมั่นใจว่าจะให้บริการได้รวดเร็วขึ้น เพราะระยะทางสั้นขึ้น
ด้าน นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างภาครัฐและเอกชน อยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ มาตรฐานมีความแตกต่างกัน แต่หลังจากที่มีพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. 2551 แล้ว ได้กำหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินและแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้เข้าสู่ระบบเดียวกันภายใน พ.ศ.2559 โดยในปีที่ผ่านมา มีการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนทั้งหมด 1 ล้านกว่าครั้งและคาดว่ามีแนวโน้มมากขึ้นจากปัญหาอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคประจำตัวกำเริบ
นพ.อนุชา กล่าวอีกว่า ในการพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีทั้งหมด 321 แห่งทั่วประเทศให้เป็นเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินในปีแรกนี้ จะเน้นตามความพร้อมของโรงพยาบาล ซึ่งมีเข้าร่วมแล้ว 64 แห่ง โดยจะพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งบุคลากร มาตรฐานห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล เพื่อให้การบริการ มีความทั่วถึง รวดเร็ว และมีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง
วันนี้ (2 ต.ค.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กทม. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ 64 แห่ง เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและรองรับนักท่องเที่ยว เป็นเครือข่ายบริการร่วมกับโรงพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศ ในการปฏิบัติการช่วยชีวิตประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินในภาวะปกติและภาวะพิบัติภัย ว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยชีวิตเบื้องต้นโดยเร็วที่สุดและนำส่งโรงพยาบาลให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างปลอดภัยและทันการณ์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป สธ.ได้จัดระบบบริการดูแลประชาชนในรูปแบบของเครือข่ายบริการเป็น 12 เครือข่าย และ กทม.ดูแลประชาชนเครือข่ายละ 5-7 ล้านคน ซึ่งมีขนาดพอเหมาะ จะทำให้บริการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical Hub) ของเอเชีย นอกจากจะสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพบริการด้านการรักษาพยาบาลของไทยแล้ว การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินจะเป็นการสร้างความมั่นใจทั้งประชาชนไทยและต่างชาติ ซึ่งในปีนี้ สธ.ได้รับความร่วมมือจาก รพ.เอกชนสมัครร่วมเป็นเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับภาครัฐ ภายใต้ศูนย์บัญชาการกู้ชีพ 1669 ที่มีจำนวน 98 ศูนย์ทั่วประเทศ จัดว่าเป็นการสร้างมาตรฐานบริการสุขภาพของไทย โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน และเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยตั้งเป้าทีมแพทย์กู้ชีพออกปฏิบัติการไปถึงจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็วภายใน 10 นาที ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และหากมี รพ.เอกชนเข้าร่วมอีกมั่นใจว่าจะให้บริการได้รวดเร็วขึ้น เพราะระยะทางสั้นขึ้น
ด้าน นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างภาครัฐและเอกชน อยู่ในลักษณะต่างคนต่างทำ มาตรฐานมีความแตกต่างกัน แต่หลังจากที่มีพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. 2551 แล้ว ได้กำหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินและแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้เข้าสู่ระบบเดียวกันภายใน พ.ศ.2559 โดยในปีที่ผ่านมา มีการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนทั้งหมด 1 ล้านกว่าครั้งและคาดว่ามีแนวโน้มมากขึ้นจากปัญหาอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคประจำตัวกำเริบ
นพ.อนุชา กล่าวอีกว่า ในการพัฒนาโรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีทั้งหมด 321 แห่งทั่วประเทศให้เป็นเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินในปีแรกนี้ จะเน้นตามความพร้อมของโรงพยาบาล ซึ่งมีเข้าร่วมแล้ว 64 แห่ง โดยจะพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งบุคลากร มาตรฐานห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล เพื่อให้การบริการ มีความทั่วถึง รวดเร็ว และมีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง