สธ.สั่ง รพ.รัฐ-เอกชน 1,500 แห่งทั่วประเทศ รับมืออุบัติเหตุจราจร-เจ็บป่วยฉุกเฉิน 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ เผยใกล้ที่ไหนเข้ารักษาได้ทันที ไม่ต้องควักกระเป๋าก่อน พร้อมระดมแพทย์ผ่าตัดทุกสาขา และบุคลากรสาธารณสุขกว่า 100,000 คน ประจำ 24 ชั่วโมง จัดทีมแพทย์กู้ชีพพร้อมรถพยาบาลวันละ 4,915 คัน หวังช่วยทุกคนมีชีวิตรอดและปลอดภัย ย้ำ ปชช.โทร.แจ้งขอความช่วยเหลือได้ฟรีที่ 1669
วันนี้ (27 ธ.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กทม. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังแถลงข่าว “การเตรียมความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย ในการรับมืออุบัติเหตุจราจรและเจ็บป่วยฉุกเฉินในเทศกาลปีใหม่ ช่วงการรณรงค์ “7 วันอันตราย” ระหว่าง 27 ธันวาคม 2555 - 2 มกราคม 2556 ว่า ช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวันในเทศกาลปีใหม่ 2556 นี้ ปริมาณการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนเดินทางไปท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา รัฐบาลมีความห่วงใย และปรารถนาให้ประชาชนทุกคนได้ฉลองเทศกาลอย่างมีความสุข โดยมีมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร ทั้งการบังคับใช้กฎหมาย การรณรงค์กระตุ้นเตือนต่างๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่อย่างเต็มที่ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2555 จนถึง 2 มกราคม 2556 เนื่องจากเทศกาลปีใหม่ 2555 ที่ผ่านมา แม้จำนวนอุบัติเหตุและการบาดเจ็บลดลง แต่การเสียชีวิตยังลดลงไม่มาก เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง สาเหตุเกิดจากการขับรถเร็ว การไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และเมาแล้วขับ ในปี 2556 นี้ ตั้งเป้าลดจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสถิติช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 กล่าวคือลดจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุไม่เกิน 2,939 ครั้ง ผู้เสียชีวิตมีไม่เกิน 320 ราย และผู้บาดเจ็บไม่เกิน 3,207 ราย
“ในส่วนของ สธ.ปีนี้ได้จัดเตรียมความพร้อมเพื่อลดความรุนแรง ลดอัตราตาย และความพิการของผู้บาดเจ็บ-ผู้ป่วยฉุกเฉินให้ได้มากที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2555-2 มกราคม 2556 ได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาล ทั้งในสังกัด และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐอื่นๆ เช่น กลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 1,500 แห่ง ให้เตรียมพร้อมหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์รับแจ้งขอความช่วยเหลือ ระบบการดูแลรักษาในโรงพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล หากประชาชนบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินอันตรายถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ทันที ไม่ต้องควักเงินจ่ายสำรองแต่อย่างใด ตามนโยบายฉุกเฉินมาตรฐานเดียวของรัฐบาล” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ทั้งนี้ โรงพยาบาลทุกแห่ง ได้จัดเตรียมความพร้อม 2 ส่วนใหญ่ ประกอบด้วย 1.หน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินหรือหน่วยแพทย์กู้ชีพทุกระดับ ศูนย์สื่อสารรับแจ้งเหตุทุกเครือข่าย ทั้งทางโทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร สายด่วนโทรแจ้งเหตุ 1669 โดยมีรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมเครื่องมือแพทย์ปฏิบัติการวันละ 4,915 คัน บางแห่งติดระบบจีพีเอสด้วย สามารถออกไปให้การดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุหลังรับแจ้งภายใน 10 นาที ประชาชนโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์กู้ชีพได้ที่หมายเลข 1669 ตลอดเวลาฟรี
2.ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ได้จัดเตรียมอัตรากำลังแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อื่นๆ ประจำห้องฉุกเฉิน หรือ อีอาร์ (ER:Emergency Room) และประจำหอผู้ป่วยรวมจำนวนกว่า 100,000 คน พร้อมจัดศัลยแพทย์ หรือแพทย์ผ่าตัดทุกสาขาประจำการประมาณ 1,500 คน ตลอด 24 ชั่วโมง สำรองคลังเลือดทุกหมู่ อุปกรณ์การแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ สามารถทำการผ่าตัดได้ทันที และสำรองเตียงรองรับอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นจากปกติอีกร้อยละ 10 รวมทั้งหมด 7,243 เตียง มีศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการหนักไปรักษาอย่างรวดเร็ว 94 แห่ง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับเครือข่ายเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ชั้นสูง เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน (CT SCAN) จำนวน 310 เครื่อง และเครื่องตรวจอวัยวะด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) จำนวน 52 เครื่อง เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย ค้นหาความผิดปกติและรักษาได้อย่างรวดเร็ว มุ่งหวังช่วยชีวิตของผู้เจ็บป่วยให้รอดชีวิตและปลอดภัยที่สุด
“ขอย้ำเตือนประชาชนที่พบเห็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร หากเป็นไปได้ไม่ควรเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บเอง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแทรกซ้อนได้ เช่น เกิดความพิการ โดยเฉพาะในผู้ที่บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กระดูกต้นคอ ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีบาดแผลปรากฏให้เห็น จึงขอให้โทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จะเกิดความปลอดภัยกับผู้บาดเจ็บมากขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 จังหวัด และ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจเตือนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้าทุกจังหวัดทุกพื้นที่ ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ที่ห้าม เช่น วัด โรงเรียน สวนสาธารณะ ห้ามขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามขายโดยไม่มีใบอนุญาตขายสุรา เป็นต้น รวมทั้งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนถนนขณะขับขี่ หรือขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถ หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายอย่างไม่ละเว้น โดยได้เปิดสายด่วนรับแจ้งผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง ทางหมายเลข 1422 และ 0-2590-3342 ผลการสำรวจการขายสุราในสถานที่และเวลาห้ามขาย วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ใน 23 จังหวัด พบขายในปั๊มน้ำมันและสวนสาธารณะร้อยละ 8
วันนี้ (27 ธ.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กทม. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังแถลงข่าว “การเตรียมความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่าย ในการรับมืออุบัติเหตุจราจรและเจ็บป่วยฉุกเฉินในเทศกาลปีใหม่ ช่วงการรณรงค์ “7 วันอันตราย” ระหว่าง 27 ธันวาคม 2555 - 2 มกราคม 2556 ว่า ช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวันในเทศกาลปีใหม่ 2556 นี้ ปริมาณการใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนเดินทางไปท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา รัฐบาลมีความห่วงใย และปรารถนาให้ประชาชนทุกคนได้ฉลองเทศกาลอย่างมีความสุข โดยมีมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร ทั้งการบังคับใช้กฎหมาย การรณรงค์กระตุ้นเตือนต่างๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่อย่างเต็มที่ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2555 จนถึง 2 มกราคม 2556 เนื่องจากเทศกาลปีใหม่ 2555 ที่ผ่านมา แม้จำนวนอุบัติเหตุและการบาดเจ็บลดลง แต่การเสียชีวิตยังลดลงไม่มาก เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง สาเหตุเกิดจากการขับรถเร็ว การไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และเมาแล้วขับ ในปี 2556 นี้ ตั้งเป้าลดจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสถิติช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 กล่าวคือลดจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุไม่เกิน 2,939 ครั้ง ผู้เสียชีวิตมีไม่เกิน 320 ราย และผู้บาดเจ็บไม่เกิน 3,207 ราย
“ในส่วนของ สธ.ปีนี้ได้จัดเตรียมความพร้อมเพื่อลดความรุนแรง ลดอัตราตาย และความพิการของผู้บาดเจ็บ-ผู้ป่วยฉุกเฉินให้ได้มากที่สุด โดยตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2555-2 มกราคม 2556 ได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาล ทั้งในสังกัด และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลสังกัดภาครัฐอื่นๆ เช่น กลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งหมด 1,500 แห่ง ให้เตรียมพร้อมหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์รับแจ้งขอความช่วยเหลือ ระบบการดูแลรักษาในโรงพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล หากประชาชนบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินอันตรายถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ทันที ไม่ต้องควักเงินจ่ายสำรองแต่อย่างใด ตามนโยบายฉุกเฉินมาตรฐานเดียวของรัฐบาล” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ทั้งนี้ โรงพยาบาลทุกแห่ง ได้จัดเตรียมความพร้อม 2 ส่วนใหญ่ ประกอบด้วย 1.หน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินหรือหน่วยแพทย์กู้ชีพทุกระดับ ศูนย์สื่อสารรับแจ้งเหตุทุกเครือข่าย ทั้งทางโทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร สายด่วนโทรแจ้งเหตุ 1669 โดยมีรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมเครื่องมือแพทย์ปฏิบัติการวันละ 4,915 คัน บางแห่งติดระบบจีพีเอสด้วย สามารถออกไปให้การดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุหลังรับแจ้งภายใน 10 นาที ประชาชนโทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์กู้ชีพได้ที่หมายเลข 1669 ตลอดเวลาฟรี
2.ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉินระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ได้จัดเตรียมอัตรากำลังแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อื่นๆ ประจำห้องฉุกเฉิน หรือ อีอาร์ (ER:Emergency Room) และประจำหอผู้ป่วยรวมจำนวนกว่า 100,000 คน พร้อมจัดศัลยแพทย์ หรือแพทย์ผ่าตัดทุกสาขาประจำการประมาณ 1,500 คน ตลอด 24 ชั่วโมง สำรองคลังเลือดทุกหมู่ อุปกรณ์การแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ สามารถทำการผ่าตัดได้ทันที และสำรองเตียงรองรับอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นจากปกติอีกร้อยละ 10 รวมทั้งหมด 7,243 เตียง มีศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการหนักไปรักษาอย่างรวดเร็ว 94 แห่ง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับเครือข่ายเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ชั้นสูง เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน (CT SCAN) จำนวน 310 เครื่อง และเครื่องตรวจอวัยวะด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) จำนวน 52 เครื่อง เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย ค้นหาความผิดปกติและรักษาได้อย่างรวดเร็ว มุ่งหวังช่วยชีวิตของผู้เจ็บป่วยให้รอดชีวิตและปลอดภัยที่สุด
“ขอย้ำเตือนประชาชนที่พบเห็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร หากเป็นไปได้ไม่ควรเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บเอง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแทรกซ้อนได้ เช่น เกิดความพิการ โดยเฉพาะในผู้ที่บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กระดูกต้นคอ ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีบาดแผลปรากฏให้เห็น จึงขอให้โทรแจ้งขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จะเกิดความปลอดภัยกับผู้บาดเจ็บมากขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 จังหวัด และ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจเตือนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้าทุกจังหวัดทุกพื้นที่ ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ที่ห้าม เช่น วัด โรงเรียน สวนสาธารณะ ห้ามขายให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามขายโดยไม่มีใบอนุญาตขายสุรา เป็นต้น รวมทั้งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนถนนขณะขับขี่ หรือขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถ หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายอย่างไม่ละเว้น โดยได้เปิดสายด่วนรับแจ้งผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง ทางหมายเลข 1422 และ 0-2590-3342 ผลการสำรวจการขายสุราในสถานที่และเวลาห้ามขาย วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ใน 23 จังหวัด พบขายในปั๊มน้ำมันและสวนสาธารณะร้อยละ 8