นายกสมาคมพัฒนาประชากรฯ เสนอให้ “คุณแม่วัยทีน” ได้เรียนต่อในโรงเรียน ไม่ใช่เขี่ยทิ้งออกนอกระบบ ชี้คลอดแล้วก็ให้พาลูกมาเลี้ยงได้ มีเพื่อนๆ ช่วยกันเลี้ยง แนะนำร่อง ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์ ช่วยเด็กเรียนผลลัพธ์รู้ปัญหาท้องไม่พร้อม
นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กล่าวภายหลังปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาการเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Disease Detection : Bangkok) ว่า ในฐานะที่เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บอร์ด กพฐ.) เคยเสนอแนวทางแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมว่า ต้องดำเนินการทั้งป้องกันและรักษา โดยโรงเรียนที่มีนักเรียนท้องไม่พร้อมต้องให้เขาได้เรียนตามปกติ เมื่อคลอดแล้วสามารถนำลูกมาเลี้ยงที่โรงเรียนได้ โดยมีเพื่อนนักเรียนช่วยกันเลี้ยง เมื่อถึงเวลาให้นมก็สามารถให้นมได้ ไม่ใช่เขี่ยเด็กเหล่านี้ออกจากโรงเรียนเหมือนปัจจุบัน ซึ่งไม่ยุติธรรม
นายมีชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ก็ควรเปิดโอกาสให้เด็กที่ท้องเข้ามาอยู่และสอนให้เด็กคนอื่นๆ ช่วยดูแลแบบเป็นพี่เป็นน้อง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของเด็กที่ยังไม่ท้องด้วย เพราะจะได้เห็นตัวอย่างว่าเมื่อท้องไม่พร้อมแล้วเป็นอย่างไร รวมถึงต้องดึงสภานักเรียนเข้ามาอบรมและให้ความรู้ เพื่อช่วยเผยแพร่ไปยังเพื่อนๆ ที่สำคัญต้องอย่าทำให้เด็กผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมหมดอนาคต เกิดความรู้สึกสังคมรังเกียจ ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรต่างจากแม่เลย เพียงแต่เลือกคนและเวลายังไม่ถูกเท่านั้น
“การศึกษาและให้ความรู้เรื่องเพศศึกษายังอ่อนแอมาก การจะหวังให้มีการแก้ปัญหานี้สำเร็จเป็นเรื่องยาก จึงต้องเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ อย่าเพียงแค่ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เท่านั้น แต่ต้องดึงความร่วมมือจากหน่วยงานภาคเอกชนด้วย และในการแก้ปัญหาต้องกล้าที่จะคิดนอกกรอบ” นายมีชัย กล่าว
นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน กล่าวภายหลังปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาการเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Disease Detection : Bangkok) ว่า ในฐานะที่เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บอร์ด กพฐ.) เคยเสนอแนวทางแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมว่า ต้องดำเนินการทั้งป้องกันและรักษา โดยโรงเรียนที่มีนักเรียนท้องไม่พร้อมต้องให้เขาได้เรียนตามปกติ เมื่อคลอดแล้วสามารถนำลูกมาเลี้ยงที่โรงเรียนได้ โดยมีเพื่อนนักเรียนช่วยกันเลี้ยง เมื่อถึงเวลาให้นมก็สามารถให้นมได้ ไม่ใช่เขี่ยเด็กเหล่านี้ออกจากโรงเรียนเหมือนปัจจุบัน ซึ่งไม่ยุติธรรม
นายมีชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ก็ควรเปิดโอกาสให้เด็กที่ท้องเข้ามาอยู่และสอนให้เด็กคนอื่นๆ ช่วยดูแลแบบเป็นพี่เป็นน้อง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของเด็กที่ยังไม่ท้องด้วย เพราะจะได้เห็นตัวอย่างว่าเมื่อท้องไม่พร้อมแล้วเป็นอย่างไร รวมถึงต้องดึงสภานักเรียนเข้ามาอบรมและให้ความรู้ เพื่อช่วยเผยแพร่ไปยังเพื่อนๆ ที่สำคัญต้องอย่าทำให้เด็กผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมหมดอนาคต เกิดความรู้สึกสังคมรังเกียจ ทั้งที่เขาไม่ได้ทำอะไรต่างจากแม่เลย เพียงแต่เลือกคนและเวลายังไม่ถูกเท่านั้น
“การศึกษาและให้ความรู้เรื่องเพศศึกษายังอ่อนแอมาก การจะหวังให้มีการแก้ปัญหานี้สำเร็จเป็นเรื่องยาก จึงต้องเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ อย่าเพียงแค่ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เท่านั้น แต่ต้องดึงความร่วมมือจากหน่วยงานภาคเอกชนด้วย และในการแก้ปัญหาต้องกล้าที่จะคิดนอกกรอบ” นายมีชัย กล่าว