สธ. กำชับโรงพยาบาลทุกแห่งในพื้นที่เสี่ยงภาคใต้ ป้องกันน้ำท่วมโรงพยาบาล และเตรียมความพร้อมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชน พร้อมสำรองยาเวชภัณฑ์ชุดน้ำท่วมไว้ที่ส่วนกลาง 400,000 ชุด หากประชาชนป่วยฉุกเฉิน ให้โทร.ขอความช่วยเหลือที่สายด่วนกู้ชีพ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
วันนี้ (21 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนตั้งแต่วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2556 มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ใน 13 จังหวัดภาคใต้ ให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มนั้น ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ สำรวจและเตรียมความพร้อมป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล ขนย้ายเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย และให้เตรียมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยตลอดเวลา โดยหากประชาชนทุกพื้นที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทร.ขอความช่วยเหลือที่สายด่วนกู้ชีพ 1669 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ได้ให้ส่วนกลางสำรองยาชุดน้ำท่วม จำนวน 400,000 ชุด นอกจากนี้ยังให้แต่ละจังหวัดให้ประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนประชาชน โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่อเนื่อง ให้เก็บยาไว้ใกล้ตัว หากมีเหตุฉุกเฉินจะสามารถนำพกติดตัวไปได้ง่าย
ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ขอให้ประชาชนอย่าทิ้งขยะ อุจจาระ เศษอาหารลงในน้ำ ให้ใส่ถุงดำ มัดปากถุงให้แน่น หลังจากลุยน้ำให้รีบล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ และเก็บบ้านเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ งู เข้าไปอาศัย
วันนี้ (21 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนตั้งแต่วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2556 มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ใน 13 จังหวัดภาคใต้ ให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มนั้น ในส่วนกระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ สำรวจและเตรียมความพร้อมป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล ขนย้ายเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย และให้เตรียมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยตลอดเวลา โดยหากประชาชนทุกพื้นที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทร.ขอความช่วยเหลือที่สายด่วนกู้ชีพ 1669 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ได้ให้ส่วนกลางสำรองยาชุดน้ำท่วม จำนวน 400,000 ชุด นอกจากนี้ยังให้แต่ละจังหวัดให้ประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนประชาชน โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่อเนื่อง ให้เก็บยาไว้ใกล้ตัว หากมีเหตุฉุกเฉินจะสามารถนำพกติดตัวไปได้ง่าย
ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ขอให้ประชาชนอย่าทิ้งขยะ อุจจาระ เศษอาหารลงในน้ำ ให้ใส่ถุงดำ มัดปากถุงให้แน่น หลังจากลุยน้ำให้รีบล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ และเก็บบ้านเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ งู เข้าไปอาศัย