“จาตุรนต์” ย้ำศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิฉัยแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ต้น ชี้ศาลไม่ควรตัดสินเพื่อแก้ไขปัญหาการเมืองเฉพาะหน้า แต่ควรมองระยะยาวเพื่อไม่ให้บ้านเมืองปั่นป่วน พร้อมปัดสั่ง สกอ.สกัดมหา’ลัย ห้าม นศ.ร่วมชุมนุมทางการเมือง
วันนี้ (19 พ.ย.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีของศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ในวันที่ 20 พ.ย.ว่า ขณะนี้มีการวิเคราะห์หลายแบบและคาดการณ์ต่างๆ กัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาเพราะความจริงไม่ควรจะต้องวิเคราะห์อะไร เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณามาแต่ต้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญไปทึกทักตัดสินว่าตนเองมีอำนาจสามารถวินิจฉัยตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และยังเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลแล้วรับเรื่องไปดำเนินการทั้งที่ไม่มีมูลเลย เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนที่มาของ ส.ว.ไม่มีอะไรที่จะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือทำให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม โดยเนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่มีทางจะขัดกับมาตรา 68 และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจมาวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ชอบหรือไม่ชอบ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ หรือจะอ้างเหตุอื่นๆ ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งการทำแบบนี้คนจะมองได้ว่าเป็นการทำเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาทางการเมือง ซึ่งจะคล้ายกับเหตุการณ์ครั้งก่อน ที่อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงว่าต้องมีการพิจารณายุบพรรคการเมือง 4 พรรค เพราะฝ่ายค้านและรัฐบาลไม่จับมือกันแก้ไขสถานการณ์การเมืองเมื่อครั้งยึดสนามบิน เพราะฉะนั้นหากการตัดสินครั้งนี้ออกมาทางลบจะเข้าทำนองเดียวกัน แต่หากขั้นต่ำคือไม่ถึงขั้นยุบพรรค หรือถอนสิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ ส.ว.แต่ไม่ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผล เท่ากับศาลรัฐธรรมบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ไข ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในมาตรา 291 กำหนดให้แก้ไขได้ ซึ่งรัฐสภาก็ดำเนินการแก้ไขโดยยึดตามมาตรา 291 เพราะฉะนั้น ตนคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคราวนี้ไม่ควรคิดถึงการแก้ไขปัญหาการเมืองเฉพาะหน้า แต่ควรคิดถึงปัญหาระยะยาว คือ ทำอะไรโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญไม่มีหลักเกณฑ์บ้านเมืองจะยิ่งปั่นป่วนวุ่นวายบ้านเมืองจะยิ่งมีปัญหามากขึ้น
ถามว่า หากผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในทางลบกับแนวทางรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ทางรัฐบาลไม่ได้ปรึกษาหารือกันและยังไม่เห็นจะทำอะไรเพราะเลยขั้นตอนของรัฐบาลไปแล้ว ในส่วนของสภานั้นตนไม่ทราบ ทราบเพียงว่า ส.ส.จำนวนมากออกมาปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างมากเพราะเป็นวิกฤตมากเช่นกันหากตัดสินในทางลบ
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ศธ.สั่งกำชับผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ห้ามไม่ให้นิสิตนักศึกษาเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง โดยหากพบว่าใครเข้าร่วมจะไม่ได้เข้ารับปริญญาบัตร รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง และตนได้พูดชัดเจนกับ สกอ.และอธิการมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้พบเมื่อมีการหารือร่วมกันว่าเราเคารพในสิทธิเสรีภาพของมหาวิทยาลัย ทั้งผู้บริหาร ครูอาจารย์ และนักศึกษา และทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็บอกเองว่าที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัย ที่มีการเคลื่อนไหวคัดค้านทางการเมืองก็เป็นประเด็นการคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อหมดในประเด็นนี้ก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใดๆ เพราะฉะนั้น ศธ.ไม่มีนโยบายหรือกำชับมหาวิทยาลัยหรือขอความร่วมมืออะไรในการของการชุมนุมทางการเมืองทั้งสิ้น
ขณะที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ความจริง และเป็นไปไม่ได้ เพราะ สกอ.ไม่มีอำนาจพิจารณาหรืออนุมัติปริญญาบัตรให้นักศึกษาเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ยืนยันว่า สกอ.ไม่เคยมีประกาศหรือคำสั่งห้ามนักศึกษา บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วมชุมนุมใดๆ ก็ตาม เพราะเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล
วันนี้ (19 พ.ย.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีของศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ในวันที่ 20 พ.ย.ว่า ขณะนี้มีการวิเคราะห์หลายแบบและคาดการณ์ต่างๆ กัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาเพราะความจริงไม่ควรจะต้องวิเคราะห์อะไร เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณามาแต่ต้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญไปทึกทักตัดสินว่าตนเองมีอำนาจสามารถวินิจฉัยตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และยังเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีมูลแล้วรับเรื่องไปดำเนินการทั้งที่ไม่มีมูลเลย เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เปลี่ยนที่มาของ ส.ว.ไม่มีอะไรที่จะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือทำให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม โดยเนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่มีทางจะขัดกับมาตรา 68 และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจมาวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ชอบหรือไม่ชอบ สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ หรือจะอ้างเหตุอื่นๆ ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งการทำแบบนี้คนจะมองได้ว่าเป็นการทำเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาทางการเมือง ซึ่งจะคล้ายกับเหตุการณ์ครั้งก่อน ที่อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงว่าต้องมีการพิจารณายุบพรรคการเมือง 4 พรรค เพราะฝ่ายค้านและรัฐบาลไม่จับมือกันแก้ไขสถานการณ์การเมืองเมื่อครั้งยึดสนามบิน เพราะฉะนั้นหากการตัดสินครั้งนี้ออกมาทางลบจะเข้าทำนองเดียวกัน แต่หากขั้นต่ำคือไม่ถึงขั้นยุบพรรค หรือถอนสิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ ส.ว.แต่ไม่ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผล เท่ากับศาลรัฐธรรมบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ห้ามแก้ไข ซึ่งเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในมาตรา 291 กำหนดให้แก้ไขได้ ซึ่งรัฐสภาก็ดำเนินการแก้ไขโดยยึดตามมาตรา 291 เพราะฉะนั้น ตนคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคราวนี้ไม่ควรคิดถึงการแก้ไขปัญหาการเมืองเฉพาะหน้า แต่ควรคิดถึงปัญหาระยะยาว คือ ทำอะไรโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญไม่มีหลักเกณฑ์บ้านเมืองจะยิ่งปั่นป่วนวุ่นวายบ้านเมืองจะยิ่งมีปัญหามากขึ้น
ถามว่า หากผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาในทางลบกับแนวทางรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ทางรัฐบาลไม่ได้ปรึกษาหารือกันและยังไม่เห็นจะทำอะไรเพราะเลยขั้นตอนของรัฐบาลไปแล้ว ในส่วนของสภานั้นตนไม่ทราบ ทราบเพียงว่า ส.ส.จำนวนมากออกมาปฏิเสธอำนาจของศาลรัฐธรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างมากเพราะเป็นวิกฤตมากเช่นกันหากตัดสินในทางลบ
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ศธ.สั่งกำชับผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ห้ามไม่ให้นิสิตนักศึกษาเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง โดยหากพบว่าใครเข้าร่วมจะไม่ได้เข้ารับปริญญาบัตร รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง และตนได้พูดชัดเจนกับ สกอ.และอธิการมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้พบเมื่อมีการหารือร่วมกันว่าเราเคารพในสิทธิเสรีภาพของมหาวิทยาลัย ทั้งผู้บริหาร ครูอาจารย์ และนักศึกษา และทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็บอกเองว่าที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัย ที่มีการเคลื่อนไหวคัดค้านทางการเมืองก็เป็นประเด็นการคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อหมดในประเด็นนี้ก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใดๆ เพราะฉะนั้น ศธ.ไม่มีนโยบายหรือกำชับมหาวิทยาลัยหรือขอความร่วมมืออะไรในการของการชุมนุมทางการเมืองทั้งสิ้น
ขณะที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ความจริง และเป็นไปไม่ได้ เพราะ สกอ.ไม่มีอำนาจพิจารณาหรืออนุมัติปริญญาบัตรให้นักศึกษาเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ยืนยันว่า สกอ.ไม่เคยมีประกาศหรือคำสั่งห้ามนักศึกษา บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา เข้าร่วมชุมนุมใดๆ ก็ตาม เพราะเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล