“ประดิษฐ” เรียกหมอชนบทเข้าเจรจากรณีพีฟอร์พี หวั่นชุมนุม 20 พ.ย.ถูกโยงการเมือง เผยหากห้ามไม่ได้ต้องพิจารณาว่าผิดกฎข้าราชการหรือไม่ ไม่หวั่นหากปรับ ครม.ครั้งหน้าถูกปลดด้าน"สุภัทร" ยันชุมนุมตามเดิมชี้มีผู้ร่วมกว่า 500 คน
วันนี้ (18 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบท ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนเตรียมเดินขบวนบุกบ้านนายกรัฐมนตรี เพื่อประท้วงเรื่องค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ว่า ไม่สนับสนุนให้ทำแบบนั้น เพราะเรื่องพีฟอร์พี ต้องมาตกลงกันเองในกลุ่ม และความล่าช้าที่ยังไม่สามารถออกระเบียบในการปฏิบัติได้นั้น ไม่ใช่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่อยู่ที่วิชาชีพต่างๆ ซึ่งได้คุยกับปลัด สธ.ว่าหากสุดท้ายการหารือเรื่องค่าตอบแทนยังไม่ได้ข้อยุติ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หรือจะเป็นเพราะชมรมแพทย์ชนบทไม่ส่งตัวแทนเข้ามา ก็ต้องรอ โดยให้มีการประชุมในสัปดาห์หน้าอีกครั้ง เพื่อให้ชมรมแพทย์ชนบทเข้าร่วมให้ได้ และจะเปิดให้ทางสื่อมวลชนเข้าฟังด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาคือชมรมแพทย์ชนบทจะมาชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เรื่องนี้กำลังประสานเพื่อขอให้ทางชมรมแพทย์ชนบทมาหารือกันว่า ตกลงมีความประสงค์อะไร หากเรื่องค่าตอบแทนพีฟอร์พี ก็จะมีการหารือกันอยู่แล้ว ซึ่งไม่อยากให้เอาเรื่องนี้เป็นเหตุไปชุมนุม เพราะไม่สมควร ยิ่งในวันที่ 20 พฤศจิกายน เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเยอะ หากไปชุมนุมวันดังกล่าว เกรงว่าจะถูกคิดว่าเป็นการฉวยโอกาสทางการเมืองหรือไม่ จะเสียชื่อกัน จึงอยากให้มาคุยเป็นเรื่องภายในกระทรวง ไม่อยากให้มีภาพหลุดไปว่าวงการแพทย์ไปยุ่งกับการเมือง
“แต่หากจะชุมนุมกันจริงๆ คงทำอะไรไม่ได้ ทำได้เพียงมาพิจารณาว่าการชุมนุมผิดกฎหมายหรือไม่ จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนในเรื่องระเบียบราชการ ต้องมาพิจารณาว่าลามาอย่างถูกต้อง และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในวิชาชีพแพทย์หรือไม่ เชื่อว่าแพทย์ทุกคนมีจรรยาบรรณ ไม่ละทิ้งโรงพยาบาล ไม่ละทิ้งคนไข้” นพ.ประดิษฐ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีว่ากังวลหรือไม่ว่าการถูกคัดค้านครั้งนี้จะนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากไม่สามารถควบคุมบุคลากรในสังกัด สธ. นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ไม่กังวล ตนทำงานเต็มที่มาตลอด พูดเสมอว่า การปรับ ครม.เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนยอมรับ เพียงแต่ขณะมีหน้าที่อยู่ก็ต้องพยายามระงับไม่ให้กระทรวง ไปเชื่อมโยงกับการเมือง ซึ่งขณะนี้เชื่อมโยงกันหมด อย่างกรณีมีกลุ่มแพทย์ลงชื่อเพื่อยื่นถอดถอน ส.ส. ต้องถามกลับว่าใช่แพทย์ทั้งประเทศหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ จึงไม่ควรมา
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่จะเอาประเด็นการบริหารภายในกระทรวงไปเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีการหารือและทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางการทำงานนั้น ทุกคนสามารถเห็นต่างได้แต่จำเป็นต้องคุยกันด้วยเหตุและผล และช่วยกันแก้ปัญหาด้วยการหารือร่วมกัน ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ประสานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ให้เข้ามาร่วมพูดคุยกันแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ทราบเหตุผล อย่างไรก็ตาม ตนจะพยายามประสานและหารือนอกรอบกับชมรมแพทย์ชนบทต่อไป
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้(18 พ.ย.) ได้เชิญตัวแทนสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย ชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ชมรมทันตแพทย์ ชมรมผอ.รพ.ศ/รพ.ท ชมรมพยาบาล รพ.ศ./รพ.ท. ชมรมเภสัชกร มาหารือร่วมกันในเรื่อง เกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน โดยที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่า ตัวแทนที่มาถือเป็นสหวิชาชีพและถือเป็นเสียงจากประชาคมสาธารณสุข โดยมีการหารือกันและตั้งคณะทำงาน 3 ฝ่าย เพื่อจัดทำข้อสรุปโดยประชาคมสาธารณสุข มีมติคือ 1 เรื่องการเดินหน้าจัดทำประกาศค่าตอบแทนกรณีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ในทุกสาขาวิชาชีพ โดยให้ปรับใหม่เป็น ฉบับที่ 8.1 ให้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทน ในแต่ละวิชาชีพอย่างเท่าเทียม และ 2 การจัดทำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติตามตัวชี้วัดหรือ พีฟอร์พี ให้เพิ่มกรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามคุณภาพงาน หรือ พีคิวโอ ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนด้วย ซึ่งในที่ประชุมเห็นพ้องให้เดินหน้าเรื่องนี้ โดยมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 ต.ค. โดยตนจะเสนอเรื่องให้ นพ.ประดิษฐ รับทราบต่อไป
ด้านนางจงกล อินทรสาร ประธานชมรมผู้บริหารการพยาบาล รพ.ชุมชน กล่าวว่า ในที่ประชุมถือเป็นมติส่วนใหญ่ โดยในส่วนวิชาชีพพยาบาลชุมชนเห็นด้วยที่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ทั้ง ฉบับ 8 และ ฉบับ 9 เนื่องจากแต่เดิมเรื่องเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่สร้างความเท่าเทียม เพราะพยาบาลมีจำนวนมาก เนื่องจากมีภาระงานมาก บางครั้งต้องทำงานแทนบางวิชาชีพ เดิมทีทำงานมามากกว่า 3 ปี จะได้รับเบี้ยเลี้ยงเพียง 1,800 บาท ขณะที่วิชาชีพอื่นได้มากกว่าหลายเท่า แต่เมื่อมีการพิจารณาเรื่องเบี้ยเลี้ยงใหม่ ก็อยากให้มีความเป็นธรรมขึ้น โดยล่าสุดมีการระบุว่า หากทำงานเกิน 10 ปีขึ้นไป จาก 1,800 บาทจะได้รับเพิ่มเป็น 2,400 บาท ซึ่งถือว่ารับได้
“หากจะมีกลุ่มไหนมาร้องเพื่อไม่เอามตินี้ ก็ต้องถามว่า เป้าหมายคืออะไร หากเป้าหมาย คือ เพื่อค่าตอบแทนที่เป็นไปตามภาระงาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว”นางจงกล กล่าว
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา และกรรมการชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ยืนยันว่าจะเดินทางไปประท้วงที่หน้าบ้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 20 พ.ย. ตามเดิม โดยขณะนี้ รพ.พื้นที่ ใน จ.ภาคใต้ ได้นัดหมายว่าจะมาประมาณ 500 คน โดยจะเดินทางมาเจอกันในส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า การเดินทางมาในครั้งนี้จะไม่กระทบต่อการให้บริการผู้ป่วย เพราะจะมีบุคลากรที่ยังประจำอยู่ในโรงพยาบาล เช่น รพ.จะนะ มีบุคลากรกว่า 200 คน เบื้องต้นจะเข้าร่วมเดินทางมาประท้วงประมาณ 20 คน
วันนี้ (18 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีชมรมแพทย์ชนบท ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนเตรียมเดินขบวนบุกบ้านนายกรัฐมนตรี เพื่อประท้วงเรื่องค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ว่า ไม่สนับสนุนให้ทำแบบนั้น เพราะเรื่องพีฟอร์พี ต้องมาตกลงกันเองในกลุ่ม และความล่าช้าที่ยังไม่สามารถออกระเบียบในการปฏิบัติได้นั้น ไม่ใช่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่อยู่ที่วิชาชีพต่างๆ ซึ่งได้คุยกับปลัด สธ.ว่าหากสุดท้ายการหารือเรื่องค่าตอบแทนยังไม่ได้ข้อยุติ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หรือจะเป็นเพราะชมรมแพทย์ชนบทไม่ส่งตัวแทนเข้ามา ก็ต้องรอ โดยให้มีการประชุมในสัปดาห์หน้าอีกครั้ง เพื่อให้ชมรมแพทย์ชนบทเข้าร่วมให้ได้ และจะเปิดให้ทางสื่อมวลชนเข้าฟังด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาคือชมรมแพทย์ชนบทจะมาชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เรื่องนี้กำลังประสานเพื่อขอให้ทางชมรมแพทย์ชนบทมาหารือกันว่า ตกลงมีความประสงค์อะไร หากเรื่องค่าตอบแทนพีฟอร์พี ก็จะมีการหารือกันอยู่แล้ว ซึ่งไม่อยากให้เอาเรื่องนี้เป็นเหตุไปชุมนุม เพราะไม่สมควร ยิ่งในวันที่ 20 พฤศจิกายน เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเยอะ หากไปชุมนุมวันดังกล่าว เกรงว่าจะถูกคิดว่าเป็นการฉวยโอกาสทางการเมืองหรือไม่ จะเสียชื่อกัน จึงอยากให้มาคุยเป็นเรื่องภายในกระทรวง ไม่อยากให้มีภาพหลุดไปว่าวงการแพทย์ไปยุ่งกับการเมือง
“แต่หากจะชุมนุมกันจริงๆ คงทำอะไรไม่ได้ ทำได้เพียงมาพิจารณาว่าการชุมนุมผิดกฎหมายหรือไม่ จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนในเรื่องระเบียบราชการ ต้องมาพิจารณาว่าลามาอย่างถูกต้อง และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในวิชาชีพแพทย์หรือไม่ เชื่อว่าแพทย์ทุกคนมีจรรยาบรรณ ไม่ละทิ้งโรงพยาบาล ไม่ละทิ้งคนไข้” นพ.ประดิษฐ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีว่ากังวลหรือไม่ว่าการถูกคัดค้านครั้งนี้จะนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากไม่สามารถควบคุมบุคลากรในสังกัด สธ. นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ไม่กังวล ตนทำงานเต็มที่มาตลอด พูดเสมอว่า การปรับ ครม.เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนยอมรับ เพียงแต่ขณะมีหน้าที่อยู่ก็ต้องพยายามระงับไม่ให้กระทรวง ไปเชื่อมโยงกับการเมือง ซึ่งขณะนี้เชื่อมโยงกันหมด อย่างกรณีมีกลุ่มแพทย์ลงชื่อเพื่อยื่นถอดถอน ส.ส. ต้องถามกลับว่าใช่แพทย์ทั้งประเทศหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่ จึงไม่ควรมา
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่จะเอาประเด็นการบริหารภายในกระทรวงไปเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีการหารือและทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางการทำงานนั้น ทุกคนสามารถเห็นต่างได้แต่จำเป็นต้องคุยกันด้วยเหตุและผล และช่วยกันแก้ปัญหาด้วยการหารือร่วมกัน ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ประสานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ให้เข้ามาร่วมพูดคุยกันแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ทราบเหตุผล อย่างไรก็ตาม ตนจะพยายามประสานและหารือนอกรอบกับชมรมแพทย์ชนบทต่อไป
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้(18 พ.ย.) ได้เชิญตัวแทนสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย ชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ชมรมทันตแพทย์ ชมรมผอ.รพ.ศ/รพ.ท ชมรมพยาบาล รพ.ศ./รพ.ท. ชมรมเภสัชกร มาหารือร่วมกันในเรื่อง เกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน โดยที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่า ตัวแทนที่มาถือเป็นสหวิชาชีพและถือเป็นเสียงจากประชาคมสาธารณสุข โดยมีการหารือกันและตั้งคณะทำงาน 3 ฝ่าย เพื่อจัดทำข้อสรุปโดยประชาคมสาธารณสุข มีมติคือ 1 เรื่องการเดินหน้าจัดทำประกาศค่าตอบแทนกรณีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ในทุกสาขาวิชาชีพ โดยให้ปรับใหม่เป็น ฉบับที่ 8.1 ให้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทน ในแต่ละวิชาชีพอย่างเท่าเทียม และ 2 การจัดทำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติตามตัวชี้วัดหรือ พีฟอร์พี ให้เพิ่มกรณีการจ่ายค่าตอบแทนตามคุณภาพงาน หรือ พีคิวโอ ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนด้วย ซึ่งในที่ประชุมเห็นพ้องให้เดินหน้าเรื่องนี้ โดยมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 ต.ค. โดยตนจะเสนอเรื่องให้ นพ.ประดิษฐ รับทราบต่อไป
ด้านนางจงกล อินทรสาร ประธานชมรมผู้บริหารการพยาบาล รพ.ชุมชน กล่าวว่า ในที่ประชุมถือเป็นมติส่วนใหญ่ โดยในส่วนวิชาชีพพยาบาลชุมชนเห็นด้วยที่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ทั้ง ฉบับ 8 และ ฉบับ 9 เนื่องจากแต่เดิมเรื่องเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่สร้างความเท่าเทียม เพราะพยาบาลมีจำนวนมาก เนื่องจากมีภาระงานมาก บางครั้งต้องทำงานแทนบางวิชาชีพ เดิมทีทำงานมามากกว่า 3 ปี จะได้รับเบี้ยเลี้ยงเพียง 1,800 บาท ขณะที่วิชาชีพอื่นได้มากกว่าหลายเท่า แต่เมื่อมีการพิจารณาเรื่องเบี้ยเลี้ยงใหม่ ก็อยากให้มีความเป็นธรรมขึ้น โดยล่าสุดมีการระบุว่า หากทำงานเกิน 10 ปีขึ้นไป จาก 1,800 บาทจะได้รับเพิ่มเป็น 2,400 บาท ซึ่งถือว่ารับได้
“หากจะมีกลุ่มไหนมาร้องเพื่อไม่เอามตินี้ ก็ต้องถามว่า เป้าหมายคืออะไร หากเป้าหมาย คือ เพื่อค่าตอบแทนที่เป็นไปตามภาระงาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว”นางจงกล กล่าว
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา และกรรมการชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ยืนยันว่าจะเดินทางไปประท้วงที่หน้าบ้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 20 พ.ย. ตามเดิม โดยขณะนี้ รพ.พื้นที่ ใน จ.ภาคใต้ ได้นัดหมายว่าจะมาประมาณ 500 คน โดยจะเดินทางมาเจอกันในส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า การเดินทางมาในครั้งนี้จะไม่กระทบต่อการให้บริการผู้ป่วย เพราะจะมีบุคลากรที่ยังประจำอยู่ในโรงพยาบาล เช่น รพ.จะนะ มีบุคลากรกว่า 200 คน เบื้องต้นจะเข้าร่วมเดินทางมาประท้วงประมาณ 20 คน