xs
xsm
sm
md
lg

“ปวีณา” เผยเตรียมปรับกฎหมายให้เข้ากับเหตุความรุนแรงต่อเด็ก-สตรี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“ปวีณา” เล็งปรับกฎหมายความุรนแรงในครอบครัว หวังแก้ปัญหาอย่างเต็มประสิทธิภาพเร่งอบรมเจ้าหน้าที่ให้เกิดความเข้าใจระบุบางกรณีเกินกว่าประนีประนอม

วันนี้ (18 พ.ย.) ที่โรงแรมปริ๊นพาเลซ นางปวีณา หงสกุล รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่าภายหลังการเป็นประธานเปิดงานสัมนาเรื่อง “เดินหน้าแลหลัง 6 ปี กับการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวแก้ปัญหาได้จริงหรือ” ว่า เนื่องจากวันที่ 25 พ.ย.ของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี พม.และสภาสตรีแห่งชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อทบทวนสภาวการณ์ความรุนแรง กฎหมายที่เกี่ยวข้องและระดมความคิด เพื่อหาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึก ร่วมใจต่อต้านและขจัดภัยความรุนแรงทุกรูปแบบให้น้อยลง รวมทั้งเป็นการป้องกันคุ้มครองสตรีและครอบครัวจากการกระทำความรุนแรง และส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็งมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

นางปวีณา กล่าวต่อว่าปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพเด็กและสตรี ส่งผลให้ครอบครัวต้องแบกรับภาระ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินคดี การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟู ทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ ดังนั้นจึงทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการแก้ปัญหาดังกล่าว รวมทั้งทำให้ศักยภาพมนุษย์ลดลง อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 กลับพบว่าสถานการณ์ความรุนแรงไม่ได้ลดลง แต่กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไทยติดอันดับ 2 จาก 75 ประเทศ ที่สตรีได้รับความรุนแรง ทั้งนี้อาจจะเกิดจากกฎหมายยังมีความคลุมครือไม่ชัดเจน ผู้ถูกกระทำขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานยังจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงได้อย่างจริงจัง ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีการอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้เข้าใจว่ากรณีใดที่สามารถประณีประณอม และกรณีใดต้องใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับคดีได้ แต่ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเหตุการณ์ความรุนแรงมากน้อยแค่ไหนเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะให้ประนีประนอมทั้งสิ้น ซึ่งตนเห็นว่าไม่ถูกต้องดังนั้นอาจจะต้องมีการกำหนดกรณีความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าควรจะใช้กฎหมายใดเข้าแก้ไข และในอนาคตอาจจะต้องปรับเพิ่มเติม รวมทั้งทบทวนกฎหมายที่มีอยู่ให้มากกว่านี้ ทั้งนี้เพื่อการทำงานจะได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น