กสร.เร่งร่างมาตรฐานแรงงานไทย เชื่อช่วยแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และใช้แรงงานเด็กได้ คาดเสร็จ ม.ค. 2557 จ่อเรียกกลุ่มธุรกิจอ้อย ล้งกุ้ง ล้งปลา เรียกทำความเข้าใจ พร้อมออกตรวจเยี่ยม หากไม่มีแรงงานเด็กจะออกใบรับรอง
วันนี้ (14 พ.ย.) นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กนั้น ในวันที่ 29 พ.ย.จะเชิญผู้ประกอบการในธุรกิจอ้อย ผู้ประกอบกิจการแปรรูปและเก็บถนอมอาหารทะเล หรือล้ง ทั้งล้งกุ้ง ล้งปลา และกิจการทางด้านประมงมา เพื่อทำความเข้าใจและให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาจากการใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือและทำสัตยาบันกับนายจ้างที่มีความพร้อม โดย กสร.จะออกตรวจเยี่ยมสถานประกอบการว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็กตามที่แจ้ง จากนั้นจะออกหนังสือรับรองว่าสถานประกอบการแห่งนี้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กเพื่อให้คู่ค้าเกิดความมั่นใจว่าซื้อสินค้าจากโรงงานที่มีการประกอบการที่ดี
นายพานิช กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีเพียงมาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย (มรท.) 8001 - 2553 ที่ให้สถานประกอบการต่างๆ นำไปปฏิบัติใช้เท่านั้น ซึ่งส่วนมากสถานประกอบการที่สามารถปฏิบัติได้มักจะเป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ จึงมีแนวความคิดจะจัดทำ มรท.เพิ่มเติมให้ครอบคลุมการปฏิบัติของสถานประกอบการ ได้แก่ มรท.ด้านการใช้แรงงานที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ เป็นต้น มรท.ด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย มรท.โรงงานสีขาว ซึ่งคิดว่าน่าจะร่าง มรท.ทั้ง 3 ฉบับเสร็จภายใน ม.ค. 2557 จากนั้นจะเสนอต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้พิจารณาและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
วันนี้ (14 พ.ย.) นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กนั้น ในวันที่ 29 พ.ย.จะเชิญผู้ประกอบการในธุรกิจอ้อย ผู้ประกอบกิจการแปรรูปและเก็บถนอมอาหารทะเล หรือล้ง ทั้งล้งกุ้ง ล้งปลา และกิจการทางด้านประมงมา เพื่อทำความเข้าใจและให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาจากการใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือและทำสัตยาบันกับนายจ้างที่มีความพร้อม โดย กสร.จะออกตรวจเยี่ยมสถานประกอบการว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็กตามที่แจ้ง จากนั้นจะออกหนังสือรับรองว่าสถานประกอบการแห่งนี้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กเพื่อให้คู่ค้าเกิดความมั่นใจว่าซื้อสินค้าจากโรงงานที่มีการประกอบการที่ดี
นายพานิช กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีเพียงมาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย (มรท.) 8001 - 2553 ที่ให้สถานประกอบการต่างๆ นำไปปฏิบัติใช้เท่านั้น ซึ่งส่วนมากสถานประกอบการที่สามารถปฏิบัติได้มักจะเป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ จึงมีแนวความคิดจะจัดทำ มรท.เพิ่มเติมให้ครอบคลุมการปฏิบัติของสถานประกอบการ ได้แก่ มรท.ด้านการใช้แรงงานที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ เป็นต้น มรท.ด้านความปลอดภัยและชีวอนามัย มรท.โรงงานสีขาว ซึ่งคิดว่าน่าจะร่าง มรท.ทั้ง 3 ฉบับเสร็จภายใน ม.ค. 2557 จากนั้นจะเสนอต่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้พิจารณาและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป