เห็นกลุ่มคนต่างๆ ออกมาร่วมกันต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยแล้ว ก็ให้ปลื้มใจที่คนไทยไม่ยอมให้มีการออกกฎหมายเพื่อล้างผิด ซักฟอกคนโกง พลิกดำให้เป็นขาว โดยเฉพาะคนที่ไร้หนทางกลับบ้าน อย่างไรก็ตาม แม้จะรวมใจสามัคคี แต่ผลการพิจารณาของวุฒิสภาต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความตึงเครียดทางการเมืองย่อมอาจเกิดขึ้นต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในช่วงนี้ได้ ซึ่ง นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในวันที่ 11 พ.ย.ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นเช่นไรนั้นย่อมมีคนที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องยอมรับว่า กรณีที่เกิดขึ้นประชาชนต่างมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ แต่เราคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การคาดการณ์ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจะยิ่งทำให้เราวิตกกังวลและเครียด อาจส่งผลให้เกิดโรคเครียดทางการเมืองได้ (Political Stress Syndrome : PSS) โดยมีอาการ ดังนี้ อาการทางกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือตามแขนขา นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย
อาการทางใจ ได้แก่ วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป และปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัว โดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลางถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้ มีการเอาชนะทางความคิดแม้กับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพ เกิดการใช้กำลังและความรุนแรงขึ้นได้ ซึ่งความเครียดลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกกลุ่ม ทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสาร และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต
เพื่อให้คนไทยรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง ASTVผู้จัดการออนไลน์ มีวิธีสังเกตและประเมินความเครียดทางการเมืองด้วยตนเอง ซึ่งจัดทำโดยกรมสุขภาพจิต เพียงแค่ตอบคำถามต่อไปนี้
1.ท่านรู้สึกกังวลเมื่อต้องแสดงความเห็นทางการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
2.ท่านรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
3.การรับรู้เหตุการณ์ทางการเมืองทำให้ท่านรู้สึกหงุดหงิด/โกรธ/โมโหง่าย
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
4.เหตุการณ์ทางการเมืองทำให้ท่านนอนไม่หลับหรือหลับยาก
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
5.ท่านไม่มีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจวัตรต่างๆ เมื่อนึกถึงการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
6.การเมืองทำให้ท่านทะเลาะหรือโต้เถียงกับคนอื่น
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
7.ท่านรู้สึกใจสั่นเมื่อรับรู้เหตุการณ์ทางการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
8.ท่านคิดวนเวียนเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
ทั้งนี้ หากคะแนนรวมได้ตั้งแต่ 9 คะแนนขึ้นไป ถือว่ามีเครียดรุนแรง ควรได้รับคำแนะนำจากบุคลากรด้านสุขภาพจิต
ด้วยเหตุนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความตึงเครียดทางการเมืองย่อมอาจเกิดขึ้นต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในช่วงนี้ได้ ซึ่ง นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในวันที่ 11 พ.ย.ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นเช่นไรนั้นย่อมมีคนที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องยอมรับว่า กรณีที่เกิดขึ้นประชาชนต่างมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ แต่เราคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การคาดการณ์ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจะยิ่งทำให้เราวิตกกังวลและเครียด อาจส่งผลให้เกิดโรคเครียดทางการเมืองได้ (Political Stress Syndrome : PSS) โดยมีอาการ ดังนี้ อาการทางกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือตามแขนขา นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย
อาการทางใจ ได้แก่ วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป และปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัว โดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลางถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้ มีการเอาชนะทางความคิดแม้กับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพ เกิดการใช้กำลังและความรุนแรงขึ้นได้ ซึ่งความเครียดลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกกลุ่ม ทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสาร และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต
เพื่อให้คนไทยรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง ASTVผู้จัดการออนไลน์ มีวิธีสังเกตและประเมินความเครียดทางการเมืองด้วยตนเอง ซึ่งจัดทำโดยกรมสุขภาพจิต เพียงแค่ตอบคำถามต่อไปนี้
1.ท่านรู้สึกกังวลเมื่อต้องแสดงความเห็นทางการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
2.ท่านรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
3.การรับรู้เหตุการณ์ทางการเมืองทำให้ท่านรู้สึกหงุดหงิด/โกรธ/โมโหง่าย
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
4.เหตุการณ์ทางการเมืองทำให้ท่านนอนไม่หลับหรือหลับยาก
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
5.ท่านไม่มีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจวัตรต่างๆ เมื่อนึกถึงการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
6.การเมืองทำให้ท่านทะเลาะหรือโต้เถียงกับคนอื่น
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
7.ท่านรู้สึกใจสั่นเมื่อรับรู้เหตุการณ์ทางการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
8.ท่านคิดวนเวียนเรื่องสถานการณ์ทางการเมือง
ไม่มี (0) มีบางครั้ง (1) มีบ่อย (2) มีทุกวัน (3)
ทั้งนี้ หากคะแนนรวมได้ตั้งแต่ 9 คะแนนขึ้นไป ถือว่ามีเครียดรุนแรง ควรได้รับคำแนะนำจากบุคลากรด้านสุขภาพจิต