สธ.เตือนพลุ ดอกไม้ไฟ ประทัด อันตรายเพียบ พบเด็กและวัยรุ่นเล่นแผลงๆ จนได้รับบาดเจ็บ ระบุสารเคมีแต่ละตัวมีผลกระทบอื้อ แถมส่งผลต่อการได้ยิน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า แม้ปีที่ผ่านมาจะมีมาตรการควบคุมการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัด แต่ก็เกิดอุบัติหตุจนได้รับบาดเจ็บทุกปี เพราะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่เล่นไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ที่เล่นอย่างคึกคะนอง ผาดโผน ไม่ถูกวิธี และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนเกิดอันตรายต่อร่างกายและความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพราะพลุและดอกไม้ไฟประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด เช่น สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ ได้แก่ สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซียม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่งและควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้แก่ แป้ง และเชลแล็ค เป็นต้น
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สารเคมีในพลุและดอกไม้ไฟจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากมีการสัมผัสโดยตรงหรือสูดดมเข้าสู่ร่างกาย เช่น สารแบเรียมไนเตรท โปแตสเซียมคลอเรต โปแตสเซียมไนเตรท จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน หากหายใจจะระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือที่มีเสียงดังมากๆ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะเกือบทุกชนิดก่อให้เกิดเสียงดังมีระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และหากอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังเช่นนี้เป็นเวลานานจะทำให้หูตึงถาวรได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตหรือสุขภาพจิตด้วย ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมีความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้หรือตาบอดได้
“ผู้เล่นไม่ควรจุดพลุและดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ แหล่งที่ก่อเกิดประกายไฟ หรือบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะเด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หากเล่นโดยประมาทอาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ทางที่ดีคือควรงดเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัดโดยเด็ดขาด จะช่วยลดอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า แม้ปีที่ผ่านมาจะมีมาตรการควบคุมการเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัด แต่ก็เกิดอุบัติหตุจนได้รับบาดเจ็บทุกปี เพราะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่เล่นไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ที่เล่นอย่างคึกคะนอง ผาดโผน ไม่ถูกวิธี และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนเกิดอันตรายต่อร่างกายและความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพราะพลุและดอกไม้ไฟประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด เช่น สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ ได้แก่ สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซียม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่งและควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้แก่ แป้ง และเชลแล็ค เป็นต้น
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สารเคมีในพลุและดอกไม้ไฟจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากมีการสัมผัสโดยตรงหรือสูดดมเข้าสู่ร่างกาย เช่น สารแบเรียมไนเตรท โปแตสเซียมคลอเรต โปแตสเซียมไนเตรท จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน หากหายใจจะระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือที่มีเสียงดังมากๆ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะเกือบทุกชนิดก่อให้เกิดเสียงดังมีระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และหากอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังเช่นนี้เป็นเวลานานจะทำให้หูตึงถาวรได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตหรือสุขภาพจิตด้วย ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมีความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้หรือตาบอดได้
“ผู้เล่นไม่ควรจุดพลุและดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ แหล่งที่ก่อเกิดประกายไฟ หรือบ้านเรือนประชาชน โดยเฉพาะเด็กควรอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หากเล่นโดยประมาทอาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ทางที่ดีคือควรงดเล่นพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัดโดยเด็ดขาด จะช่วยลดอุบัติเหตุและโศกนาฏกรรมได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว