ครั้งแรกในไทย! กรมวิทย์พัฒนาชุดทดสอบสารรมควันในข้าว ใช้เวลา 10-20 นาทีรู้ผล หากแถบทดสอบเปลี่ยนเป็นสีดำ ตกค้างแน่นอน แต่ปริมาณตกค้างเท่าไรต้องพิสูจน์ในแล็บ เตรียมแจกผู้ประกอบการทดลองใช้ 4 พ.ย.พร้อมเผยผลตรวจสอบสารตกค้างในข้าวตลอด 4 เดือน หลังพบ ก.ย.มอดเยอะ หวั่นดื้อสารรมควัน เบื้องต้นเจอเกินมาตรฐานแล้ว 6 ราย
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรมฯได้เชิญสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทยกว่า 100 ราย มาร่วมฟังแนวทางการผลิตและบรรจุข้าวถุงให้ปลอดภัย ไร้สารรมควันตกค้าง ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ โดยมีเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรมาให้ข้อมูล ซึ่งในวันดังกล่าว กรมฯจะเปิดตัวชุดทดสอบสารตกค้างในข้าวสารอย่างง่าย ซึ่งพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลางได้ทำการทดสอบเบื้องต้นว่า ข้าวสารปลอดสารรมควันตกค้างหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจยิ่งขึ้น โดยวันนั้นจะแจกชุดทดสอบให้แก่ผู้ประกอบการในการทดลองใช้ด้วย
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า ชุดทดสอบนี้นับเป็นชุดทดสอบชุดแรกของไทยในการตรวจหาสารฟอสฟีน (Phosphine) หรือ ไฮโดรเจน ฟอสไฟต์ ซึ่งเป็นสารรมควันในยุ้งฉางเก็บข้าวหรือธัญพืช แต่เป็นการตรวจหาเบื้องต้นว่ามีสารรมควันหรือไม่ หากมีสารรมควัน แต่ต้องการทราบว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ ดังนั้น ชุดทดสอบดังกล่าวจึงเหมาะสมกับร้านค้า หรือพ่อค้าคนกลางในการตรวจสอบหาว่า มีสารรมควันชนิดฟอสฟีนหรือไม่ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
“ชุดทดสอบดังกล่าวได้พัฒนาน้ำยาสำหรับตรวจหาสารรมควันโดยเฉพาะ ซึ่งตรวจสอบง่ายๆ ด้วยการนำข้าวสาร 10 กรัมบรรจุในขวดที่จัดเตรียมและหยดน้ำยาลงไป จากนั้นหยดน้ำยาอีกชนิดลงในแถบกระดาษกรองพิเศษ และนำมาจุ่มตรงปากขวด เพื่อให้ได้ไอระเหย จากนั้นสังเกตปลายกระดาษกรอง หากมีสีดำแสดงว่ามีสารรมควันตกค้าง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10-20 นาทีในการตรวจสอบ เบื้องต้นกรมฯอยู่ระหว่างยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ วันที่ 4 พ.ย.จะเปิดเผยผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ข้าวสารในท้องตลาดเพิ่มเติมว่า มีข้าวสารยี่ห้อใดมีสารรมควันเกินมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งกรมฯได้ทำการตรวจทั้งข้าวสารถุง และข้าวสารกระสอบมาตลอด 3-4 เดือน ที่สำคัญกระทรวงพาณิชย์ยังได้แจ้งว่า ก.ย.ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการข้าวถุงระบุว่า พบปัญหามอดเยอะ และกำจัดยาก ต้องรมควันบ่อยขึ้น จึงกังวลว่าจะมีการดื้อสารรมควัน จึงทำการตรวจสอบบ่อยขึ้น เบื้องต้นพบว่า มีผู้ประกอบการข้าวสาร 6 รายที่มีสารรมควันเกินมาตรฐาน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) โดยมี 1 รายที่มีสารรมควันเกินถึง 3 เท่า แต่พบว่าเป็นข้าวสารกระสอบ ทำให้ติดตามแหล่งผลิตยาก ส่วนอีก 5 รายเป็นข้าวสารถุง ซึ่งได้มีการแจ้งเตือนไปแล้ว และจะตรวจสอบซ้ำอีก หากตรวจซ้ำรอบที่ 3 แล้วพบว่าเกินมาตรฐานก็จะแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ดำเนินการทันที
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรมฯได้เชิญสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทยกว่า 100 ราย มาร่วมฟังแนวทางการผลิตและบรรจุข้าวถุงให้ปลอดภัย ไร้สารรมควันตกค้าง ในวันที่ 4 พ.ย.นี้ โดยมีเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรมาให้ข้อมูล ซึ่งในวันดังกล่าว กรมฯจะเปิดตัวชุดทดสอบสารตกค้างในข้าวสารอย่างง่าย ซึ่งพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลางได้ทำการทดสอบเบื้องต้นว่า ข้าวสารปลอดสารรมควันตกค้างหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจยิ่งขึ้น โดยวันนั้นจะแจกชุดทดสอบให้แก่ผู้ประกอบการในการทดลองใช้ด้วย
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า ชุดทดสอบนี้นับเป็นชุดทดสอบชุดแรกของไทยในการตรวจหาสารฟอสฟีน (Phosphine) หรือ ไฮโดรเจน ฟอสไฟต์ ซึ่งเป็นสารรมควันในยุ้งฉางเก็บข้าวหรือธัญพืช แต่เป็นการตรวจหาเบื้องต้นว่ามีสารรมควันหรือไม่ หากมีสารรมควัน แต่ต้องการทราบว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ ดังนั้น ชุดทดสอบดังกล่าวจึงเหมาะสมกับร้านค้า หรือพ่อค้าคนกลางในการตรวจสอบหาว่า มีสารรมควันชนิดฟอสฟีนหรือไม่ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค
“ชุดทดสอบดังกล่าวได้พัฒนาน้ำยาสำหรับตรวจหาสารรมควันโดยเฉพาะ ซึ่งตรวจสอบง่ายๆ ด้วยการนำข้าวสาร 10 กรัมบรรจุในขวดที่จัดเตรียมและหยดน้ำยาลงไป จากนั้นหยดน้ำยาอีกชนิดลงในแถบกระดาษกรองพิเศษ และนำมาจุ่มตรงปากขวด เพื่อให้ได้ไอระเหย จากนั้นสังเกตปลายกระดาษกรอง หากมีสีดำแสดงว่ามีสารรมควันตกค้าง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10-20 นาทีในการตรวจสอบ เบื้องต้นกรมฯอยู่ระหว่างยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ วันที่ 4 พ.ย.จะเปิดเผยผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ข้าวสารในท้องตลาดเพิ่มเติมว่า มีข้าวสารยี่ห้อใดมีสารรมควันเกินมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งกรมฯได้ทำการตรวจทั้งข้าวสารถุง และข้าวสารกระสอบมาตลอด 3-4 เดือน ที่สำคัญกระทรวงพาณิชย์ยังได้แจ้งว่า ก.ย.ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการข้าวถุงระบุว่า พบปัญหามอดเยอะ และกำจัดยาก ต้องรมควันบ่อยขึ้น จึงกังวลว่าจะมีการดื้อสารรมควัน จึงทำการตรวจสอบบ่อยขึ้น เบื้องต้นพบว่า มีผู้ประกอบการข้าวสาร 6 รายที่มีสารรมควันเกินมาตรฐาน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) โดยมี 1 รายที่มีสารรมควันเกินถึง 3 เท่า แต่พบว่าเป็นข้าวสารกระสอบ ทำให้ติดตามแหล่งผลิตยาก ส่วนอีก 5 รายเป็นข้าวสารถุง ซึ่งได้มีการแจ้งเตือนไปแล้ว และจะตรวจสอบซ้ำอีก หากตรวจซ้ำรอบที่ 3 แล้วพบว่าเกินมาตรฐานก็จะแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ดำเนินการทันที