สธ.เตรียมยกระดับสถาบันพระบรมราชชนก เป็น “มหาวิทยาลัยในกำกับของ สธ.” เผยอยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.เหตุผลิตบุคลากรสาธารณสุขจำนวนมาก แต่มีการกระจายฝากสถาบันอื่นร่วมผลิต หวั่นไม่ได้มาตรฐานเดียวกันเพื่อสนองงานสาธารณสุข
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร สธ.ระดับสูง ว่า ขณะนี้ สธ.อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก เพื่อแยกออกเป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของ สธ.บริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ที่ประกอบด้วย ข้าราชการสังกัด สธ.ส่วนภาควิชาการเป็นความรับผิดชอบการดำเนินการโดยคณาจารย์ สาเหตุที่ต้องยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมาได้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์และพยาบาลร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวนมาก
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เฉพาะกลุ่มแพทย์แต่ละปีสถาบันผลิต 1,300 คน มากกว่าโรงเรียนแพทย์ทั้งประเทศผลิตรวมกัน ซึ่งอยู่ประมาณ 1,100-1,200 คน แต่สถาบันผลิตโดยความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ด้วยการรับผลิตในชั้นปีที่ 4-6 ขณะที่พยาบาลผลิตจำนวนหลายพันคน ถือเป็นแหล่งการผลิตจำนวนมาก อีกทั้งต้องการผลิตบุคลากรที่ทำการฝึกอบรมให้ทำงานประเด็นด้านสาธารณสุขมากขึ้น และที่ผ่านมาผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันจะรับปริญญาผ่านมหาวิทยาลัยที่ร่วมผลิต จึงน่าจะทำให้มีการรับปริญญาของหน่วยงานเอง หากดำเนินการยกร่างแล้วเสร็จจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
“เมื่อยกฐานะแล้วจำนวนการผลิตบุคลากรไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่เข้าไปกำหนดมาตรฐานของบุคลากรทางการแพทย์ได้ ซึ่งการจะทำให้มารับใช้กระบวนการสาธารณสุขต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน มาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ไม่ใช่ไปฝากไว้กับมหาวิทยาลัยอื่น ซึ่งในส่วนของพยาบาลฝากไว้น่าจะ 4-5 มหาวิทยาลัย มาตรฐานจึงมีความกระจายไม่ได้เป็นไปตามที่ สธ.ต้องการ แต่ไม่ได้หมายความว่าการผลิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ได้มาตรฐานการทำงานแต่อย่างใด” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร สธ.ระดับสูง ว่า ขณะนี้ สธ.อยู่ระหว่างการยกร่าง พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก เพื่อแยกออกเป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของ สธ.บริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ที่ประกอบด้วย ข้าราชการสังกัด สธ.ส่วนภาควิชาการเป็นความรับผิดชอบการดำเนินการโดยคณาจารย์ สาเหตุที่ต้องยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมาได้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์และพยาบาลร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวนมาก
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เฉพาะกลุ่มแพทย์แต่ละปีสถาบันผลิต 1,300 คน มากกว่าโรงเรียนแพทย์ทั้งประเทศผลิตรวมกัน ซึ่งอยู่ประมาณ 1,100-1,200 คน แต่สถาบันผลิตโดยความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ด้วยการรับผลิตในชั้นปีที่ 4-6 ขณะที่พยาบาลผลิตจำนวนหลายพันคน ถือเป็นแหล่งการผลิตจำนวนมาก อีกทั้งต้องการผลิตบุคลากรที่ทำการฝึกอบรมให้ทำงานประเด็นด้านสาธารณสุขมากขึ้น และที่ผ่านมาผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันจะรับปริญญาผ่านมหาวิทยาลัยที่ร่วมผลิต จึงน่าจะทำให้มีการรับปริญญาของหน่วยงานเอง หากดำเนินการยกร่างแล้วเสร็จจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
“เมื่อยกฐานะแล้วจำนวนการผลิตบุคลากรไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่เข้าไปกำหนดมาตรฐานของบุคลากรทางการแพทย์ได้ ซึ่งการจะทำให้มารับใช้กระบวนการสาธารณสุขต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน มาจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ไม่ใช่ไปฝากไว้กับมหาวิทยาลัยอื่น ซึ่งในส่วนของพยาบาลฝากไว้น่าจะ 4-5 มหาวิทยาลัย มาตรฐานจึงมีความกระจายไม่ได้เป็นไปตามที่ สธ.ต้องการ แต่ไม่ได้หมายความว่าการผลิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ได้มาตรฐานการทำงานแต่อย่างใด” รมว.สาธารณสุข กล่าว