“หมอประดิษฐ” ชี้ รพ.เอกชนปฏิเสธทำคลอดหญิงท้องแก่ จนกลับไปคลอดเองที่บ้านแล้วลูกตาย มีแนวโน้มว่าจะผิดจริง แต่ต้องรอผลการตรวจสอบก่อน คาดรู้ผลใน 1-2 วัน ระบุหากผิดจริงเจอโทษปรับ 1 หมื่นบาท ยันนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินแพทย์เข้าใจดี โยนประชาชนไม่เข้าใจเอง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งปฏิเสธทำคลอดให้ น.ส.ชลธิชา วรรณทิพย์ อายุ 31 ปี เนื่องจากสิทธิประกันสังคมไม่ครอบคลุม และต้องจ่ายค่าทำคลอดเอง 18,000 บาท จนกลับไปคลอดเองที่บ้านและเด็กเสียชีวิต ว่า เรื่องนี้ประเด็นสำคัญคือ เข้าข่ายโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกสิทธิทุกสถานพยาบาลหรือไม่ หากเข้าข่ายแล้ว รพ.เอกชนไม่ยอมรับรักษาถือว่ามีความผิด ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 2 ปี นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักมนุษยธรรมด้วย ซึ่งแพทย์จะต้องรักษาคนไข้ทุกคน โดยในแง่จรรยาบรรณแพทย์ก็ต้องมีการพิจารณาลงโทษ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของแพทยสภาในการพิจารณาต่อไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่ากรณีนี้เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า รพ.เอกชนดังกล่าวทำผิดจริงหรือไม่ ซึ่งได้ส่งทีมเข้าไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะผิด กรณีไม่รับรักษาผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน เพราะเมื่อมีการปฏิเสธไม่รับผู้ป่วยรายนี้ ปรากฏว่าผู้ป่วยต้องไปคลอดที่บ้าน จนส่งผลให้เด็กเสียชีวิตนั้น แต่ทั้งนี้จะต้องรอผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการประมาณ 1-2 วัน ส่วนประเด็นจรรยาบรรณแพทย์นั้นคงต้องรอผลการตรวจสอบในขั้นแรกก่อน
“ประเด็นนิยามคำว่าผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่อาจมีคนมองว่าไม่ชัดเจน จนทำให้เกิดปัญหา จริงๆ แล้ว นิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ไม่ใช่ปัญหาสำหรับแพทย์ เพราะแพทย์ล้วนเข้าใจและรับทราบดี เพียงแต่ที่เคยเป็นปัญหาน่าจะมาจากความไม่เข้าใจของประชาชนมากกว่าว่า แบบไหนถึงจะเรียกว่าฉุกเฉิน แต่สำหรับกรณีนี้ไม่ต้องคิดมาก หากใกล้คลอดก็ถือว่าฉุกเฉินแล้ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงขอรอผลการตรวจสอบ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งปฏิเสธทำคลอดให้ น.ส.ชลธิชา วรรณทิพย์ อายุ 31 ปี เนื่องจากสิทธิประกันสังคมไม่ครอบคลุม และต้องจ่ายค่าทำคลอดเอง 18,000 บาท จนกลับไปคลอดเองที่บ้านและเด็กเสียชีวิต ว่า เรื่องนี้ประเด็นสำคัญคือ เข้าข่ายโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกสิทธิทุกสถานพยาบาลหรือไม่ หากเข้าข่ายแล้ว รพ.เอกชนไม่ยอมรับรักษาถือว่ามีความผิด ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 2 ปี นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักมนุษยธรรมด้วย ซึ่งแพทย์จะต้องรักษาคนไข้ทุกคน โดยในแง่จรรยาบรรณแพทย์ก็ต้องมีการพิจารณาลงโทษ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของแพทยสภาในการพิจารณาต่อไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่ากรณีนี้เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ จะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่า รพ.เอกชนดังกล่าวทำผิดจริงหรือไม่ ซึ่งได้ส่งทีมเข้าไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าจะผิด กรณีไม่รับรักษาผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน เพราะเมื่อมีการปฏิเสธไม่รับผู้ป่วยรายนี้ ปรากฏว่าผู้ป่วยต้องไปคลอดที่บ้าน จนส่งผลให้เด็กเสียชีวิตนั้น แต่ทั้งนี้จะต้องรอผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการประมาณ 1-2 วัน ส่วนประเด็นจรรยาบรรณแพทย์นั้นคงต้องรอผลการตรวจสอบในขั้นแรกก่อน
“ประเด็นนิยามคำว่าผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่อาจมีคนมองว่าไม่ชัดเจน จนทำให้เกิดปัญหา จริงๆ แล้ว นิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ไม่ใช่ปัญหาสำหรับแพทย์ เพราะแพทย์ล้วนเข้าใจและรับทราบดี เพียงแต่ที่เคยเป็นปัญหาน่าจะมาจากความไม่เข้าใจของประชาชนมากกว่าว่า แบบไหนถึงจะเรียกว่าฉุกเฉิน แต่สำหรับกรณีนี้ไม่ต้องคิดมาก หากใกล้คลอดก็ถือว่าฉุกเฉินแล้ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงขอรอผลการตรวจสอบ” รมว.สาธารณสุข กล่าว