ปชช.แอนตี้แนวคิดนครบาล ห้ามรถ 7-10 ปีวิ่งใน กทม.นิด้าโพลชี้ชัดกว่า 80% ไม่เอาด้วย จวกเสียภาษีเหมือนกันควรมีสิทธิใช้รถวิ่งบนถนนเหมือนกัน ส่วนอีก 71% ให้ผ่านเลิกล็อกล้อหันยกรถออกจากถนนแทน ส่วนอีก 46% ประณามนายกฯปู ออกนโยบายรถคันแรก ทำรถติดเพิ่ม
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “กฎจราจรกับปัญหารถติด” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2556 กรณีศึกษาจากประชาชนที่พักและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเสนอแนวคิดห้ามรถยนต์อายุ 7-10 ปี วิ่งในกรุงเทพมหานคร และเตรียมยกเลิกมาตรการล็อกล้อกรณีผู้ขับขี่รถยนต์ฝ่าฝืนจอดในที่ห้ามจอด แต่จะเดินหน้าโครงการยกรถที่จอดผิดกฎหมายออกจากผิวการจราจรแทน เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร
จากผลการสำรวจ พบว่า เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการห้ามไม่ให้รถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน มากกว่า 7-10 ปี เข้ามาวิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.48 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะทุกคนเสียภาษีรถยนต์เหมือนกันควรมีสิทธิใช้รถวิ่งบนท้องถนนเหมือนกัน สร้างความลำบากแก่ผู้ที่จะเดินทางเข้ามาติดต่อธุระจำเป็นใน กทม.เป็นการแก้ไขไม่ตรงจุด อีกทั้งยังผ่อนรถยนต์เสร็จได้ไม่นาน เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ใช้รถยนต์ หากจะมีการจำกัด ควรจำกัดรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15-20 ปีขึ้นไป ขณะที่ ร้อยละ 15.28 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการลดจำนวนรถยนต์ที่เข้ามาวิ่งใน กทม.ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร และช่วยลดมลพิษในอากาศ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 4.24 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนวิธีการลงโทษผู้กระทำผิดกฏจราจร จาก “การล็อกล้อ” เป็น “การเคลื่อนย้ายรถออกจากผิวจราจร” ในกรณีที่จอดรถยนต์ในที่ห้ามจอด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.44 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะจะได้ไม่กีดขวางการจราจร ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด คนที่ทำผิดจะได้สำนึก และเป็นมาตรการที่น่าจะช่วยลดการทำผิดกฎจราจรให้น้อยลง รองลงมา ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ยุ่งยากและเสียเวลาในการตามรถคืน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และรถยนต์อาจเกิดความเสียหายขณะเคลื่อนย้าย และอาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่ารถยนต์ถูกโจรกรรมไป ควรหาวิธีอื่น และร้อยละ 4.40 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
และเมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานครมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.56 ระบุว่า เป็นเพราะนโยบายรถยนต์คันแรก/รถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 21.68 ระบุว่า เป็นเพราะรถยนต์ส่วนบุคคลทำผิดกฎจราจร ไม่มีระเบียบวินัยในการขับขี่ ร้อยละ 13.52 ระบุว่า เป็นเพราะรถบริการสาธารณะ (รถเมล์/รถตู้/แท็กซี่/มอเตอร์ไซค์รับจ้าง) จอดไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 3.92 ระบุว่า เป็นเพราะจำนวนช่องการจราจร/สะพานข้ามแยกไม่เพียงพอ ร้อยละ 2.40 ระบุว่า เป็นเพราะระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอ
ร้อยละ 1.92 ระบุว่า เป็นเพราะการตั้งด่านของตำรวจ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นเพราะฝนตก น้ำท่วมขัง ร้อยละ 1.28 ระบุว่า เป็นเพราะสภาพพื้นผิวการจราจรที่ชำรุดทรุดโทรม ร้อยละ 1.20 ระบุว่า เป็นเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน/รถเสียบนไหล่ทาง ร้อยละ 0.80 ระบุว่า เป็นเพราะการขายของ หาบเร่ แผงลอย ริมถนน ร้อยละ 0.72 ระบุว่า เป็นเพราะการประท้วง การชุมนุม และร้อยละ 2.48 ระบุว่า เป็นเพราะอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เคร่งครัด การปรับปรุงซ่อมแซมถนน การปล่อยสัณญาณไฟจราจรไม่สัมพันธ์ กับปริมาณรถยนต์ ผู้ขับขี่ไม่มีมารยาทและน้ำใจบนท้องถนน การไม่ควบคุมจำนวนปริมาณรถยนต์ รถบรรทุก ขนาดใหญ่ที่วิ่งใน กทม.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “กฎจราจรกับปัญหารถติด” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2556 กรณีศึกษาจากประชาชนที่พักและอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเสนอแนวคิดห้ามรถยนต์อายุ 7-10 ปี วิ่งในกรุงเทพมหานคร และเตรียมยกเลิกมาตรการล็อกล้อกรณีผู้ขับขี่รถยนต์ฝ่าฝืนจอดในที่ห้ามจอด แต่จะเดินหน้าโครงการยกรถที่จอดผิดกฎหมายออกจากผิวการจราจรแทน เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร
จากผลการสำรวจ พบว่า เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการห้ามไม่ให้รถยนต์ที่มีอายุการใช้งาน มากกว่า 7-10 ปี เข้ามาวิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.48 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะทุกคนเสียภาษีรถยนต์เหมือนกันควรมีสิทธิใช้รถวิ่งบนท้องถนนเหมือนกัน สร้างความลำบากแก่ผู้ที่จะเดินทางเข้ามาติดต่อธุระจำเป็นใน กทม.เป็นการแก้ไขไม่ตรงจุด อีกทั้งยังผ่อนรถยนต์เสร็จได้ไม่นาน เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ใช้รถยนต์ หากจะมีการจำกัด ควรจำกัดรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15-20 ปีขึ้นไป ขณะที่ ร้อยละ 15.28 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการลดจำนวนรถยนต์ที่เข้ามาวิ่งใน กทม.ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร และช่วยลดมลพิษในอากาศ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และร้อยละ 4.24 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนวิธีการลงโทษผู้กระทำผิดกฏจราจร จาก “การล็อกล้อ” เป็น “การเคลื่อนย้ายรถออกจากผิวจราจร” ในกรณีที่จอดรถยนต์ในที่ห้ามจอด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.44 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะจะได้ไม่กีดขวางการจราจร ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด คนที่ทำผิดจะได้สำนึก และเป็นมาตรการที่น่าจะช่วยลดการทำผิดกฎจราจรให้น้อยลง รองลงมา ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ยุ่งยากและเสียเวลาในการตามรถคืน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และรถยนต์อาจเกิดความเสียหายขณะเคลื่อนย้าย และอาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่ารถยนต์ถูกโจรกรรมไป ควรหาวิธีอื่น และร้อยละ 4.40 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
และเมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานครมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.56 ระบุว่า เป็นเพราะนโยบายรถยนต์คันแรก/รถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 21.68 ระบุว่า เป็นเพราะรถยนต์ส่วนบุคคลทำผิดกฎจราจร ไม่มีระเบียบวินัยในการขับขี่ ร้อยละ 13.52 ระบุว่า เป็นเพราะรถบริการสาธารณะ (รถเมล์/รถตู้/แท็กซี่/มอเตอร์ไซค์รับจ้าง) จอดไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 3.92 ระบุว่า เป็นเพราะจำนวนช่องการจราจร/สะพานข้ามแยกไม่เพียงพอ ร้อยละ 2.40 ระบุว่า เป็นเพราะระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอ
ร้อยละ 1.92 ระบุว่า เป็นเพราะการตั้งด่านของตำรวจ ร้อยละ 1.52 ระบุว่า เป็นเพราะฝนตก น้ำท่วมขัง ร้อยละ 1.28 ระบุว่า เป็นเพราะสภาพพื้นผิวการจราจรที่ชำรุดทรุดโทรม ร้อยละ 1.20 ระบุว่า เป็นเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน/รถเสียบนไหล่ทาง ร้อยละ 0.80 ระบุว่า เป็นเพราะการขายของ หาบเร่ แผงลอย ริมถนน ร้อยละ 0.72 ระบุว่า เป็นเพราะการประท้วง การชุมนุม และร้อยละ 2.48 ระบุว่า เป็นเพราะอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เคร่งครัด การปรับปรุงซ่อมแซมถนน การปล่อยสัณญาณไฟจราจรไม่สัมพันธ์ กับปริมาณรถยนต์ ผู้ขับขี่ไม่มีมารยาทและน้ำใจบนท้องถนน การไม่ควบคุมจำนวนปริมาณรถยนต์ รถบรรทุก ขนาดใหญ่ที่วิ่งใน กทม.