สอศ.เผยเด็กอาชีวะใช้เฟซบุ๊ก ไลน์ ท้าทายยกพวกตีกัน สั่งวิทยาลัยสอดส่องเฝ้าระวัง พร้อมเตรียมประสาน สพฐ.ร่วมจัดกิจกรรมสร้างความสามัคคีให้เด็กหลังพบเด็กช่างตีกันส่วนใหญ่เขม่นกันมาแต่อยู่มัธยม
วันนี้ (15 ต.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหานักศึกษาอาชีวศึกษาทะเลาะวิวาท ร่วมกับผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จำนวน 28 แห่ง ว่า ได้เชิญ ผอ.วิทยาลัย มานำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทแต่ละวิทยาลัย รวมถึงซักซ้อมมาตรการป้องกันการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาอาชีวะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากขณะนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาเริ่มเปิดภาคเรียนที่ 2 แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ผู้อำนวยการได้สะท้อนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเด็กอาชีวะทะเลาะวิวาทกันว่า เด็กส่วนใหญ่จะเป็นคู่อริกันตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อมาเรียนต่อสายอาชีวะก็เลือกเรียนคนละสถาบัน และยกพวกตีกัน ดังนั้น สอศ.จะประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อให้เฝ้าระวังและสอดส่องดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ ม.ต้น โดยหามาตรการให้เด็กรักใคร่สามัคคีกัน มีทักษะชีวิตที่จะอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความขัดแย้งเมื่อเด็กเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาได้ระดับหนึ่ง
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ผู้อำนวยการยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญที่สุด เช่น พื้นที่ดอนเมือง จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งศูนย์บัญชาการคอยตรวจตราและเฝ้าระวังอยู่ในวิทยาลัย และพื้นที่ปทุมธานี จะมีโครงการส่งน้องกลับบ้าน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตด้วยว่ามีครูในวิทยาลัยบางคนเคยเป็นศิษย์เก่ามาก่อน และเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท โดยครูบางคนก็เป็นแกนนำด้วย อย่างไรก็ตาม ในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทนั้น สอศ.ได้แบ่งพื้นที่เป็น 5 โซน ได้แก่ จตุจักร ธนบุรี สวนหลวง ร.9 ชัยสมรภูมิ และดอนเมือง ซึ่งในแต่ละโซน สอศ.จะสนับสนุนค่าใช้จ่าย และได้ให้แต่ละพื้นที่หารือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเฝ้าระวังร่วมกัน
“ขณะนี้ สอศ.ได้สั่งให้เฝ้าระวังทางโซเชียลมีเดียด้วย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เนื่องจากพบว่าเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นจะมีการนัดแนะ หรือท้าทายกันผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่อีกช่องทางหนึ่งที่เริ่มมีเข้ามา ดังนั้นจึงได้มอบให้วิทยาอาชีวศึกษาจัดเจ้าหน้าที่คอยติดตามเฝ้าระวังในส่วนนี้ด้วย เพื่อป้องกัน หรือระงับเหตุไม่ให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเรื่องปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กอาชีวะนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้เป็นห่วงและเน้นย้ำมาตลอดให้ดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจมาก” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
วันนี้ (15 ต.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยภายหลังประชุมเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหานักศึกษาอาชีวศึกษาทะเลาะวิวาท ร่วมกับผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จำนวน 28 แห่ง ว่า ได้เชิญ ผอ.วิทยาลัย มานำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทแต่ละวิทยาลัย รวมถึงซักซ้อมมาตรการป้องกันการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาอาชีวะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากขณะนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาเริ่มเปิดภาคเรียนที่ 2 แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ผู้อำนวยการได้สะท้อนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเด็กอาชีวะทะเลาะวิวาทกันว่า เด็กส่วนใหญ่จะเป็นคู่อริกันตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อมาเรียนต่อสายอาชีวะก็เลือกเรียนคนละสถาบัน และยกพวกตีกัน ดังนั้น สอศ.จะประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อให้เฝ้าระวังและสอดส่องดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ ม.ต้น โดยหามาตรการให้เด็กรักใคร่สามัคคีกัน มีทักษะชีวิตที่จะอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความขัดแย้งเมื่อเด็กเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาได้ระดับหนึ่ง
เลขาธิการ กอศ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ผู้อำนวยการยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญที่สุด เช่น พื้นที่ดอนเมือง จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งศูนย์บัญชาการคอยตรวจตราและเฝ้าระวังอยู่ในวิทยาลัย และพื้นที่ปทุมธานี จะมีโครงการส่งน้องกลับบ้าน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตด้วยว่ามีครูในวิทยาลัยบางคนเคยเป็นศิษย์เก่ามาก่อน และเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาท โดยครูบางคนก็เป็นแกนนำด้วย อย่างไรก็ตาม ในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทนั้น สอศ.ได้แบ่งพื้นที่เป็น 5 โซน ได้แก่ จตุจักร ธนบุรี สวนหลวง ร.9 ชัยสมรภูมิ และดอนเมือง ซึ่งในแต่ละโซน สอศ.จะสนับสนุนค่าใช้จ่าย และได้ให้แต่ละพื้นที่หารือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเฝ้าระวังร่วมกัน
“ขณะนี้ สอศ.ได้สั่งให้เฝ้าระวังทางโซเชียลมีเดียด้วย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เนื่องจากพบว่าเหตุการณ์การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นจะมีการนัดแนะ หรือท้าทายกันผ่านโซเชียลมีเดีย ซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่อีกช่องทางหนึ่งที่เริ่มมีเข้ามา ดังนั้นจึงได้มอบให้วิทยาอาชีวศึกษาจัดเจ้าหน้าที่คอยติดตามเฝ้าระวังในส่วนนี้ด้วย เพื่อป้องกัน หรือระงับเหตุไม่ให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเรื่องปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กอาชีวะนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ได้เป็นห่วงและเน้นย้ำมาตลอดให้ดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจมาก” นายชัยพฤกษ์ กล่าว