กรมการแพทย์ฟุ้ง “หออภิบาลคุณภาพชีวิต” รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี ช่วยดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ผลดี ช่วยให้ชีวิตมีความสุข เน้นดูแลรักษาในสภาพแวดล้อมเหมือนบ้าน ผู้ป่วยและครอบครัวได้ร่วมทำกิจกรรม ช่วยลดอาการเจ็บปวด เพิ่มความสุขทางใจสู้โรคร้าย
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จ.ปทุมธานี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “World Hospice and Palliative Care Day” ว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะต้องเผชิญกับภาวะที่ต้องอยู่กับความทุกข์ทรมาน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยจึงต้องการที่พึ่งทางใจเพื่อช่วยเป็นพลังความหวังในมีชีวิตอยู่ต่อไป การดูแลรักษาจึงต้องใช้ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างพลัง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัว รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จึงได้ตั้งหออภิบาลคุณภาพชีวิตขึ้นตั้งแต่ปี 2543
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ภายในหอผู้ป่วยมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะคล้ายบ้าน มีห้องหรือมุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ห้องประกอบกิจกรรม ทางศาสนา ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร มุมพักผ่อน มุมนั่งเล่น เป็นต้น โดยมีรูปแบบการดูแลแบบองค์รวม ลดความทุกข์ทรมาน จากอาการของโรค อาการเจ็บปวดต่างๆ มีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
นพ.ธนเดช สินธุเสก ผอ.รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี กล่าวว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเน้นการดูแลเพื่อลดความทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ และให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้นำศาสนา นักสงคมสงเคราะห์ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้คำปรึกษา แนะนำ แก่ญาติเพื่อเตรียมสภาพจิตใจ หรือการประกอบกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งกิจกรรมมิตรภาพบำบัดที่มีอาสาสมัครทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมทำกิจกรรมกับผู้ป่วยและครอบครัว การนำแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก มาผสมผสานในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การจัดสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะคล้ายบ้าน และทีมเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
“จากการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามรูปแบบดังกล่าวพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัวได้รับการดูแลแบบองค์รวม มีการเตรียมความพร้อม และเน้นการตอบสนองคุณภาพชีวิต จากผลสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และจิตสังคม จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและครอบครัวของผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากขึ้น” ผอ.รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี กล่าว
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จ.ปทุมธานี นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “World Hospice and Palliative Care Day” ว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะต้องเผชิญกับภาวะที่ต้องอยู่กับความทุกข์ทรมาน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยจึงต้องการที่พึ่งทางใจเพื่อช่วยเป็นพลังความหวังในมีชีวิตอยู่ต่อไป การดูแลรักษาจึงต้องใช้ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างพลัง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัว รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จึงได้ตั้งหออภิบาลคุณภาพชีวิตขึ้นตั้งแต่ปี 2543
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ภายในหอผู้ป่วยมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะคล้ายบ้าน มีห้องหรือมุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ห้องประกอบกิจกรรม ทางศาสนา ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร มุมพักผ่อน มุมนั่งเล่น เป็นต้น โดยมีรูปแบบการดูแลแบบองค์รวม ลดความทุกข์ทรมาน จากอาการของโรค อาการเจ็บปวดต่างๆ มีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างถูกต้อง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
นพ.ธนเดช สินธุเสก ผอ.รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี กล่าวว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเน้นการดูแลเพื่อลดความทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ และให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้นำศาสนา นักสงคมสงเคราะห์ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้คำปรึกษา แนะนำ แก่ญาติเพื่อเตรียมสภาพจิตใจ หรือการประกอบกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งกิจกรรมมิตรภาพบำบัดที่มีอาสาสมัครทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมทำกิจกรรมกับผู้ป่วยและครอบครัว การนำแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือก มาผสมผสานในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การจัดสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะคล้ายบ้าน และทีมเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
“จากการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามรูปแบบดังกล่าวพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัวได้รับการดูแลแบบองค์รวม มีการเตรียมความพร้อม และเน้นการตอบสนองคุณภาพชีวิต จากผลสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และจิตสังคม จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและครอบครัวของผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากขึ้น” ผอ.รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี กล่าว