กทม.โอดแบกภาระ ควัก 100 ล้าน ซ่อมถนน ทางเท้า ทางลาดคนพิการเหตุ เหตุหน่วยงาน ขุดเจาะ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน
วันนี้ (11 ต.ค.) นายสุรพล อนวัชพงศ์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สกบ.สนย.กทม) เปิดเผยถึงผลการดำเนินการจัดซ่อมถนน ทางเท้า และทางลาดคนพิการ (โดยใช้วัสดุเดิม) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 3 กันยายน 2556 โดยดำเนินการในพื้นที่ ดังนี้1.เมืองเก่าบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ พื้นที่ถนน 180 ตารางเมตร อาทิ ถนนพระอาทิตย์ ถนนสามเสน พื้นที่ทางเท้า 360 ตารางเมตร และพื้นที่ลาด 2 แห่ง
2.แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ถนน 7,509 ตารางเมตร อาทิ ถนนราชดำริ พื้นที่ทางเท้า 8,105 ตารางเมตร และพื้นที่ทางลาด 21 แห่ง
3.ย่านธุรกิจ พื้นที่ถนน 107,353 ตารางเมตร อาทิ ถนนพระราม 1, ถนนพระราม 4 พื้นที่ทางเท้า 45,627 ตารางเมตร และพื้นที่ทางลาด 40 แห่ง
และ 4.จุดเชื่อมต่อการเดินทาง พื้นที่ถนน 12,840 ตารางเมตร อาทิ ช่วงต่อรถบริการขนส่งมวลชน หรือรถไฟฟ้า พื้นที่ทางเท้า 6,735 ตารางเมตร และพื้นที่ทางลาด 52 แห่ง รวม พื้นที่ถนน 127,882 ตารางเมตร/พื้นที่ทางเท้า 60,827 ตารงเมตร และพื้นที่ทางลาด 115 แห่ง
นายสุรพล กล่าวว่า สาเหตุของการชำรุดของถนนและทางเท้า เกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติ ยิ่งโดยเฉพาะหน้าฝนที่มีฝนตกและน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ยางแอสฟัลต์ (ยางมะตอย) เสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้มีการตรวจสอบพบ จึงได้เข้าดำเนินการซ่อมแซม และบางส่วนมีประชาชนร้องเรียนเข้ามา ส่วนงบประมาณในการซ่อมแซมถนน ทางเท้า และทางลาดคนพิการ ในแต่ละปีสูงกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งถือว่า กทม.จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และมีแนวโน้มสูงมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่รักษากฎวินัย รถบรรทุกน้ำหนักเกินวิ่งในเส้นทางห้าม รวมถึงการขุดเจาะถนนของหน่วยงานสาธารณูปโภคต่างๆ อีกทั้งวิงวอนขอให้ประชาชนไม่นำรถขึ้นไปจอดไว้บนทางเท้า เพื่อลดการเสื่อมสภาพ และเพื่อให้ผู้ใช้ทางร่วมกันได้อย่างปลอดภัย
วันนี้ (11 ต.ค.) นายสุรพล อนวัชพงศ์พันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สกบ.สนย.กทม) เปิดเผยถึงผลการดำเนินการจัดซ่อมถนน ทางเท้า และทางลาดคนพิการ (โดยใช้วัสดุเดิม) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 3 กันยายน 2556 โดยดำเนินการในพื้นที่ ดังนี้1.เมืองเก่าบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ พื้นที่ถนน 180 ตารางเมตร อาทิ ถนนพระอาทิตย์ ถนนสามเสน พื้นที่ทางเท้า 360 ตารางเมตร และพื้นที่ลาด 2 แห่ง
2.แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ถนน 7,509 ตารางเมตร อาทิ ถนนราชดำริ พื้นที่ทางเท้า 8,105 ตารางเมตร และพื้นที่ทางลาด 21 แห่ง
3.ย่านธุรกิจ พื้นที่ถนน 107,353 ตารางเมตร อาทิ ถนนพระราม 1, ถนนพระราม 4 พื้นที่ทางเท้า 45,627 ตารางเมตร และพื้นที่ทางลาด 40 แห่ง
และ 4.จุดเชื่อมต่อการเดินทาง พื้นที่ถนน 12,840 ตารางเมตร อาทิ ช่วงต่อรถบริการขนส่งมวลชน หรือรถไฟฟ้า พื้นที่ทางเท้า 6,735 ตารางเมตร และพื้นที่ทางลาด 52 แห่ง รวม พื้นที่ถนน 127,882 ตารางเมตร/พื้นที่ทางเท้า 60,827 ตารงเมตร และพื้นที่ทางลาด 115 แห่ง
นายสุรพล กล่าวว่า สาเหตุของการชำรุดของถนนและทางเท้า เกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติ ยิ่งโดยเฉพาะหน้าฝนที่มีฝนตกและน้ำท่วมขัง ส่งผลให้ยางแอสฟัลต์ (ยางมะตอย) เสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้มีการตรวจสอบพบ จึงได้เข้าดำเนินการซ่อมแซม และบางส่วนมีประชาชนร้องเรียนเข้ามา ส่วนงบประมาณในการซ่อมแซมถนน ทางเท้า และทางลาดคนพิการ ในแต่ละปีสูงกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งถือว่า กทม.จะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และมีแนวโน้มสูงมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่รักษากฎวินัย รถบรรทุกน้ำหนักเกินวิ่งในเส้นทางห้าม รวมถึงการขุดเจาะถนนของหน่วยงานสาธารณูปโภคต่างๆ อีกทั้งวิงวอนขอให้ประชาชนไม่นำรถขึ้นไปจอดไว้บนทางเท้า เพื่อลดการเสื่อมสภาพ และเพื่อให้ผู้ใช้ทางร่วมกันได้อย่างปลอดภัย