เครือข่ายเหล้าฯ จี้ สธ.หารือ ก.คลัง แก้กฎหมายเหล้า หวังคุมร้านเหล้าปั่น เหตุเป็นช่องว่างกฎหมาย เอาผิดขายรอบสถานศึกษาไม่ได้ ระบุควรปรับค่าขอใบอนุญาตขายเหล้าด้วย
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายต่างๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เคยผลักดันกลับยังไม่มีความคืบหน้า โดยเฉพาะมาตรการควบคุมร้านเหล้าปั่น แม้ขณะนี้เหล้าปั่นจะไม่เป็นกระแสเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาดื่มอยู่ ที่สำคัญในบางพื้นที่หากคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาได้ แต่เมื่อมีร้านเหล้าปั่นก็จะไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเหล้าปั่นไม่ได้อยู่ในนิยามที่สามารถควบคุมตามกฎหมาย เพราะติดขัดข้อกฎหมายของกระทรวงการคลัง คือ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 ที่ระบุถึงกรรมวิธีการจำหน่ายที่ห้ามขายในลักษณะเป็นสุรา หรือจำหน่ายในรูปขวด แต่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของเครื่องดื่มได้ หากผู้ซื้อร้องขอ โดยต้องปรับเปลี่ยน ณ ขณะนั้นทันที ซึ่งตรงนี้เป็นช่องว่างทำให้เอาผิดตามกฎหมายไม่ได้ จำเป็นต้องแก้กฎหมายส่วนนี้
“เครือข่ายเคยเสนอประเด็นนี้ต่อกระทรวงการคลังมาตลอด แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะปรับเพื่อเอาผิดร้านเหล้าปั่น รวมถึงประเด็นการเพิ่มค่าขอใบอนุญาตการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากเดิมสุราไทยขายปลีกคิดเพียง 100 บาทต่อปี สุราต่างประเทศคิดเพียง 1,000 บาทต่อปี ซึ่งน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ คิดค่าขอใบอนุญาตมากกว่าไทยเป็นสิบๆ เท่า ขณะที่ประเทศไทยมีร้ายขายเหล้าประเภทขายปลีกที่มีใบอนุญาตประมาณ 500,000 ใบ แต่คิดค่าใบอนุญาตถูกมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจทุกวันนี้” นายคำรณ กล่าว
นายคำรณ กล่าวอีกว่า อยากให้ทางสำนักงานฯผลักดันเรื่องนี้ โดยหารือร่วมกับ ก.คลัง เนื่องจากทราบมาว่าขณะนี้ก.คลังเตรียมปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าในรายละเอียดมีการปรับแก้เรื่องใดบ้าง ซึ่งรวมถึงเรื่องเหล้าปั่น และการเพิ่มค่าขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา นอกจากนี้ อยากให้สำนักงานฯเดินหน้าเรื่องร่างประกาศห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มในทางสาธารณะ หรือไหล่ทาง ทางเท้า ซึ่งจนบัดนี้ก็เงียบหายไป ทั้งๆ ที่เป็นกฎหมายที่ดีที่จะคุมนักดื่มได้มากขึ้น
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายต่างๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เคยผลักดันกลับยังไม่มีความคืบหน้า โดยเฉพาะมาตรการควบคุมร้านเหล้าปั่น แม้ขณะนี้เหล้าปั่นจะไม่เป็นกระแสเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษาดื่มอยู่ ที่สำคัญในบางพื้นที่หากคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาได้ แต่เมื่อมีร้านเหล้าปั่นก็จะไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเหล้าปั่นไม่ได้อยู่ในนิยามที่สามารถควบคุมตามกฎหมาย เพราะติดขัดข้อกฎหมายของกระทรวงการคลัง คือ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 ที่ระบุถึงกรรมวิธีการจำหน่ายที่ห้ามขายในลักษณะเป็นสุรา หรือจำหน่ายในรูปขวด แต่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของเครื่องดื่มได้ หากผู้ซื้อร้องขอ โดยต้องปรับเปลี่ยน ณ ขณะนั้นทันที ซึ่งตรงนี้เป็นช่องว่างทำให้เอาผิดตามกฎหมายไม่ได้ จำเป็นต้องแก้กฎหมายส่วนนี้
“เครือข่ายเคยเสนอประเด็นนี้ต่อกระทรวงการคลังมาตลอด แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะปรับเพื่อเอาผิดร้านเหล้าปั่น รวมถึงประเด็นการเพิ่มค่าขอใบอนุญาตการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากเดิมสุราไทยขายปลีกคิดเพียง 100 บาทต่อปี สุราต่างประเทศคิดเพียง 1,000 บาทต่อปี ซึ่งน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ คิดค่าขอใบอนุญาตมากกว่าไทยเป็นสิบๆ เท่า ขณะที่ประเทศไทยมีร้ายขายเหล้าประเภทขายปลีกที่มีใบอนุญาตประมาณ 500,000 ใบ แต่คิดค่าใบอนุญาตถูกมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจทุกวันนี้” นายคำรณ กล่าว
นายคำรณ กล่าวอีกว่า อยากให้ทางสำนักงานฯผลักดันเรื่องนี้ โดยหารือร่วมกับ ก.คลัง เนื่องจากทราบมาว่าขณะนี้ก.คลังเตรียมปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าในรายละเอียดมีการปรับแก้เรื่องใดบ้าง ซึ่งรวมถึงเรื่องเหล้าปั่น และการเพิ่มค่าขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา นอกจากนี้ อยากให้สำนักงานฯเดินหน้าเรื่องร่างประกาศห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มในทางสาธารณะ หรือไหล่ทาง ทางเท้า ซึ่งจนบัดนี้ก็เงียบหายไป ทั้งๆ ที่เป็นกฎหมายที่ดีที่จะคุมนักดื่มได้มากขึ้น