จับตา กวพ.อ.“เดินหน้าหรือยกเลิก” จัดซื้อแท็บเล็ต โซน 3 บ.สุพรีมฯ วันที่ 11 ต.ค.นี้ ชี้ไม่ว่าผลออกมาทางใด กระทบการแจกแท็บเล็ตล่าช้าแน่ เผย บ.เสิ่นเจิ้น อิงถัง ขอเลื่อนจัดส่งแท็บเล็ตโซน 1 และ 2 งวดแรกไป 1 เดือน อ้างไฟไหม้โรงงานประกอบ ด้าน “แหล่งข่าว” แย้มจัดซื้อแท็บเล็ตปีการศึกษา 2557 อาจให้ 225 เขตพื้นที่ฯจัดซื้อเอง ส่วนแนวคิดแจกคูปอง ต้องถกอีกมาก เหตุผู้ปกครองอาจซื้อเครื่องคุณภาพไม่ดีเพื่อหวังเงินทอน
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ยื่นอุทธรณ์กับคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) ของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากถูกคณะกรรมการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกาศยกเลิกผลการประมูลอี-ออกชันแท็บเล็ตนักเรียน โซน 3 ของนักเรียนชั้น ม.1 ไปเมื่อเดือนกลางเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา เพราะมีข้อสังเกตจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่ามีการอี-ออกชันในโซน 3 นั้นมีผู้เข้าร่วมแข่งขันน้อย ส่อเจตนาฮั้วประมูลอีกทั้งยังชนะการประมูลด้วยราคาที่สูงโดยมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ความคืบหน้าในขณะนี้ทราบว่าทาง กวพ.อ.กำลังพิจารณาเอกสารคำชี้แจงทั้ง 2 ฝ่าย และคาดว่าจะตัดสินได้ประมาณวันที่ 11 ตุลาคม 2556 ซึ่งแนวโน้มผลการตัดสินของ กวพ.อ.จะมี 2 ทาง ได้แก่ รับการอุทธรณ์ คือ สั่งให้ สพฐ.เดินหน้าจัดซื้อไปถึงแม้จะมีข้อสังเกตว่าราคาชนะประมูลสูงอย่างมีนัยยะสำคัญก็ตาม และไม่รับการอุทธรณ์ คือ เห็นตามข้อสังเกตให้ยกเลิกผลการประมูล
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ กวพ.อ.พิจารณาไม่รับอุทธรณ์และให้ยกเลิกการประมูล ก็ต้องมาดูว่าจะสั่งยกเลิกผลการประมูลโซน 3 อย่างเดียว หรือสั่งยกเลิกผลการประมูลพร้อมชี้มาว่าบริษัท สุพรีมฯ ฮั้วประมูลด้วย ซึ่งหากเป็นกรณีหลังก็แน่นอนว่าบริษัท สุพรีมฯ ต้องยื่นฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแน่ เพื่อไม่ให้บริษัทฯถูกแบล็กลิสและถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอาญา ซึ่งศาลปกครองอาจพิจารณาไม่รับคำฟ้องก็ได้ เพราะอาจจะยืนตามคำพิจารณา กวพ.อ.ซึ่งหากไปไกลถึงขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาพิจารณาเป็นปีแน่นอนว่าส่งซึ่งกระทบต่อนักเรียนแน่ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงว่าผลการพิจารณาทั้งหมดจะออกมาในแนวทางนี้
“การจัดซื้อแท็บเล็ตโซน 3 ถือเป็นการสะท้อนปัญหาการจัดซื้อแท็บเล็ตโดยส่วนกลาง ที่ผ่านมาจึงมีแนวคิดรัฐแจกคูปอง 3,000 บาท ให้เด็กและผู้ปกครองนำไปซื้อแท็บเล็ตเอง แต่วิธีดังกล่าวก็มีปัญหาและช่องโหว่ เพราะผู้ปกครองอาจนำคูปองไปเลือกซื้อแท็บเล็ตที่ราคาถูกกว่าเพื่อหวังตังทอน สุดท้ายได้แท็บเล็ตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจผิดวัตถุประสงค์นโยบายรัฐบาล ฉะนั้นแนวคิดนี้คงใช้ได้กับเด็กกลุ่มหนึ่งเท่านั้น”แหล่งข่าวกล่าวและว่า นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท เสิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้น คอนโทรล จำกัด ในฐานะบริษัทผู้ลงนามในสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ตโซน 1, 2 ของนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 804,742 เครื่อง ได้ส่งหนังสือขอเลื่อนการจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตงวดแรก จำนวน 100,000 เครื่องออกจากกำหนดเดิมออกไปอีก 1 เดือน โดยอ้างเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตชิ้นส่วน ที่ประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 อย่างไรก็ตาม กำหนดจัดส่งแท็บเล็ตงวดแรกจะต้องส่งภายใน 35 วัน นับจากวันเซ็นสัญญา คือ วันที่ 28 กันยายน 2556
แหล่งข่าวกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการเตรียมการจัดซื้อแท็บเล็ต ในประจำปีการศึกษา 2557 นั้น ความจริงเมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ ก็ต้องเริ่มกระบวนการจัดทำสเปกและร่างทีโออาร์ได้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติทางกลับยังไม่เริ่มอะไรเลย ขณะเดียวกันวิธีจัดซื้อยังต้องถกเถียง เพราะการจัดซื้อครั้งล่าสุดก็เห็นชัดแล้วว่าการจัดซื้อโดยส่วนกลางมีปัญหา ฉะนั้นอาจมีเสนอวิธีการจัดซื้อใหม่ที่ให้ 225 เขตพื้นที่การศึกษา แยกไปจัดซื้อเอง เหมือนโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ในปีการศึกษา 2556 ก็ใช้วิธีดังกล่าว จนบัดนี้หลายโรงเรียนได้รับเครื่องแท็บเล็ตไปแล้ว แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กลับการเมืองว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะยากที่จะมีตังทอนมากๆ เหมือนการจัดซื้อโดยส่วนกลาง
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ยื่นอุทธรณ์กับคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) ของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากถูกคณะกรรมการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออกชัน) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกาศยกเลิกผลการประมูลอี-ออกชันแท็บเล็ตนักเรียน โซน 3 ของนักเรียนชั้น ม.1 ไปเมื่อเดือนกลางเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา เพราะมีข้อสังเกตจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่ามีการอี-ออกชันในโซน 3 นั้นมีผู้เข้าร่วมแข่งขันน้อย ส่อเจตนาฮั้วประมูลอีกทั้งยังชนะการประมูลด้วยราคาที่สูงโดยมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ความคืบหน้าในขณะนี้ทราบว่าทาง กวพ.อ.กำลังพิจารณาเอกสารคำชี้แจงทั้ง 2 ฝ่าย และคาดว่าจะตัดสินได้ประมาณวันที่ 11 ตุลาคม 2556 ซึ่งแนวโน้มผลการตัดสินของ กวพ.อ.จะมี 2 ทาง ได้แก่ รับการอุทธรณ์ คือ สั่งให้ สพฐ.เดินหน้าจัดซื้อไปถึงแม้จะมีข้อสังเกตว่าราคาชนะประมูลสูงอย่างมีนัยยะสำคัญก็ตาม และไม่รับการอุทธรณ์ คือ เห็นตามข้อสังเกตให้ยกเลิกผลการประมูล
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ในกรณีที่ กวพ.อ.พิจารณาไม่รับอุทธรณ์และให้ยกเลิกการประมูล ก็ต้องมาดูว่าจะสั่งยกเลิกผลการประมูลโซน 3 อย่างเดียว หรือสั่งยกเลิกผลการประมูลพร้อมชี้มาว่าบริษัท สุพรีมฯ ฮั้วประมูลด้วย ซึ่งหากเป็นกรณีหลังก็แน่นอนว่าบริษัท สุพรีมฯ ต้องยื่นฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแน่ เพื่อไม่ให้บริษัทฯถูกแบล็กลิสและถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอาญา ซึ่งศาลปกครองอาจพิจารณาไม่รับคำฟ้องก็ได้ เพราะอาจจะยืนตามคำพิจารณา กวพ.อ.ซึ่งหากไปไกลถึงขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาพิจารณาเป็นปีแน่นอนว่าส่งซึ่งกระทบต่อนักเรียนแน่ ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงว่าผลการพิจารณาทั้งหมดจะออกมาในแนวทางนี้
“การจัดซื้อแท็บเล็ตโซน 3 ถือเป็นการสะท้อนปัญหาการจัดซื้อแท็บเล็ตโดยส่วนกลาง ที่ผ่านมาจึงมีแนวคิดรัฐแจกคูปอง 3,000 บาท ให้เด็กและผู้ปกครองนำไปซื้อแท็บเล็ตเอง แต่วิธีดังกล่าวก็มีปัญหาและช่องโหว่ เพราะผู้ปกครองอาจนำคูปองไปเลือกซื้อแท็บเล็ตที่ราคาถูกกว่าเพื่อหวังตังทอน สุดท้ายได้แท็บเล็ตที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจผิดวัตถุประสงค์นโยบายรัฐบาล ฉะนั้นแนวคิดนี้คงใช้ได้กับเด็กกลุ่มหนึ่งเท่านั้น”แหล่งข่าวกล่าวและว่า นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท เสิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้น คอนโทรล จำกัด ในฐานะบริษัทผู้ลงนามในสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ตโซน 1, 2 ของนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 804,742 เครื่อง ได้ส่งหนังสือขอเลื่อนการจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตงวดแรก จำนวน 100,000 เครื่องออกจากกำหนดเดิมออกไปอีก 1 เดือน โดยอ้างเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตชิ้นส่วน ที่ประเทศเกาหลี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556 อย่างไรก็ตาม กำหนดจัดส่งแท็บเล็ตงวดแรกจะต้องส่งภายใน 35 วัน นับจากวันเซ็นสัญญา คือ วันที่ 28 กันยายน 2556
แหล่งข่าวกล่าวต่ออีกว่า สำหรับการเตรียมการจัดซื้อแท็บเล็ต ในประจำปีการศึกษา 2557 นั้น ความจริงเมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ ก็ต้องเริ่มกระบวนการจัดทำสเปกและร่างทีโออาร์ได้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติทางกลับยังไม่เริ่มอะไรเลย ขณะเดียวกันวิธีจัดซื้อยังต้องถกเถียง เพราะการจัดซื้อครั้งล่าสุดก็เห็นชัดแล้วว่าการจัดซื้อโดยส่วนกลางมีปัญหา ฉะนั้นอาจมีเสนอวิธีการจัดซื้อใหม่ที่ให้ 225 เขตพื้นที่การศึกษา แยกไปจัดซื้อเอง เหมือนโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ในปีการศึกษา 2556 ก็ใช้วิธีดังกล่าว จนบัดนี้หลายโรงเรียนได้รับเครื่องแท็บเล็ตไปแล้ว แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กลับการเมืองว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะยากที่จะมีตังทอนมากๆ เหมือนการจัดซื้อโดยส่วนกลาง